Pure vs Applied Research


การวิจัยบริสุทธิ์(Pure Research)   เป็นการวิจัยเพื่อ"ค้นหา" กฎธรรมชาติ(Natural Laws)  หรือ กฎเชิงประจักษ์ (Empirical Laws)  ส่วนการวิจัยประยุกต์(Applied Research) นั้น  เป็นการวิจัยเพื่อ "นำกฎธรรมชาติหรือกฎเชิงประจักษ์ไปใช้"  และการนำกฎไปใช้ที่กล่าวนี้ก็หมายถึง "การนำไปใช้ควบคุม" เหตุการณ์ธรรมชาติ

นักวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆที่วิจัยเพื่อมุ่งหากฎเชิงประจักษ์  เรียกกันว่า "นักวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์"  นักวิทยาศาสตร์ประเภทนี้ทางสายธรรมชาติ ก็ได้แก่   เคมี  ฟิสิกส์  ชีววิทยา เป็นต้น  นักวิทยาศาสตร์สายสังคมศาสตร์ ก็ได้แก่  จิตวิทยา  เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น

นักวิยาศาสตร์ที่วิจัยเพื่อ "ม่งการนำกฎไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน"  เรียกกันว่า  "นักวิทยาศาสตร์ประยุกต์"  ถ้าเป็นสายวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ก็ได้แก่  แพทย์ศาสตร์  วิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น  ถ้าเป็นสายวิทยาศาสตร์สังคม ก็ได้แก่  ศึกษาศาสตร์  พาณิชยศาสตร์ เป็ต้น 

ในมหาวิทยาลัยทั่วโลกจะเปิดสอนทั้งสาขาวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ เช่น คณะที่ชื่อวิทยาศาสตร์  คณะจิตวิทยา  เป็ต้น  สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกค์ ก็เช่น  คณะแพทยศาสตร์  คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์  คณะศึกษาศาสตร์ เป็นต้น

วิทยาศาสตร์ประยุกต์นี้ บางทีก็เรียกกันว่า  "เทคโนโลยี"  แต่ไม่ค่อยพบคณะที่ชื่อ "คณะเทคโนโลยี" โดยตรง  เคยพบแต่ "ลูกผสม"  เช่น "คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี " ในบางมหาวิทยาลัย  ที่ว่าเป็นลูกผสมก็คือ  มีทั้ง "วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์" รวมอยู่ในที่เดียวกัน  และทั้งยังมีคณะวิศวกรรมศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์ อยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยนั้นด้วย  ซึ่งจัดเป็นประเภทเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน รวมอยู่ในมหาวิทยาลัยเดียวกัน !! 

ปัญหาเหล่านี้ เกิดขึ้นจากปัญหาของ "กรอบความคิดในการจัดประเภทของศาสตร์"  ของผู้ที่เสนอขออนุมัติจัดตั้งคณะ  และของผู้ที่อนุมัติการจัดตั้งคณะ โน่นแหละครับ !!

และที่สำคัญก็คือ  ถ้าคณะนั้นๆเป็นคณะทางวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์  แต่อนุมัติให้นักศึกษาปริญญาโทเอกทำวิจัยเพื่อเสนอขอรับปริญญานั้นๆด้วย"การวิจัยแบบประยุกต์"  หรือในทางกลับกัน  คณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์  แต่อนุมัติให้นักศึกษาระดับดังกล่าวทำวิจัยแบบ "วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์"  แล้วละก้อ  มันชวนหัวเราะเกี่ยวกับ "จุดยืน" อย่างยิ่งแหละครับ  รวมทั้งเป็นการโฆษณาตัวเองอีกด้วย !!  คิดว่าในเมืองเรายังไม่มีนะครับ  และขออย่าให้มีอย่างว่านั้นเลยนะครับ 

คำสำคัญ (Tags): #pure#research#applied
หมายเลขบันทึก: 72356เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2007 19:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ได้เข้าใจ  คำว่า  วิจัย   มากขึ้น  ครับ และขออนุญาตร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์    ครับผม

ยินดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท