โครงการบ้านวาดเขียนสัญจร ตอน วาดด้วยใจ


เป้าหมาย : ต้องการให้เด็กในโรงเรียน ตชด. ซึ่งขาดโอกาสในการศึกษา โดยเฉพาะศิลปะ และอยู่ห่างไกลได้เรียนรู้ และมีพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ผ่านการเรียนศิลปะ และพัฒนาการสอนของครู ตชด. (ครูสอนศิลปะ) เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการสอน และพัฒนาความรู้ทางการสอนศิลปะแก่เด็ก

โครงการบ้านวาดเขียนสัญจร ตอน วาดด้วยใจ

 

1.      คำสำคัญ        : ศิลปะ เด็ก ครู กระบวนการ การติดตั้งความรู้

 

2.      จังหวัด : ชุมพร

 

3.      กลุ่มเป้าหมาย  : เด็กชั้นประถมในโรงเรียนตำรวจตระเวณชายแดน 4 แห่ง

 

4.   เป้าหมาย        : ต้องการให้เด็กในโรงเรียน ตชด. ซึ่งขาดโอกาสในการศึกษา โดยเฉพาะศิลปะ และอยู่ห่างไกลได้เรียนรู้ และมีพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ผ่านการเรียนศิลปะ และพัฒนาการสอนของครู ตชด. (ครูสอนศิลปะ) เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการสอน และพัฒนาความรู้ทางการสอนศิลปะแก่เด็ก

 

5.      สาระสำคัญของโครงการ  :

 

6.   เครื่องมือที่ใช้ : มีกิจกรรมหลักเพียงกิจกรรมเดียว คือการสอน แต่แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ (1) การทำงานกับครู เน้นประสบการณ์สอนและแลกเปลี่ยนกับผุ้ทำโครงการเพื่อพัฒนาทักษะการสอนของครู ตชด. ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ด้านการสอนศิลปะโดยตรง (2) การทำงานกับเด็กนักเรียน โดยการสอนศิลปะตามระดับพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย

 

7.   การจัดระบบ โครงสร้าง กระบวนการทำงาน  : เริ่มจากการความตั้งใจที่จะไปสอนในโรงเรียน ตชด. ซึ่งอยู่ห่างไกลจากเมือง และเด็กส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสเรียนรู้ทางศิลปะมากนัก เพราะครูเองก็เป็นตำรวจ ตชด. ที่ต้องประยุกต์การสอนศิลปะตามความถนัดของครูแต่ละคน โดยเลือกโรงเรียนในจังหวัดชุมพรที่มีศักยภาพ นักเรียนไม่มากไม่น้อยเกินไป ผู้อำนวยการให้ความสนับสนุน จากนั้นจึงติดต่อไปที่โรงเรียนเพื่อพักที่โรงเรียนตลอด 1 เทอม หลังจากนั้นก็จัดกิจกรรมการเรียนการสอนศิลปะ ให้กับเด็กทุกชั้นเรียน (ประถม 1 ประถม 6) โดยให้แต่ละชั้นเรียน ได้เรียนศิลปะ 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยสอนครั้งละ 1 ชั่วโมง ซึ่งการสอนจะมีทั้งวาดภาพ ปั้นดิน ประดิษฐ์งานศิลปะ โดยเริ่มจากขั้นพื้นฐาน การใช้เส้น การจัดองค์ประกอบภาพ ฯลฯ ไปสู่ทักษะที่ยากขึ้น ส่วนครูศิลปะจะเน้นที่ความสนใจส่วนตัวของครูที่จะร่วมเรียนรู้ไปพร้อมกันกับเด็ก นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนเรื่องการสอนศิลปะกับหัวหน้าโครงการเพื่อพัฒนารูปแบบการสอนที่สอดคล้องกับสถานการณ์ของแต่ละโรงเรียนเป็นสำคัญ ซึ่งจะขึ้นกับความสนใจของครูศิลปะแต่ละโรงเรียน ส่งผลให้ทักษะของครูแต่ละโรงเรียนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความสนใจเฉพาะตัว นอกจากนี้ยังสอนให้นักเรียนเก็บผลงาน เพื่อดูพัฒนาการ และสร้างความภาคภูมิใจให้เด็ก รวมทั้งใช้ประเมินผลงานในช่วงปิดโครงการด้วย

 

8.   ขอบเขตและระยะเวลาดำเนินโครงการ  : ดำเนินการ 7 เดือน (15 พฤศจิกายน 2546 ถึง 15 มิถุนายน 2547) มีนักเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 800 คน ครู 46 คนจาก 4 โรงเรียน คือ โรงเรียนสันตินิมิต (อ.ท่าแซะ) นักเรียน 111 คน ครู 12 คน , โรงเรียนสิริราษฎร์ (อ.ละแม) นักเรียน 272 คน ครู 14 คน, โรงเรียนห้วยเหมือง (อ.หลังสวน) นักเรียน 247 คน ครู 10 คน และ โรงเรียนสวนเพชร (อ.ละแม) นักเรียน 170 คน ครู 10 คน

 

9.   การประเมินผลและผลกระทบ  : โครงการมีการกำหนดการประเมินผลไว้ในแผน ด้วยการจัดงานปลายเทอมเพื่อให้นักเรียนแสดงผลงาน และให้ผู้ปกครองมาร่วมงาน บางโรงเรียนมีการไปพูดคุยกับผู้ปกครองที่บ้านว่า เด็กมีทักษะการทำงานศิลปะเพิ่มขึ้นหรือไม่หลังจากที่ได้เรียนกับครูแอน นอกจากนี้บางโรงเรียนได้พูดคุยกับครู และมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนไปจากเดิมทำให้ครูมีพัฒนาการด้านการสอน และเด็กก็มีทักษะการทำงานศิลปะเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

 

10. ความยั่งยืน     : โรงเรียนมีหลักสูตรที่ได้จากครูแอนเป็นหลักสูตรการสอนศิลปะประจำโรงเรียน หลังจากที่แต่ก่อนเป็นการสอนตามความถนัดของครูมากกว่า นอกจากนี้เด็กที่ผ่านการเรียนกับครูแอนก็มัทักษะทางศิลปะมากขึ้น เช่น โรงเรียนสันตินิมิตร ที่ครูและนักเรียนร่วมกันวาดภาพบนกำแพง เป็นต้น นอกจากนี้เด็ก ๆ ยังเรียนรู้ที่จะเก็บผลงาน และพัฒนาทักษะฝีมือการวาดภาพ อีกทั้งยังมีการติดตั้งระบบความคิดให้มีความสร้างสรรค์และจินตนาการอีกด้วย

 

11. จุดแข็ง และ อุปสรรค  : เนื่องจากผู้ทำโครงการมีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ด้านการสอนศิลปะเป็นอย่างมาก ทำให้ติดตั้งความรู้กับเด็กอย่างได้ผล และมีประโยชน์ต่อเด็กในระยะยาวเรื่องระบบคิดและจินตนาการ ส่วนอุปสรรคขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียน บางแห่งผู้อำนวยการสนับสนุนดีทำให้ทำงานง่าย แต่บางโรงเรียนที่ผู้บริหารไม่เข้าใจก็ทำให้ต้องทำงานหนักมากขึ้น หรือแม้แต่ตัวครูสอนศิลปะเอง ในกรณีที่มีความสนใจและกระตือรื้อร้นที่จะเรียนรู้จากครูแอนจะได้ประโยชน์ในแง่ทักษะการสอน แต่บางทีครูไม่สนใจก็ทำให้ครูแอนต้องทำงานกับเด็กตามลำพัง นอกจากนี้บางกรณีที่ครูไม่สนใจกลับเกิดผลดีกับเด็กเพราะทำให้ครูมีเวลาใกล้ชิดกับเด็กมากขึ้น อุปสรรคจึงขึ้นอยู่กับแต่ละแห่งเป็นสำคัญ รวมทั้งทัศนะส่วนตัวของผู้ทำโครงการที่ไม่คิดจะหาแนวทางที่จะดึงครูที่ไม่สนใจให้มาร่วม เพราะมองว่าเป็นเรื่องความสนใจส่วนบุคคลของครูแต่ละท่านมากกว่า

 

12.  ที่ติดต่อ   :        นางสาวชุมาพร  เสนียุทธ์ (ครูแอน) 01-250-4381

 
หมายเลขบันทึก: 72084เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2007 13:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2012 19:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท