โครงการพัฒนาศักยภาพและสร้างเครือข่ายแกนนำเด็กและเยาวชน


เป้าหมาย : ส่งเสริมเด็กและเยาวชนเกิดความรู้และความเข้าใจถึงผลกระทบของบุหรี่และสุราตลอดจนเกิดความตระหนักต่อปัญหาสุขภาพของตนเองและส่วนรวมมากยิ่งขึ้น มีทักษะชีวิต สามารถการป้องกันตนเองไม่ยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติดตลอดจนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดให้ลดปริมาณที่น้อยลงหรือเลิกเสพ และการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายแกนนำเด็กเยาวชนในสถานศึกษาให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีทักษะในการรณรงค์และป้องกันการเสพสุราและบุหรี่ทั้งในสถานศึกษาและในชุมชน

โครงการพัฒนาศักยภาพและสร้างเครือข่ายแกนนำเด็กและเยาวชน

ในสถานศึกษาฯ

 

๑.  คำสำคัญ :          

 

๒.  จังหวัด :           เชียงใหม่

 

๓.  กลุ่มเป้าหมาย :  

            นักเรียนระดับชั้น ม.๑ ม.๖ ร.ร.น้ำบ่อหลวงวิทยาคม ต.น้ำบ่อหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ และระดับชั้น ป.๑ ม.๓ ร.ร.ขยายโอกาสวัดห้วยแก้ว ต.ดอนเปา อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่

 

๔.  เป้าหมาย :       

            ส่งเสริมเด็กและเยาวชนเกิดความรู้และความเข้าใจถึงผลกระทบของบุหรี่และสุราตลอดจนเกิดความตระหนักต่อปัญหาสุขภาพของตนเองและส่วนรวมมากยิ่งขึ้น มีทักษะชีวิต สามารถการป้องกันตนเองไม่ยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติดตลอดจนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดให้ลดปริมาณที่น้อยลงหรือเลิกเสพ และการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายแกนนำเด็กเยาวชนในสถานศึกษาให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีทักษะในการรณรงค์และป้องกันการเสพสุราและบุหรี่ทั้งในสถานศึกษาและในชุมชน

 

๕.  สาระสำคัญของโครงการ :

               สถานการณ์ยาเสพติดที่แพร่ระบาดในชุมชนทั้งตำบลน้ำบ่อหลวงและดอนเปาที่ผ่านมาในอดีตคือยาบ้า มีการใช้มากในกลุ่มผู้ใหญ่ ผู้ใช้แรงงานและวัยรุ่น จากการปราบปรามอย่างจริงจังของเจ้าหน้าที่ทำให้สถานการณ์ปัญหาดังกล่าวลดลง แต่ปริมาณการใช้สุราและบุหรี่เพิ่มมากขึ้น ในชุมชนมีร้านค้าและมีผู้จำหน่ายจำนวนมากโดยเฉพาะสุราและบุหรี่เป็นสารเสพติดที่ถูกกฎหมาย ทำให้มีการค้าขายอย่างเสรี จึงทำให้มีการทดลองเสพกันมาในกลุ่มเด็กและเยาวชน

               จากประสบการณ์ทำงาน และข้อมูลการศึกษาของสถานีอนามัยทุ่งศาลา และสถานีอนามัยหนองห้า ทำให้องค์กรเพื่อนเยาวชน เห็นว่าสภาพแวดล้อมของชุมชนที่เอื้อต่อการเสพสุราและบุหรี่ของเด็กและเยาวชนมีแนวโน้มสูงมาก ทั้งการเห็นแบบอย่างจากผู้ใหญ่ ผู้ปกครอง อีกทั้งยังสามารถหาชื้อได้ง่ายในชุมชน ราคาถูก ไม่ผิดกฎหมาย ฯลฯ จึงคิดที่จะจัดทำโครงการเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาดังกล่าว

               เนื่องจากเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่อยู่ในสถานศึกษา การดำเนินงานจึงจะเน้นนักเรียน โดยการพัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียนทั้งในระดับประถมและมัธยมศึกษา ควบคู่ไปกับการให้การศึกษาและรณรงค์ชุมชนให้เห็นถึงโทษพิษภัยและผลกระทบจากการปัญหา

 

๖.  เครื่องมือที่ใช้ :

               โครงการได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การประสานความร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง, การศึกษาบริบทชุมชน, การสำรวจปัญหา สาเหตุ และการวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหา, การจัดกิจกรรมรณรงค์ฯ ในสถานศึกษาและในชุมชนของแกนนำนักเรียน, ค่ายทักษะชีวิตแกนนำเยาวชนในสถานศึกษา, การศึกษาดูงานศูนย์บำบัดยาเสพติดภาคเหนือ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่, เวที “พัฒนาศักยภาพเครือข่ายแกนนำเด็กและเยาวชนฯ, จัดเวทีเชิงปฎิบัติการยุทธศาสตร์และแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้สารเสพติดในเด็กและเยาวชน, การติดตามประเมินผล และการจัดเวทีสรุปบทเรียน

 

๗.  การจัดระบบ โครงสร้าง กระบวนการทำงาน :

               ประสานงานและบริหารจัดการโครงการ โดยหัวหน้าโครงการ (องค์กรเพื่อนเยาวชน) ในแต่ละโรงเรียนจะมีผู้บริหารโรงเรียนเป็นที่ปรึกษาโครงการ มีครู-อาจารย์แกนนำในโรงเรียนเป็นพี่เลี้ยงแกนนำนักเรียนในการดำเนินกิจกรรม มีนักเรียนแกนนำเป็นผู้ขับเคลื่อนกิจกรรม

 

๘.  ขอบเขตและระยะเวลาดำเนินโครงการ :

               ระยะเวลาดำเนินงาน ๑ ปี ระหว่าง ๑ ธันวาคม ๑๕๔๖ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๗

 

๙.  การประเมินผลและผลกระทบ :

               มีการจัดเวทีสรุปบทเรียนก่อนปิดโครงการ

               สำหรับการศึกษาพบผลที่ได้จากการดำเนินงานของโครงการ ได้แก่ การป้องกันและแก้ปัญหาเหล้าและบุหรี่ในโรงเรียนมีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดีขึ้น และศักยภาพของกลุ่มแกนนำนักเรียนในการดำเนินงานป้องกันและแก้ปัญหาเหล้าและบุหรี่ในโรงเรียน

 

๑๐. ความยั่งยืน

               หลังสิ้นสุดโครงการ มีความเคลื่อนไหวต่อเนื่องหลายประการ เช่น มีการบูรณการเนื้อหาเหล้าบุหรี่ลงในกลุ่มสาระวิชา, ครูและนักเรียนมีความเข้าใจพฤติกรรมและเข้าถึงนักเรียนที่ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ส่งผลต่อการป้องกันและแก้ปัญหา

๑๑. จุดแข็งและอุปสรรค

               จุดแข็งของโครงการ คือ            การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง (ทั้งการพัฒนาโครงการ, การดำเนินงานโครงการ, การติดตามและสนับสนุนการดำเนินงาน) มีการดำเนินงานที่ผสมผสานระหว่างเด็กดีกับเด็กเสี่ยง, การพัฒนาศักยภาพแกนนำ, การสนับสนุนปฏิบัติการ ในขณะที่จุดอ่อนของโครงการคือการเสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายแกนนำเด็กและเยาวชนฯ

 

๑๒.                 ที่ติดต่อ :

               องค์กรเพื่อนเยาวชน

คำสำคัญ (Tags): #เด็กและเยาวชน
หมายเลขบันทึก: 72087เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2007 13:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 13:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เครื่อข่าย คนต้นกล้า

เยี่ยมมาก ขอเป็นกำลังใจให้ทีมงานน๊ะครับ ในฐานะคนทำงานด้านเด็กและเยาวชนเหมือนกัน มีคำแนะนำดีๆ บอกกันมั้งน๊ะ www.kontonkla.com

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท