ไทยทำไทยใช้ไทยเจริญ


พันธ์ไม้
เลขทะเบียน : 7-53000-001-0001
 
ชื่อสามัญ : Kruaipaa
 
ชื่อพื้นเมือง : กรวยป่า (กลาง) ; ก้วย (ภาคเหนือ) ;คอแลน (นครราชสีมา) ; บุนเหยิง (สกลนคร); ตวย(เพชรบูรณ์); ตวยใหญ่ , ตานเสี้ยน (พิษณุโลก); ผ่าสาม (นครพนม,อุดรราชธานี)
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Casearia  grewiaefolia   Vent. var.grewiifolia   
 
ชื่อวงศ์ : FLACOURTIACEAE
 
ลักษณะ
ต้น : ขนาดเล็กถึงขนาดกลางไม่ผลัดใบสูง 7-18 เมตร เปลือกสีเทาปนน้ำตาล ผิวเขียวเข้ม หรือแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ
ใบ : ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับดอกสองข้างของโคนใบ ใบมน ปลายแหลมทู่ ๆ เนื้อใบหนา หลังใบเกลี้ยง
ดอก : ขนาดเล็ก สีเขียวอ่อน
ผล : รูปรี โต ผลแก่สีเขียวจัด
เมล็ด : มีรูปร่างเป็นเหลี่ยม
 
การกระจายพันธุ์
  ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ในต่างประเทศพบที่มาเลเซีย อินโดนีเซีย และหมู่เกาะในภูมิภาคเมลานีเซีย
 
การขยายพันธุ์
  เพาะเมล็ด
 
ประโยชน์
ข้อมูลจากเอกสาร : ราก แก้ท้องร่วง แก้ตับพิการ เปลือก บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง ดอก แก้ไข้ ใบ แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน เมล็ด แก้ริดสีดวงทวาร
ข้อมูลจากภูมิปัญญาไทย : เมล็ด ใช้เบื่อปลา
 
เอกสารอ้างอิง ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2538. สยามไภษัชยพฤกษ์ภูมิปัญญาของชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด. 272 หน้า
ผู้สำรวจ นางสาวกนกกาญจน์ บัวอ่วม สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์ วันที่ศึกษา9กันยายน 2542
ผู้ตรวจ อาจารย์ฟองจันทร์บุญญานุภาพ
คำสำคัญ (Tags): #กรวยป่า
หมายเลขบันทึก: 73404เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2007 10:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท