วรรณศิลป์ "คู่ เทียมคู่ เทียมรถ เทียบรถ" ในกลอนอีสานลาว


วรรณศิลป์ "คู่ เทียมคู่ เทียมรถ เทียบรถ" ในกลอนอีสานลาว

คำสัมผัสอักษรในกลอนอ่านลาวอีสาน เป็นการใช้เสียงอักษรเดียวกันหรืออักษรเสียงคู่ (ข/ค, สศษ/ซ, ถฐ/ทธ, ผ/พภ, ฝ/ฟ, ห/ฮ, หน./นณ, หม./ม, หล./ลร) ในวรรคกลอนอ่านอักษรสังวาด ซึ่งกลอนอีสานลาวถือว่าสัมผัสอักษร หรือก่ายพยัญชนะในวรรคเดียวกันเป็นเอกลักษณ์ด้านวรรณศิลป์มาแต่โบราณ จนบรรพบุรุษนักกวีศิลป์มีคำเรียกการสัมผัส/ก่ายแบบนี้มา ดังนี้ (ใช้บท "โคเล" ในการยกตัวอย่าง)

๑. คู่ คือ สัมผัส/ก่ายอักษรในวรรคเดียวกัน ๒ คำ หรือบางตำราเรียก "เคียง" เช่น "..สารเสียปนแปดเปื้อน ปวงสิ่งโสภา.." สัมผัสคู่ ได้แก่ .สารเสีย.. และ ..สิ่งโส.. เป็นต้น

๒. เทียมคู่ คือสัมผัส/ก่ายอักษรในวรรคเดียวกัน ๓ คำ เช่น "..ดำด่างด้อย..", "..จาโจกจ้น..", "..ดีดั่งด้าม.." เป็นต้น

๓. เทียมรถ คือสัมผัส/ก่ายอักษรในวรรคเดียวกัน ๔ คำ เช่น "..ปนแปดเปื้อน ปวง..", "..มวลหมู่มารหมึน..", "..หยามหยันยุแยง" เป็นต้น

๔. เทียบรถ คือ สัมผัส/ก่ายอักษรในวรรคเดียวกัน ๕-๗ คำหรือมากกว่า เช่น "..สีสัน ทรุดโทรมเซซ้ำ", "..กลางก้วน กวนกินกรรมก่อ", "..ตานตามเติมต้อง ตัณ..", "ซวดซวด เส็งซั่วใซ้.." เป็นต้น

กลอนอ่านอักษรสังวาด ไม่เน้นสัมผัสสระวรรคต่อวรรค (เหมือนกลอนลำหรือกลอนอ่านวชิระปันตี) แต่เน้นสัมผัส/ก่ายอักษร (คู่ เทียมคู่ เทียมรถ เทียบรถ) ภายในวรรค       

บทกวี “ โคเล ” ในฉันทลักษณ์ลาวอีสาน  กลอนอ่านอักษรสังวาด

 

หมายเลขบันทึก: 720463เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2025 13:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มกราคม 2025 14:01 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย