AAR: สึนามิที่ญี่ปุ่น 2007-01-13


สายวันนี้ เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง ขนาด 8.3 ริกเตอร์ บริเวณหมู่เกาะคูริล รัสเซีย ใกล้กับบริเวณที่เคยเกิดขึ้นเมื่อสองเดือนก่อน และมีการเตือนภัยสึนามิ หลังจากแผ่นดินไหวครั้งแรกแล้ว ยังมีอ๊าฟเตอร์ช็อคขนาดรุนแรงพอๆกันตามมาอีกไม่ต่ำกว่าสี่ครั้ง

สำหรับระบบเตือนภัยในคราวนี้ ปรากฏว่าปรับปรุงให้รวดเร็วขึ้นมาก โดยระบบ GDACS ของสหประชาชาติ/สหภาพยุโรป สามารถออกประกาศได้ใน 33 นาทีหลังจากเกิดเหตุการณ์ ส่วนระบบเฝ้าระวังของสหรัฐในเขตมหาสมุทรแปซิฟิค ใช้เวลาเพียง 10 นาทีในการออกประกาศเตือน

มีการรวบรวมสัญญาณเตือนภัยต่างๆไว้ที่ OpenCARE forum เช่นเดิม

อย่างไรก็ดี คำถามสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับเมืองไทยคือ หากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ในทะเลอันดามัน หรือเขตใดๆที่อาจจะสร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของคนไทย เราจะใช้เวลานานเท่าไหร่ในการแจ้งเตือนพี่น้องของเรา เราจะใช้ประโยชน์จากเครือข่ายระหว่างประเทศได้เร็วแค่ไหน

เท่าที่เฝ้าดู  พบว่า

  • โทรทัศน์รายงานเรื่องนี้หลังจากเกิดแผ่นดินไหวหลายชั่วโมง -- เป็นไปได้ว่าเรื่องนี้ไม่มีผลกับประเทศไทย แต่ตอนที่เกิดสึนามิเมื่อปลายปี 2547 ก็ใช้เวลาหลายชั่วโมงเช่นกัน จนหลายคนในเมืองไทยรู้เรื่องนี้จาก BBC CNN และสำนักข่าวต่างประเทศอื่นๆ
  • เว็บของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติปิดไปแล้ว -- ทั้งนี้อาจเป็นเนื่องจากมีคำสั่งให้ถ่ายโอนภารกิจไปที่กรมอุตุนิยมวิทยาแทน
  • เว็บของกรมอุตุฯ ไม่มีรายงานเรื่องนี้ -- เป็นไปได้ว่าไม่มีผลกระทบต่อเมืองไทย และวันนี้เป็นวันหยุดราชการ จึงไม่ได้ปรับปรุงเว็บ
หมายเลขบันทึก: 72488เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2007 20:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เฮ้อ ...

เมื่อวานกำลังตัดสินใจ ถ้าต้องเจอภัยพิบัติ จะกลัวแบบไหนที่สุด  มีตัวเลือกได้แก่

  • ภูเขาไฟระเบิด
  • สึนามิ
  • แผ่นดินไหว
ดิฉันเลือกแล้วค่ะว่าจะเป็นโรคปอดจากเรื่องใด - แผ่นดินไหว - มันทำนายล่วงหน้าไม่ได้ค่ะ 

ที่จริง ก็มีข้อสังเกตที่น่าสนใจนะครับ แต่เตือนล่วงหน้าไม่ได้นาน

คือมีการศึกษาแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น ไต้หวัน คาลิฟอร์เนีย และอลาสก้า พอว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ของการไหวในช่วง 4 วินาทีแรก กับความรุนแรง (รายละเอียดของทฤษฎี และงานวิจัยระบบเตือนแผ่นดินไหว)

เมื่อ แผ่นดินเริ่มไหว P-wave (primary wave) ซึ่งเคลื่อนที่เร็วกว่าแต่ยังมีความรุนแรงน้อย ส่งสัญญาณเตือนมา ในช่วงนี้จะยังไม่มีความเสียหายมากนัก ระบบ ElarmS จะวิเคราะห์ความถี่ของคลื่น แปลผลลัพท์ ซึ่งใช้เวลา 4 วินาที ภายใน 10 วินาที ก็จะสามารถส่งสัญญาเตือนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ไปได้ทั่ว

ส่วน S-wave (secondary wave) ซึ่งเคลื่อนที่ช้ากว่า แต่จะเป็นตัวสร้างความเสียหายหลัก จะตามมาใน 30 วินาที

ดังนั้นระบบนี้ หากทำงานได้จริง ก็จะแจ้งเตือนล่วงหน้าได้เพียง 20 วินาทีเท่านั้น

ในญี่ปุ่น มีการตั้งข้อสังเกตที่มีบันทึกเป็นจดหมาย เมื่อสี่ร้อยกว่าปีก่อน ว่าปลาดุก ไวต่อแผ่นดินไหว

ก่อน แผ่นดินไหวใหญ่ที่โตเกียว (10 ปีก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง) มีผู้สังเกตว่าหลายวันก่อนเกิดแผ่นดินไหว ปลาดุกกระโดดออกมาจากบ่อ ส่วนในวันที่เกิดแผ่นดินไหว ปลาดุกเป็นจำนวนมากลอยตัวขึ้นมาที่ผิวน้ำจนถูกจับไปได้สามถังใหญ่ๆ

เอาข่าวมาฝากอีกสองอันครับ พวกนี้ใช้สังเกตุพฤติกรรมสัตว์ (แต่ไม่คัดลอกมาให้เพราะติดลิขสิทธิ์ ถ้าบทความหายไปก็เป็นทางต้นทางเขาเอาออก)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท