โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานด้วยหลักสุขภาวะ กทม.


เป้าหมาย : โครงการต้องการส่งเสริมและสนับสนุนให้ข้าราชการและลูกจ้าง ทั้งในหน่วยงานของสำนักราชเลขาธิการ และหน่วยงานใกล้เคียงอื่น ๆ นำหลักสุขภาวะมาใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม ทั้งในด้านการนำมาใช้กับตนเอง รวมถึงนำมาใช้ประสานงานกับผู้ติดต่อราชการส่วนต่าง ๆ

โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานด้วยหลักสุขภาวะ กทม.

 

1.      คำสำคัญ        : สุขภาวะ ประสิทธิภาพการทำงาน

2.      จังหวัด : กรุงเทพฯ

3.      กลุ่มเป้าหมาย  : บุคลากรในองค์กรสำนักราชเลขาธิการและหน่วยงานใกล้เคียง

4.   เป้าหมาย        : โครงการต้องการส่งเสริมและสนับสนุนให้ข้าราชการและลูกจ้าง ทั้งในหน่วยงานของสำนักราชเลขาธิการ และหน่วยงานใกล้เคียงอื่น ๆ นำหลักสุขภาวะมาใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม ทั้งในด้านการนำมาใช้กับตนเอง รวมถึงนำมาใช้ประสานงานกับผู้ติดต่อราชการส่วนต่าง ๆ

5.   สาระสำคัญของโครงการ  : เมื่อหัวหน้าโครงการย้ายมาทำงานที่กองการเจ้าหน้าที่ ก็มีความคิดว่าบุคลากรของหน่วยงานมีความเครียด ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานให้ต่ำลง จึงหาแนวทางที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยเห็นว่าต้องเริ่มจากการสร้างสุขภาวะ (ทั้งทางกาย ใจ และสังคม) จึงเลือกกิจกรรมออกกำลังที่ทุกเพศ ทุกวัยสามารถร่วมได้ คือโยคะ ส่วนการอบรมเทคนิคทางจิตวิทยา เป็นการจัดเฉพาะกองนิติการโดยเฉพาะ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ต้องรับฎีกา มีความเครียดสูง และต้องติดต่อกับประชาชนที่มีความเครียดด้วย จึงจัดอบรมพิเศษเพื่อให้ความรู้เรื่องเทคนิคการติดต่อ การผ่อนคลายความเครียดจองเจ้าหน้าที่เอง ซึ่งในช่วงทำโครงการ ยังมีการจัดนักจิตบำบัดไว้ให้เจ้าหน้าที่ทุกคนสามารถโทรไปปรึกษาได้ตลอดปีด้วย ส่วนกิจกรรมการบรรยายเรื่อง การทำงานอย่างมีความสุขเพื่อเสริมให้เกิดทัศนคติที่ดี และการสร้างสุขภาวะกับเจ้าหน้าและทำงานได้อย่างมีความสุข

6.   เครื่องมือที่ใช้ : กิจกรรมหลักมี 3 ส่วนคือ (1) อบรมและบริหารร่างกายแบบโยคะ (2) อบรมเทคนิควิธีการทางจิตวิทยาในการประสานงานราชการ  (3) บรรยายพิเศษ เรื่อง การทำงานอย่างมีความสุข นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเสริมด้วยการจัดนักจิตบำบัดไว้ให้คำปรึกษาตลอดปีด้วย

7.   การจัดระบบ โครงสร้าง กระบวนการทำงาน  : ทีมงานมาคุยกันเรื่องจะทำงานอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ และลงความเห็นว่าสุขภาพที่ดีต้องมาก่อน จึงจะส่งผลต่อการทำงาน จากนั้นจึงได้เลือกการสร้างสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ ส่วนใหญ่เห็นว่าโยคะเป็นกิจกรรมที่ได้ทั้งการออกกำลังกายและสมาธิ รวมทั้งทุกเพศทุกวัยสามารถร่วมได้ ใช้พื้นที่ไม่มาก ด้วยเหตุนี้จึงเลือกโยคะเป็นกิจกรรมแรก โดยทีมงานได้ติดต่อครูมืออาชีพจากจากมูลนิธิสัตยาไส  อาศรมวัฒนธรรมไทยภารตะ ซึ่งมีใบรับรองการสอนอย่างถูกต้อง ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีทั้งจากคนในองค์กร (สำนักราชเลขาธิการ) และนอกองค์กร เช่น สำนักพระราชวัง ราชบัณฑิตยสถาน อาจารย์มหาวิทยาลัย ฯลฯ ในส่วนของสุขภาพจิต ทีมงานเห็นว่ากองนิติการซึ่งทำงานด้านรับฎีกา เป็นเรื่องร้องทุกจากชาวบ้านทำให้มีความเครียดมากที่สุด จึงเน้นที่การสร้างเสริมเทคนิควิธีการติดต่อกับประชาชนที่มายื่นฎีกา ซึ่งมีความเครียด ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถเรียนรู้เทคนิคการติดต่อ ปรสานงาน ช่วยลดความเครียดให้กับผู้มาติดต่อและลดความเครียดของเจ้าหน้าที่เองด้วย หลังจัดกิจกรรมสักระยะหนึ่งก็มีการกระตุ้นความสนใจจากบุคลากรในองค์กรให้หันมาสนใจเรื่องสุขภาพกับการทำงาน ด้วยการจัดบรรยายพิเศษเรื่อง การทำงานอย่างมีความสุข และเลือกเชิญคนที่มีชื่อเสียง มีความรู้จริงเรื่องสุขภาพมาพูดคุย เช่น พญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ จากกระทรวงสาธารณสุข นพ.ดร.ชัยชนะ นิ่มนวล จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ดร.สาทิส อินทรกำแหง ฯลฯ เป็นต้น

8.   ขอบเขตและระยะเวลาดำเนินโครงการ  : ดำเนินการ 1 ปี (16 มิถุนายน 2546 – 16 มิถุนายน 2547) โดยโยคะมีจำนวนผู้เข้าร่วมทั้งในหน่วยงานและนอกหน่วยงาน แต่และครั้งมีจำนวนไม่เท่ากัน บางครั้งคนที่ลงชื่อแต่ไม่มาก็มี ส่วนการอบรมจิตวิทยามีผู้เข้าร่วม 30 คน และการบรรยายมีคนฟัง 300 คน

9.   การประเมินผลและผลกระทบ  : ทีมงานประเมินว่ากิจกรรมที่ทำประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เนื่องจากการตอบรับจากเจ้าหน้าที่ทั้งในองค์กรและนอกหน่วยงาน นอกจากนี้เมื่อจบโครงการไปยังมีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องมาได้โดยไม่ต้องขอทุน ส่วนการอบรมจิตวิทยา เจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมก็ให้ความเห็นว่าเป็นประโยชน์มาก เพราะได้เรียนรู้เทคนิคต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน นอกจากนี้ยังมีการขยายการดูแลสุขภาพใจหรือการอบรมจิตวิทยาได้เข้าไปอยู่ในแผนพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง แต่เปลี่ยนชื่อไปเป็นกิจกรรมอบรมนพลักษณ์ ซึ่งขอทุนจาก สสส. ในปีแรก และหลังจากนั้นหน่วยงานก็สนับสนุนค่าใช้จ่ายเอง

10. ความยั่งยืน     : แม้การอบรมโยคะจะเลิกไปแล้ว (เพราะเจ้าหน้าที่ย้ายออกเป็นจำนวนมาก) แต่การอบรมจิตวิทยา (นพลักษณ์) ยังมีการดำเนินต่อมาถึง 4 รุ่น และเจ้าหน้าที่ยังให้ความสนใจ เนื่องจากมีการจัดอบรมตามขั้นราชการ (ซี) ทำให้พนักงานระดับล่างยังไม่ได้เข้ารับการอบรมอีกหลายคน ซึ่งหน่วยงานมีแผนที่จะจัดอบรมทางจิตวิทยาต่อไป ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากเป็นกิจกรรมที่เกิดประโยชน์ใสนการทบทวนตนเองและการติดต่อประสานงานกับคนอื่น ๆ จึงทำให้หน่วยงานสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง

11. จุดแข็ง และ อุปสรรค  : จุดแข็งอยู่ที่ตัวผู้ทำโครงการซึ่งเลือกกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของเจ้าหน้าที่พอดี เมื่อจัดกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นโยคะหรืออบรมจิตวิทยาจึงได้รับการตอบรับจากเจ้าหน้าที่เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอบรมจิตวิทยานั้นเกิดประโยชน์โดยตรงต่อการทำงาน ทำให้ต้นสังกัดรับเข้าเป็นแผนงานประจำองค์กร ส่วนอุปสรรคที่ทีมงานมองเห็น คิดว่าเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ทุกคนมีภารกิจมาก หลายกิจกรรมยังไม่เกิดความต่อเนื่อง เช่น การออกกำลังกาย นอกจากนี้การทำงานไม่เป็นเวลาก็มีส่วนต่อการดูแลสุขภาพของเจ้าหน้าที่ ทำให้หลายคนยังไม่สนใจร่วมกิจกรรมเพื่อสุขภามากเท่าที่คาดหวัง

12.  ที่ติดต่อ   :       สำนักราชเลขาธิการ  พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ  10200

ดร.อรสุดา  เจริญรัถ 01-947-9301, 02-2221045 ต่อ 3137

หมายเลขบันทึก: 72083เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2007 13:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท