คนดีวันละคน : (12) ศ. ดร. เกื้อ วงศ์บุญสิน


ท่านได้เป็นบรรณาธิการหนังสือชื่อ "6 ปีทองสุดท้ายของโอกาสการแข่งขันทางเศรษฐกิจ : ผลจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร" ตีพิมพ์ พ.ศ.2547 โดย สกว.

                                  

                                   ศ. ดร. เกื้อ  วงศ์บุญสิน

         เวลานี้ ดร. เกื้อเป็น ศ.11 สังกัดวิทยาลัยประชากรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   และเป็นรองอธิการบดีและเลขานุการสภามหาวิทยาลัย

         ดร. เกื้อเรียนปริญญาตรีด้านฟิสิกส์   แล้วผันไปเรียนปริญญาโทด้านสังคมวิทยา   ทั้ง 2 ปริญญานี้เรียนที่จุฬาฯ   แล้วไปจบโท - เอกที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย  สหรัฐอเมริกา ด้าน Demography

         คนที่มีฐาน 2 ศาสตร์แบบนี้ผมมีอคติเชิงนับถือเป็นพิเศษว่ามีฐานวิชาการที่แตกต่างจากคนอื่น   สามารถเข้าใจเรื่องราวในสังคมได้จากหลายมุมมอง

          หลายปีมาแล้ว ดร. เกื้อออกมาบอกสังคมไทยว่า  สังคมไทยกำลังมีจุดได้เปรียบหรือจุดแข็งด้านอายุประชากร  ที่เรียกว่า "ช่วงปันผลทางประชากร" (demographic dividen) คือมีประชากรวัยทำงานในสัดส่วนที่สูง   ในไม่ช้าโครงสร้างประชากรจะเปลี่ยนไปเป็นมีคนแก่มาก  หมดความได้เปรียบ   ท่านได้เป็นบรรณาธิการหนังสือชื่อ "6 ปีทองสุดท้ายของโอกาสการแข่งขันทางเศรษฐกิจ : ผลจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร"  ตีพิมพ์ พ.ศ.2547 โดย สกว.

         คุณภาพประชากรเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดของทุกสังคม   ผมได้ยุให้ ดร. เกื้อทำหน้าที่ผู้ประสานงานชุดโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพประชากร   เน้นที่คนที่อยู่ในสถานประกอบการหรือวัยทำงาน   เกิดผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์มากมายที่ สกว. ให้การสนับสนุน

         เมื่อเดือน ต.ค.49  ดร. เกื้อพิมพ์หนังสือเล่มเล็ก ๆ ชื่อ "สังคม สว. (ผู้สูงวัย)"  ออกมาเตือนสังคมไทยให้เตรียมรับมือช่วงเวลาที่สังคมไทยจะเต็มไปด้วยคนแก่

          เวลานี้ ดร. เกื้อเป็นกำลังหลักของจุฬาฯ ในการชี้แจงให้ประชาคมจุฬาเข้าใจความหมายที่แท้จริงของการนำจุฬาฯ ออกนอกระบบราชการ   โดยยังคงเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐอยู่ไม่ใช่เป็นการออกไปเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน

วิจารณ์  พานิช
 1 ม.ค.50
วันปีใหม่

 

หมายเลขบันทึก: 73403เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2007 10:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 11:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียนท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ที่เคารพ

 

ผมต้องกราบขอบพระคุณท่านอ.ที่กรุณาเขียนชมให้เกียรติผมอย่างยิ่งครับ เพิ่มกำลังใจในการทำงานให้ผมเป็นที่สุดครับ

ทุกวันนี้ก็นับเวลาที่จะกลับไปทำวิจัย เป็นนายตัวเอง กำหนดเวลาเสร็จของงานที่ทำโดยตัวเราเอง แทนที่ให้คนอื่นมาเป็นนายเรา คนอื่นที่กล่าวถึงหาก

เห็นคุณค่าของงานที่เราทำก็ยังไม่เหนื่อยที่จะทำให้ แต่ถ้าเป็นพวกบัวใต้โคลนทำให้เสียดายเวลาที่น่าจะไปทำเรื่องอื่นที่ดีๆ ที่ยังมีอีกมากโขครับ

 

ด้วยความเคารพยิ่ง

เกื้อ

- นั้นแสดงว่า ในระดับที่สูงนั้นแล้ว ยังมีบัวใต้โคลนอยู่มากสิครับ - การเป็นนายของตัวเองย่อมเป็นการดีกว่าให้ผู้ไม่เห็นคุณค่าของงานเป็นนายเรา ------------------------ขอบคุณครับ
ขอสนับสนุนว่า ดร.เกื้อเป็นผู้ที่เป็นนักวิชาการที่วางตัวได้เหมาะสมและตั้งใจทำงานค่ะ ขอชื่นชมด้วยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท