การประเมินตามสภาพจริง (7)


การเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic Learning) เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสามารถของผู้เรียน ในการประยุกต์ใช้ทักษะที่เรียนรู้มาให้เข้ากับชีวิตจริงและสภาพแวดล้อมที่เป็นบริบท

 ครูอ้อยมีภารกิจกับครอบครัวแบบต่อเนื่องกันเป็นเวลา 3 วัน  ที่ไม่ได้บันทึกเลย  เกี่ยวกับเรื่องการวัดและประเมินผลทางภาษา  และบันทึกเรื่องอื่นๆ  ขาดตอนไปบ้าง  วันนี้เป็นโอกาสดี  จึงปฏิบัติการต่อ  หวังว่า   คงให้อภัย  และติดตามต่อดังเคย 

บันทึกที่แล้วครูอ้อยเขียนเรื่อง  การเรียนการสอนและการประเมินผลตามสภาพจริง  เรื่อง  องค์ประกอบของการประเมินตามสภาพจริง   ซึ่งทำให้รู้เรื่องของรูปแบบต่างๆ  ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถหาอ่านได้ที่  การประเมินตามสภาพจริง (6)  

ส่วนบันทึกในครั้งนี้  จะเป็นเรื่อง  ทักษะ  ซึ่งเป็นสิ่งที่ครูผู้สอนต้องประเมินมากที่สุด 

ชนิดของทักษะจะมีหลายๆแบบ  เช่น  ทักษะทางด้านกายภาพ  การเรียน  สังคม  การคิด  คณิตศาสตร์  หรือการแก้ปัญหา 

และจะมีเครื่องมือหลากหลายที่สามารถนำมาใช้ในการประเมิน  แบบทดสอบที่ใช้ในการเขียนหลายๆแบบ  อาจจะมีความเหมาะสม  ในการประเมินทางคณิตศาสตร์ 

ในขณะที่การสาธิตจะเป็นแนวทางที่ดี  ในการแสดงออกซึ่งทักษะทางด้านพลศึกษา 

แฟ้มผลงาน  อาจจะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินได้ในวิชาศิลปะ  หรือการเรียนการฝีมือ 

การเรียงความสำหรับการเรียนภาษา  ในขณะที่การแสดงจะเป็นทางเลือกแรก  ในการประเมินผลการเรียนดนตรี 

จุดสำคัญคือ  การที่ผู้สอนจะต้องพิจารณาทุกๆส่วนของหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับทักษะต่างๆก่อน  แล้วจึงถามตนเองว่า  นักเรียนจะต้องทำอะไร  เพื่อแสดงให้เห็นความก้าวหน้า 

ผู้สอนได้รับการคาดหวังว่า  จะจัดการประเมินผลนักเรียนที่เรียนในชั้นเรียนของตนทุกคนได้ตรงตามสภาพจริง  ถึงแม้ว่า  การทดสอบบางอย่างจะมีรูปแบบเป็นปรนัย  ก็ตามก็ยังคงใชแบบนี้อยู่  ผสมกับการใช้แฟ้มผลงาน  การประเมินตามสภาพจริง  และการประเมินผลการปฏิบัติด้วย 

ในการประเมินผล  ผู้สอนจึงต้องวางแผนการสอนทุกแบบ  ในตอนช่วงสรุปผลของการสอนอย่างที่ปฏิบัติกันเป็นส่วนใหญ่ 

และหากได้มีการวางแผนการประเมินโดยรวมอย่างรอบคอบ  มีเหตุผล  เป็นลำดับขั้นตอน  ในขณะที่มีการวางแผนในหน่วยการสอน  และกิจกรรมการสอน  จะเป็นแนวทางที่ดีเยี่ยมที่ทำให้เกิดความแน่ใจและรับประกันได้ว่า  บรรดาส่วนต่างๆที่ได้กำหนดไว้ในการจัดการเรียนการสอน  จะมีการเชื่อมโยงและส่งเสริมซึ่งกันและกัน 

ผลที่ได้รับจากการสอนจะมีความชัดเจนต่อทั้งครูผู้สอน  และนักเรียนเป็นไปตามการกำหนดแนวทางหลักสูตรที่กระบวนการสอนและการประเมินมีความสอดคล้องกัน  โดยการประเมินได้กำหนดไว้นั้น  สามารถวัดผลการเรียนรู้ได้อย่างที่ตั้งใจไว้ 

ครูผู้สอนหลายคนพบว่า...  การกำหนดผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนจากการเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้  ก่อให้เกิดการคิดย้อนกลับไปกลับมา  ระหว่างแผนการสอนและแผนการประเมินผล  รวมทั้งชี้ให้เห็นว่า  มีสิ่งใดที่จะต้องนำเข้ามารวมในการสอน  ซึ่งนับว่า  เป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในการเริ่มต้นบูรณาการแผนการสอนกับขั้นตอนของการประเมินผล 

วงจรการประเมินสามารถจะนำเข้ามาใช้สอดแทรกในช่วงใดของการสอนก็ได้  บางครั้งอาจนำเข้ามาใช้ในขั้นตอนของการทำกิจกรรมการเรียนการสอน  เมื่อพบว่า  กิจกรรมนั้นกระตุ้นความสนใจ และความกระตือรือร้นของนักเรียน  ผู้สอนจะกำหนดว่า จุดประสงค์ใดมีกิจกรรมที่จะสามารถบรรลุความสำเร็จได้  ก็จัดให้มีการประเมินเพื่อตรวจและวัดผลสัมฤทธิ์ 

ดังนั้น  ผู้สอนจึงสามารถจัดให้มีการเคลื่อนไหววงจรของการสอน  ซึ่งประกอบไปด้วยเป็นส่วนต่างๆ  อันได้แก่  การวางแผนการสอน  การดำเนินการสอน  และการประเมินคุณภาพของการสอน

หมายเลขบันทึก: 73182เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2007 03:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท