หนังสือทำมือ กับแนวทางการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการประพันธ์ และการพัฒนาศักยภาพของคนรุ่นใหม่อย่างเต็มที่.....


คนรุ่นใหม่ยิ่งจะพัฒนาศักยภาพของตนเองให้ดีขึ้น เมื่อได้เข้ามาอยู่ในเวทีและบรรยากาศแห่งการขับเคลื่อน

เด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นวัยช่างฝัน วัยแสงหา ต่างต้องการที่จะนำเสนอแนวคิด แสดงศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวเอง ให้เป็นที่ยอมรับ

....บางคนต้องการทำตามสิ่งที่ฝันไว้ ทำไปเพราะความสุข

มีหลายคน มีความสามารถในการถ่ายทอดเรื่องราวออกมาเป็นตัวอักษร มีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์มากล้น
แต่เวทีที่จะให้แสดงความสามารถนั้น มีอยู่อย่างจำกัด …
… หรือไม่มีข้อมูล ไม่มีรายละเอียดของแหล่งข้อมูลที่จะนำเสนอความสามารถ

หลายคนอยากเขียนหนังสือ เพียรพยายามส่งผลงานไปให้สำนักพิมพ์ต่างๆ ติดต่อกองบรรณาธิการหนังสือหลายฉบับ บางคนได้รับการตอบรับ ผลงานได้รับการเผยแพร่ เพราะผลงานนั้น เป็นสิ่งที่สำนักพิมพ์, หนังสือนั้น ต้องการ หรือตรงกับกลุ่มเป้าหมายของสื่อแห่งนั้น

คนรุ่นใหม่หลายคนต่างมีแนวทางของตนเอง มีอีกมากมาย ที่นำเสนอความสามารถในการเขียนที่ไม่ตรงกับความต้องการของสื่อเหล่านั้น จึงนำเสนอในรูปแบบสื่อทางเลือก….

<h2>… หนังสือทำมือคือคำตอบ……</h2>
จากบันทึู้กเด็กน้อยเมืองช้างเล่าเรื่อง : ปฏิบัติการแห่งจินตนาการใส ๆ ครั้งสำคัญแห่งปลายปากกาเด็กน้อยนักฝัน ของพี่แผ่นดิน คือตัวอย่างหนึ่ง

มีหนังสือทำมือ ที่กลั่นกรองมาจากความคิด ความสามารถของคนรุ่นใหม่อีกมากมาย ที่ยังคงถูกถ่ายทอดออกมาในวงจำกัด มีผู้เสพ ซึมซับ รับรู้ไม่กี่คน

หากมีแนวทางการส่งเสริมความสามารถเหล่านี้ที่เหมาะสม และทำให้พวกเขาได้รีดเค้นศักยภาพออกมาอย่างเต็มที่ และพวกเขาได้พัฒนาผลงานของตนให้ดียิ่งๆขึ้น ……

จะดีแค่ไหน
แล้วจะทำอย่างไร

มองจากร่องรอยความคิดในบันทึกของพี่แผ่นดิน
<ul style="background-color: #ffff00">

  • ขอบคุณเหลือหลายเรื่องหนังสือทำมือ หรือ มือทำ ใน มมส
  • ผมเขียนถึงปรากฏการณ์นี้เป็นบทความนานแล้ว
  • และขอให้รออีกนิดผมกำลังรวบรวมหนังสือทำมือใน มมส ตั้งแต่ยุคแรกมาถึงปัจจุบัน ตอนนี้ก็เริ่มสังเคราะห์แล้วจะได้อ่านในเร็ววัน...
  • ผม อยู่ในกลุ่มชนหนังสือทำมือที่นี่มานาน และรับรู้ความเคลื่อนไหว...น้อง ๆ นิสิตเอามาให้เกือบทุกเล่มครับ...และยืนยันว่ากำลังสังคมเคราะห์ข้อมูล....
  • ขอบคุณอีกครั้งที่มากระตุ้นเป็น "แรงขับ" ให้ผมต้องกลับไปจัดการความรู้ว่าด้วยหนังสือทำมือใน มมส เสียที....
  • </ul>

     มีนิสิตหลายคนส่งหนังสือทำมือมาให้อ่าน…..
     มีการกลั่นกรองเนื้อหาจากบุคคลจำนวนน้อย…..
     ดังนั้น ต้องรอ…………………

    แต่หนังสือทำมือที่อื่นๆ สิ่งที่ถูกนำเสนอ ได้ผ่านการกลั่นกรองของผู้เขียนมาแล้ว และได้ถูกจัดทำและนำเสนอต่อกลุ่มเป้าหมายทันที...

    …. ไม่มีคนมากลั่นกรองอีกชั้นหนึ่ง…….
    …. เพราะผู้อ่าน จะเป็นผู้ที่ตัดสินต่อเนื้อหาที่ถูกนำเสนอนั้นอยู่แล้ว  

    หนังสือทำมือ ต่างจากหนังสือในระบบของสำนักพิมพ์อื่นๆ ตรงที่ไม่มีกองบรรณาธิการของสำนักพิมพ์มาพิจารณากลั่นกรองเนื้อหาเหล่านั้น
    …….เพราะสิ่งที่จะนำเสนอผ่านทางสำนักพิมพ์ ทุกสิ่งที่ออกไป คือ เม็ดเงินที่ลงทุนมหาศาล และต้องคิดถึงความคุ้นทุน ผลกำไรและการตลาด

    <h2>...... แต่หนังสือทำมือ ปราศจากสิ่งเหล่านั้น.......</h2>

    จากบันทึกของพี่แผ่นดิน ที่ปรากฏใน blog  gotoknow แล้ว เราสามารถที่จะออกแบบเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาศักยภาพของเยาวชนคนทำหนังสือทำมือให้เพิ่มขึ้นมาได้

    <h2 align="center">ยึดคำว่า ส่งเสริม ให้ดีๆนะครับ</h2>
    1. เชิญชวนมาถ่ายทอดเรื่องราวผ่าน blog

      มีนักคิด นักเขียนมือใหม่  ที่เขียนเรื่องราวผ่าน blog อื่นๆ หลายคน ส่งเรื่องแต่งตามความรู้สึกและจินตนาการไปเผยแพร่ในเวบไซต์นักอ่านหลายแห่งทั้ง pantip ศาลานกน้อย เด็กดี  ฯลฯ

    การที่ถูกเผยแพร่ในเวบไซต์ หรือ blog ทำให้มีผู้อ่านเพิ่มขึ้น ผู้อ่านที่ชื่นชอบ จะเขียนความคิดเห็นเข้ามาโดยตรง

    แนวทางง่ายๆ หากมีกลุ่มนิสิต ก็ชักชวนมาเปิด blog ถ่ายทอดเรื่องราวทันที

    แทนที่คุณพนัส – แผ่นดิน จะต้องเป็นผู้กลั่นกรองเองทั้งหมดทุกเรื่อง ก็จะมีผู้อ่านมาร่วมให้ความเห็น ชื่นชมด้วย
    ไม่ต้องรอเวลา รอความเห็นจากคุณพนัสเพียงฝ่ายเดียว


    การเชิญชวน สามารถแจ้งไปยังชมรม , กลุ่ม หรือคนทำหนังสือทำมือ แต่ละคน ให้เข้ามารวมกลุ่มทำ blog และทำการรวบรวมกลุ่ม สร้างแพลนเนตขึ้นมา



    2. ส่งเสริมด้วยการมีส่วนร่วม
      การเชิญชวนมาสร้าง blog หากไม่มีการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง เมื่อเข้ามาสร้าง blog แล้ว ผ่านไปสักระยะ อาจจะเกิด blog ร้างขึ้นมาได้

    เพราะหลายคน ต่างมีความคาดหวังสูงต่อการเข้ามาสร้าง blog ….
    ว่าจะต้องได้รับ ความคิดเห็น
    ว่าจะต้องได้รับ มิตรภาพ
    ว่าจะต้องได้รับ  1  2  3  4  5  6  7…………………………..

    เมื่อไม่ได้ตามความคาดหวัง ก็ห่างเหินไป

    การส่งเสริม โดยการรวบรวม กลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ให้เข้ามาติดตามเรื่องที่สนใจนั้น
    …. คนที่สนใจหนังสือทำมือ และจะติดตามอย่างต่อเนื่อง ก็คือ คนที่ทำหนังสือทำมือนั่นเอง
    รองลงมา คือ เพื่อนๆ กลุ่มคนในวัยเดียวกัน มีความชอบเหมือนกัน…..

    ถ้าเป็นใน มมส. หรือสถาบันอื่นๆ สามารถแจ้งข่าว ประชาสัมพันธ์ ให้ทราบว่า มี blog หรือเวบไซต์ใด ที่มีเรื่องราวนี้บ้าง

    ส่งเสริมเชิญชวนกันต่อ

    จัดประกวด หรือ เชิญร่วมโหวต เรื่องน่าอ่านประจำเดือน…
    ….มอบหมายให้ผู้นำนิสิต วางรูปแบบและดำเนินการกันเอง
    ….. ผู้ใหญ่ คอยดูแล ให้คำแนะนำห่างๆ ….
    ….. กลุ่มคนที่สนใจในประเด็นนี้ ต่างมีศักยภาพ และความสามารถทั้งนั้น เมื่อได้รับมอบหมาย หรือมีโอกาสได้แสดงความสามารถของตัวเองออกมา ย่อมจะคิด วางแผน ดำเนินการให้ออกมาอย่างดีที่สุด

    เมื่อมีคนติดตาม ร่วมให้คะแนน ร่วมโหวตมากขึ้น ความคิดเห็นของคนในกลุ่มที่ติดตาม จะช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ สะท้อนความคิดเห็น เติมเต็ม กลั่นกรอง ให้คนทำหนังสือทำมือแต่ละคน หรือ ผู้ถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ พัฒนาความสามารถของตนเอง ให้ดียิ่งๆขึ้น

    จะมีสมาชิกเขียนออกมาใน blog สัปดาห์ละ 10 เรื่อง หรือ 100 เรื่อง ทุกเรื่องก็ถูกเผยแพร่หมด

    เนื้อหาที่ถูกนำเสนอออกมาอย่างต่อเนื่อง ย่อมทำให้มีผู้เข้ามาติดตามอย่างต่อเนื่อง เกิดสังคม ชุมชนใน blog อัตโนมัติ โดยที่ไม่ต้องไปตระเวนอบรบ ให้ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ หรือการสร้าง blog ให้กับกลุ่มคนรุ่นใหม่ หรือกลุ่มนิสิตแต่อย่างใด

    เพราะในหลายเวบไซต์, กระดานข่าวยอดฮิต ไม่มีใครไปตระเวนอบรมให้ความรู้ในเรื่องเหล่านี้ทั้งสิ้น.....
    ...... แต่เกิดจากการรวบรวมกลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน เปิดโอกาส เปิดพื้นที่ให้นำเสนอสิ่งที่อยากทำเสนอ....



    จากเดิม ผู้ใหญ่จะต้องคอยกลั่นกรองเนื้อหา เพื่อนำเสนอ เผยแพร่  ซึ่งต้องใช้เวลาในการอ่าน พิจารณา
    เปลี่ยนบทบาทใหม่ ให้ผู้อ่านมาทำหน้าที่แทน
    แล้วผู้ใหญ่ที่คอยกลั่นกรอง จะใช้เวลาน้อยลงในการให้คำแนะนำ
    ซึ่งอาจจะเลือกที่จะให้คำแนะนำ สำหรับเรื่องราวที่ถ่ายทอดออกมาได้ดี …..
    ….. ปรับบทบาท เป็นเหมือนผู้ทรงคุณวุฒิ …….
    …….. นักเขียนที่อยากจะได้คำแนะนำ คำชมจากผู้ทรงคุณวุฒิ ย่อมจะต้องพัฒนาผลงานของตนให้ได้เช่นรูปแบบที่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ให้คำแนะนำไว้

    <h3>เกิดการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพตนเอง </h3><h3>
    การที่ได้อ่านผลงานของคนอื่น ทำให้เกิดการเรียนรู้ เกิดมุมมอง การเปรียบเทียบงานของตนเองและผู้อื่น
    </h3><h3>
    คนรุ่นใหม่ยิ่งจะพัฒนาศักยภาพของตนเองให้ดีขึ้น
    </h3><h3>เมื่อได้เข้ามาอยู่ในเวที และบรรยากาศแห่งการขับเคลื่อนแล้ว.....</h3>

    -


    ปล. หนังสือทำมือ ที่หยิบมาทำเป็น E-book ของนายบอน

    <table border="1" cellspacing="0" cellpadding="3" width="165"><tbody> <tr bgcolor="Maroon"><td width="165" align="center" valign="top"><div align="center">อ่าน E-Book Online</div></td></tr>

    บันทึกชีวิต นิสิตรุ่นที่ 1
    ประสบการณ์ทุกแง่มุม จากวันแรกถึงวันสุดท้ายของนิสิตปริญญาโท สาธารณสุขศาสตร์


    คลิกอ่านทั้งเล่ม ฟรี!!
    ก่อร่าง สร้างฝัน ที่หนองสรวง
    เบื้องลึกประสบการณ์อันมีค่า รากฐานเพื่อการพัฒนา จากสำนึกรักบ้านเกิดของคนรุ่นใหม่
    คลิกอ่านทั้งเล่ม ฟรี!!

    </tbody></table>

    หมายเลขบันทึก: 72326เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2007 16:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (4)
    • เยี่ยมครับ....
    • ที่นี่เมื่อประมาณปี 2542 - 2544 กลุ่มนักสือทำมือ (มือทำ)  ถูกขนานนามว่ากลุ่มคนเขียนหนังสือขาย
    • หนังสือทำมือกลุ่มแรกถ้าไม่นับชมรมวรรณศิลป์แล้วก็คือ  กลุ่มบ่งใบ  กลุ่มต่อขวัญ กลุ่มกอไผ่ (ใต้ฟ้าเดียวกัน)  ....กลุ่มจอบบ้อน  กลุ่มร้อยแสงจันทร์  โดยเฉพาะกลุ่มหลังกำลังสดมาก....
    • ยืนยันนะครับคุณบอน...ไม่นานได้อ่านแน่ มีภาพปกแต่ละเล่มมาให้ดู...ด้วย....
    • แต่ตอนนี้เรียนเชิญไปอ่าน "ความทรงจำไม่รู้จบ (2) ที่ผมเกริ่นนำร่องหนังสือทำมือและละครเวทีในภาพของ "พลังทางปัญญา" ของกิจกรรมนิสิต มมส ...เชิญอ่านพราง ๆ ไปก่อน
    • แต่อย่ารำคาญนะครับ.....(ค่อนข้างยาว)
    ขอบคุณครับ ยาวแบบจุใจมากๆ

    รอติดตามผลงานของแต่ละกลุ่มอยู่นะครับ คงไม่นานเกินรอนะขอรับ
    • เช่นกันกับพี่พนัสครับ คือ "เยี่ยมครับ"
    • เข้าไปดูเวป ส.ม.1 แล้วครับ ดูหัวข้อ
    • ก้าวที่ 1
    • ก้าวที่ 2
    • ก้าวที่ 3
    • และก้าวต่อไป
    • แต่ข้อไปอ่านรายละเอียดในภายหลังนะครับ
    • เป็นตัวอย่างที่ดีมากสำหรับนิสิตแต่ละสาขา ควรทำเป็นตัวอย่าง
    • ถ้า มมส. มีพื้นที่ว่างสำหรับ "การ" นี้คงจะดีไม่น้อย
    ขอบคุณพี่แจ็คครับ ที่แวะเข้าไปเยี่ยม
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท