พลังที่ซ่อนอยู่ในชุมชน


“ ต้องการมีคนมาช่วยยืนยัน ให้เกิดความถูกต้องทางใจ และพร้อมที่ลุย บางคนบอกว่า คล้ายต้องการคนมาช่วยถีบข้างหลัง หรือ แม้ต้องหลับตาปี๋ วิ่งฝ่าความมืด ด้วยความกังวล หรือ อะไร ก็ตาม ...ช่วยแค่ผลักฉันไปข้างหน้าด้วย...... “

     บางครั้ง คนเราก็ไม่รู้ว่า ตนเองทำอะไรได้มากกว่าที่คิด     ชุมชนก็เช่นกัน เวลาที่ชุมชน คิดจะทำอะไรสักอย่าง เมื่อประชุมกัน ก็จะได้ถกเถียง บางครั้งราบรื่น บางครั้งก็เอาเป็นเอาตาย    แต่อย่างไรก็ตาม  การทำงานสักอย่าง         

    ต้องการมีคนมาช่วยยืนยัน ให้เกิดความถูกต้องทางใจ และพร้อมที่จะลุย บางคนบอกว่า คล้ายต้องการคนมาช่วยถีบข้างหลัง หรือ แม้ต้องหลับตาปี๋ วิ่งฝ่าความมืด ด้วยความกังวล หรือ อะไร ก็ตาม ...ช่วยแค่ผลักฉันไปข้างหน้าด้วย...... 

        ชาวบ้านคุ้มบ้านถนน  ,บ้านป่ายาว   และ บ้านช้างลง   3ใน 4 คุ้มของ   บ้านหมู่ 3   ต.สำโรง   เมือง สุรินทร์ แห่งนี้ ต้องการที่จะมี   สำนักสงฆ์    เพราะวัดที่มีอยู่     ไกลออกไป    2-3     กิโล ลำบากสำหรับคนแก่เฒ่า และผู้คนที่ต้องการไปวัด   การมีวัด อยู่ในคุ้มบ้าน ทำให้ ชาวบ้านรู้สึกอบอุ่น รู้สึกมีที่รวมจิต รวมใจ  การสร้างที่รวมใจของชุมชนจึงเป็นเรื่องอันดับหนึ่ง       เด็กรักป่า ไม่รอช้าที่จะสนับสนุนความคิดของผู้นำคุ้มและชาวบ้าน

    แต่เราไม่มีเงินกันเลย   แต่ละวัน รับจ้าง ได้แค่พอค่ากับข้าวแล้วได้วันละร้อยกว่าบาท ...  บางคนบ่น

    จะเอาที่ตรงไหนล่ะ  มีแต่ที่นา   บ้านคน......         บางคนพูดปัญหาต่อ

  เราเป็นบ้านเมียน้อย  ....ไม่มีใครมาสนใจให้งบหรอก...   บางคนรื้อฟื้นความน้อยใจในอดีต

   แล้วเราจะไปนิมนต์พระที่ไหนมาล่ะ...   บางคนคิดล่วงหน้า

        มีคนกลุ่มใหญ่มีความฝันที่อยากจะสร้าง  เราก็จะสร้างขึ้นมาได้ด้วยพลังของชาวบ้านเอง ภายหลัง ก็ได้ที่ดินในเขตป่าที่มีลุงคนหนึ่งบุกรุกเข้าไปทำนา นานแล้ว แต่ลูกหลานที่เป็นกรรมการอนุรักษ์ป่าก็ขอที่ดินคืนให้กับชุมชน แกก็คืนให้ด้วยความยินดีที่ ณ ตรงนี้จะเป็น สำนักสงฆ์ต่อไป 

        แล้วการก่อสร้างก็ดำเนินไปที่ละเล็กละน้อย    ชาวบ้านเรี่ยรายเงินทำบุญกันเองก้อนเล็กๆ  ทำผ้าป่ามาจาก กรุงเทพฯบ้าง  เก็บเงินมาจาก กองทุนต่างๆบ้าง  

         ที่ เด็กรักป่า มีเสื้อผ้า ของบริจาคมือสองอยู่มาก  เราคิดว่า มันน่าจะแปรเป็นรายได้ให้กับการก่อสร้างครั้งนี้ได้บ้าง  ......เรานำเสื้อผ้าไปให้ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านของคุ้ม และร่วมกันเปิดลานขายเสื้อผ้ามือสอง ขึ้นที่ศาลาของหมู่บ้านเรา และตระเวนไปขายที่ คุ้มอื่นๆ  และหมู่บ้านอื่นๆในตำบลสำโรงและตำบลใกล้เคียง

        ฉันรู้สึกสนุกกับบทบาทแม่ค้า  การที่ได้เห็นแววตาของคนที่มาซื้อของ  มาเลือกของ   เห็น  ความต้องการของผู้ซื้อ และความต้องการขาย เพื่ออยากได้เงิน         ชาวบ้านประหลาดใจที่เห็นฉัน คนแปลกหน้า  มากับชาวบ้าน   ฉันขายของอย่างมีความสุข  จนคิดว่า ฉันน่าจะเหมาะกับอาชีพนี้ซะแล้ว

 

 

      เรารวบเงินได้มากพอที่จะซื้อวัสดุก่อสร้าง และช่วยกันลงแรง  มีนักศึกษาจาก อุบลฯ มหาสารคาม

บุรีรัมย์ และโคราช ก็เวียนกันมาช่วยแรงและให้กำลังใจ    ชุมชนแห่งนี้

     ความภูมิใจในการกระทำที่ดีงาม เป็นความคงทน และเป็นทุนให้ชุมชนมีพลังที่ซ่อนอยู่แบบนี้ ได้แสดงออกมาอีกเป็นระยะๆ  ขอให้หากันให้เจอ ....พลังที่ซ่อนอยู่
หมายเลขบันทึก: 72401เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2007 05:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

มาเยี่ยม  ขอชื่นชมและปรบมือให้กำลังใจ  ทำดีต่อไปนะครับ  ทำความดี  ดี  ดีอำนวยอวยสุขทุกสมัย...

 

  • เข้ามาเชียร์และให้กำลังใจนะคะ คุณดอกแก้ว

เป็นกำลังให่สู้ต่อไปนะนะครับ.....ความถูกต้อง..ความถูกใจ มันของคู่กัน.....แต่ทางเดินมันขนานกัน..... เมื่อหลายปีก่อนช่วงจบการศึกษาใหม่ ผมได้มีโอกาสทำงานเป็นอาสาสมัคร ของกรมป่าไม้ ที่จังหวัดชัยภูมิ อ.คอนสาร นะ อยู่หน่วยป่าไม้.... ส่วนใหญ่วิถีชีวิตเป็นไปอย่างราบเรียบ เวลาเข้าไปในชุมชน เพื่อไปเก็บข้อมูลก็ใช้รถของกรมป่าไม้ไป....อยู่ในชุมชนเป็นอาทิตย์ ก็เห็นการเปลี่ยนแปลงของชาวบ้าน .....ดังนี้

1.ชุมชนเขามีวิธีคิด ของเขาโดยหลักธรรมชาติ แต่ขาดโอกาส และแสวงหาการลงทุน

2.อาชีพส่วนใหญ่ ทำไร่อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง เผาถ่าน เก็บไม้ผลจากป่าออกตลาด เช่น หน่อไม้  และรับจ้างทั่วไป.....

3.หากไม่มีการจ้างแรงงานในชุมชน คนในชุมชนก็จะอพยพ เข้าสู่เมืองใหญ่เพื่อเข้าแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม

...ทางออกของชุมชนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

1.ชุมชนต้องเข้าร่วมมือกันแสวงหา ภาคีเครือข่ายฯ เพื่อการพัฒนาอาชีพเสริม ภายหลังจากเสร็จกิจจากภาคการเกษตรแล้ว

2.ชุมชนต้องมีกิจกรรมร่วมกัน เพื่อพัมนาศักยภาพแห่งวิถีทางของท้องถิ่นเอง และดำรงเผ่าพันธ์ให้อยู่รอดต่อไป

3.ประสาน "พลังจากภาคราชการ" และภาคเอกชน เข้าพัฒนาพื้นที่ เช่น ลูกหลานของเรา ที่ร่ำรวยแล้ว ที่ไปทำงานอยู่เมืองหลวง "จงหยิบยื่นแบ่งปัน" จะยั่งยืนกว่า การประสานกับบุคคลนอกพื้นที่ " เพราะเขาเข้ามาเพียงเพื่อ ดูผลงานแล้วก็จากไป แต่คนในชุมชนนั้นสิ น่าคิด ต้องอยู่ในชุมชน ต่อไป เพราะนั่นคือ เราคือเจ้าของชุมชน...

4.จังหวัดสุรินทร์มีมหาวิทยาลัย /มีแหล่งการศึกษา/มีทุนทางสังคมอยู่ " จงประสานพลัง ทั้งหมด เพื่อให้ลงพื้นที่ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสิ่งที่เราทำอยู่ " ประสานในลัการะ " ฝึกศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาบ้านเกิด" เพื่อให้นักศึกษาจะได้รู้ และเรียนรู้บ้านเกิดของเขา มีอะไรดี และควรจะพัฒนาในเรื่องใด"

 

ประสานในลักษณะ  ( เขียนผิด)

สวัสดีคะ  คุณ UMI    คุณ Bright Lily  และ คุณ น.เมืองสรวง     ขอบคุณคะ ที่มาเยี่ยม............

   คะ คุณ น.เมืองสรวง สรุปข้อคิดเห็นจากการทำงานในชุมชนได้อย่างดีเลยคะ เป็นรูปแบบนั้จริงๆ....

  ที่ผ่านมา เด็กรักป่า ก็ได้ร่วมงานทำวิจัยกับ อาจารย์ที่ ม.ราชภัฏสุรินทร์ด้วยคะ เรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชน ดิฉันคิดว่า ดีมากเลยคะ ที่มีคนมาร่วมตั้งคำถามกับชาวบ้านในเรื่องต่างๆ เหมือนกับ ชาวบ้านได้ เล่า และสรุปความคิดรวบยอด และที่สำคัญ เขาได้ ความภูมิใจ และตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรที่เขามีอยู่..... 

 

ตามมาอนุโมทนาเช่นเดิมค่ะ คุณดอกแก้ว

ขั้นตอนต่อไปมีต้องการขาดเหลืออะไรบอกมานะคะ  เพราะแถวนี้มีคนชอบช่วยเหลือเกื้อกูลในหลาย ๆ รูปแบบอยู่  

ตอนนี้ยังมีขายเสื้อผ้ามือสองต่อหรือเปล่าคะ

หรือข้ามขั้นไปก่อสร้างแล้ว?

หนังสือธรรมะล่ะคะ?  ที่เด็กรักป่ามีห้องสมุดหรือเปล่าคะ?   ขอโทษทีไม่ค่อยได้ติดตาม

ณัชร

 

 

ขอบคุณ คุณณัชรคะ ....ก่อนอื่น คุณัชรต้องดูแลสุขภาพก่อนนะคะ

และอย่าโดดกายภาพ.......เนท ใช้ได้หรือยังคะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท