โครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภททดลอง เรื่อง การศึกษาการผลิตแบตเตอรี่จากสารละลายเกลือ


 

ชื่อโครงงาน การศึกษาการผลิตแบตเตอรี่จากสารละลายเกลือ

ชื่อผู้จัดทำโครงงาน เด็กชายวีรยุทธ ภูมิกองเด็กหญิงนภัสสร ลีทอง เด็กชยธร ภูหยาดฟ้า

ชื่อครูที่ปรึกษา นายนวมินทร์ ลิ้มเจริญนางสาวกนกทิพย์ มามูลอีเมล์ครูที่ปรึกษา [email protected],[email protected]

ที่ปรึกษาพิเศษ นางสาวจรรย์นภรณ์ วงศ์พระราม ครูโรงเรียนวัดบ้านทุ่งรี

สถานศึกษาที่ทำการทดลอง โรงเรียนบ้านโพธิ์ห้วย ตำบลเมืองบัว อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ปีการศึกษา 2567

บทคัดย่อ

พลังงานเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก โลกของเราขับเคลื่อนไปได้ด้วยพลังงาน โดยมีการใช้พลังงานหลากหลายประเภทด้วยกัน อุปกรณ์พื้นฐานที่สำคัญของสรรพสิ่งอันขาดไม่ได้คือ แบตเตอรี่ ที่ใช้กักเก็บและให้พลังงานเพื่อหล่อเลี้ยงอุปกรณ์และเครื่องใช้จำนวนหลายล้านชิ้นให้ทำงานได้ตามที่ต้องการ ในอนาคตที่โลกต้องเผชิญปัญหาความต้องการด้านพลังงานและปัญหาสภาวะโลกร้อน แบตเตอรี่ยังเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับเก็บสำรองพลังงานสะอาดที่ไม่เสถียร ดังนั้น จึงต้องมีการค้นหาและใช้พลังงานทดแทน ผู้จัดทำโครงงานจึงมีความสนใจในการศึกษาหาแนวทางการผลิตแบตเตอรี่จากเกลือแกงที่มีอยู่ในท้องถิ่นและหาได้ง่าย มาผลิตเป็นแบตเตอรี่พลังงานทดแทนได้ในการทำโครงงานได้แบ่งการศึกษาเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ทดสอบหาค่าความเป็นกรด – เบส ของสารละลายเกลือ ตอนที่ 2 หาประสิทธิภาพค่าแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่ ตอนที่ 3 เปรียบเทียบประสิทธิภาพแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่ จากการศึกษาตอนที่ 1 แบตเตอรี่จากสารละลายเกลือที่มีค่าแรงดันไฟฟ้ามากที่สุด คือ สารละลายเกลือโซเดียมซัลเฟต สารละลายเกลือสินเธาว์ และสารละลายเกลือแกง ตอนที่ 2 วงจรอนุกรมแบตเตอรี่ที่มีค่าแรงดันไฟฟ้ามากที่สุด คือ วงจรอนุกรมของแบตเตอรี่สารละลายเกลือโซเดียมซัลเฟต วงจรอนุกรมของแบตเตอรี่สารละลายเกลือสินเธาว์ และวงจรอนุกรมของแบตเตอรี่สารละลายเกลือแกง ตามลำดับ ตอนที่ 3 ประสิทธิภาพแรงดันไฟฟ้าสูงสุดเมื่อใช้งานเป็นระยะเวลา 48 ชั่วโมง คือ วงจรอนุกรมของแบตเตอรี่สารละลายเกลือโซเดียมซัลเฟต วงจรอนุกรมของแบตเตอรี่สารละลายเกลือสินเธาว์ และวงจรอนุกรมของแบตเตอรี่สารละลายเกลือแกง ตามลำดับ

คำสำคัญ : แบตเตอรี่สารละลายเกลือ, แรงดันไฟฟ้า

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน 
แบตเตอรี่ (Battery) คืออุปกรณ์สำหรับเก็บประจุของพลังงานไฟฟ้าอย่างหนึ่ง ถูกใช้อย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีความสะดวกในการใช้งาน แบตเตอรี่แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ แบตเตอรี่แบบใช้ครั้งเดียวทิ้งหรือแบตเตอรี่ชนิดปฐมภูมิ (Primary batteries) หรือเรียกเซลล์ปฐมภูมิ (Primary cell) และแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟใหม่ได้หรือแบตเตอรี่ชนิดทุติยภูมิ (Rechargeable Batteries) หรือเรียกว่าเซลล์ทุติยภูมิ (Secondary Cell หรือ Reversible Cell)ซึ่งเซลล์ทุติยภูมิเมื่อใช้งานจนแบตเตอรี่หมดพลังงาน หรือหมดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่จะถูกนำไปขายร้านขายของเก่าเพื่อนำไปแยกชิ้นส่วน ตะกั่วจะถูกนำไปหลอมเพื่อการขาย ส่วนสารละลายที่อยู่ในแบตเตอรี่จะถูกทิ้ง การทิ้งที่ไม่ถูกวิธีจะส่งผลให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากวัสดุและสารละลายที่อยู่ในแบตเตอรี่คือสารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นกรดเข้มข้น ซึ่งเป็นสารกัดกร่อนทำลายสิ่งแวดล้อม นอกจากสารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นกรดแล้ว ในสารเคมีในแบตเตอรี่ยังพบสารละลายโลหะหนักเจือปนอยู่อย่างเข้มข้น ได้แก่ สารตะกั่ว เป็นต้น การกำจัดที่ไม่ถูกต้องจะส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์โดยตรง (บุญเสริม เวชการ,2550) นอกจากนี้แบตเตอรี่มีความสำคัญในยุคอินเทอร์เน็ต ในอนาคตที่โลกต้องเผชิญปัญหาความต้องการด้านพลังงานและปัญหาสภาวะโลกร้อน แบตเตอรี่ยังเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับเก็บสำรองพลังงานสะอาดที่ไม่เสถียร เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานลม ไว้ใช้ในยามที่โลกไม่สามารถผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานเหล่านี้ได้ ดังนั้น ผู้จัดทำโครงงานมีความสนใจในการศึกษาทดลองความเป็นไปได้เพื่อหาสารละลายในแบตเตอรี่ (Electrolyte) ที่มีอยู่ตามท้องตลาดมาทดแทนสารละลายเดิมที่ใช้อยู่เพื่อเป็นพลังงานทดแทน

1.2 วัตถุประสงค์1. เพื่อศึกษาค่าความเป็น กรด-เบส ของสารละลายเกลือ2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพค่าแรงดันไฟของแบตเตอรี่3. เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่

1.3 ขอบเขตของการศึกษา สารละลายที่นำมาศึกษา คือ เกลือแกง เกลือสินเธาว์ เกลือโซเดียมซัลเฟต

1.4 สมมติฐานสารละลายเกลือสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้

1.5 ตัวแปรตัวแปรต้น เกลือแกง เกลือสินเธาว์ เกลือโซเดียมซัลเฟต
ตัวแปรตาม แรงดันไฟฟ้าที่เกิดจากสารละลายเกลือตัวแปรควบคุม ปริมาตรของสาร ปริมาตรของสารละลายเกลือ อุณหภูมิ แผ่นทองแดง แผ่นสังกะสี ขนาดบีกเกอร์ ชุดสายไฟพร้อมคลิปปากจระเข้ หลอดไฟ LED

1.6 นิยามเชิงปฏิบัติการแรงดันไฟฟ้า หมายถึง กระแสไฟฟ้าเกิดจากการที่มีอิเล็กตรอนไหลในสายไฟ หน่วยของความต่างศักย์ไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้าคือ โวลต์ (Volt ใช้สัญลักษณ์ V) เช่น แรงดันไฟฟ้าของไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านมีค่า 220 โวลต์ แรงดันไฟฟ้าของถ่านไฟฉายมีค่า 1.5 โวลต์ เป็นต้น

อุปกรณ์และวิธีการดำเนินการ

การศึกษาการผลิตแบตเตอรี่จากสารละลายเกลือครั้งนี้ เป็นการศึกษาทดลองความเป็นไปได้เพื่อหาสารละลายในแบตเตอรี่ (Electrolyte) ที่มีอยู่ตามท้องตลาดมาทดแทนสารละลายเดิมที่ใช้อยู่เพื่อเป็นพลังงานทดแทน สารที่นำมาศึกษา คือ เกลือแกง เกลือสินเธาว์ และเกลือโซเดียมซัลเฟต มีแผ่นทองแดงและแผ่นสังกะสีเป็นตัวนำไฟฟ้า

3.1 วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือพิเศษ3.1.1 วัสดุเกลือแกง เกลือสินเธาว์ เกลือโซเดียมซัลเฟต 3.1.2 อุปกรณ์กรรไกรกระดาษลิตมัส เครื่องแก้ว - กระบอกตวง (Cylinder) ขนาด 25 มิลลิลิตร- ขวดแก้วรูปชมพู่ (Erlenmeyer flask) ขนาด 250 มิลลิลิตร- แท่งแก้วคนสาร (Glass Rod)- บีกเกอร์ (Beaker) ขนาด 50 มิลลิลิตร- หลอดหยด (Dropper) ขนาด 10 เซนติเมตรชุดสายไฟพร้อมคลิปปากจระเข้ดินสอแผ่นทองแดง (Cu) แผ่นสังกะสี(Zn)ไม้บรรทัดไม้หนีบยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์ (Universal indicator)หลอดไฟ LED ขนาด 3 มิลลิเมตร3.1.3 เครื่องมือพิเศษเครื่องวัดความเป็นกรด-ด่าง แบบดิจิทัล (PH Meter)
มัลติมิเตอร์แบบดิจิทัล (Digital Multimeters)

3.2 ขั้นตอนการดำเนินงาน3.2.1 ทดสอบหาค่าความเป็นกรด – เบส เกลือทั้ง 3 ชนิด
นำเกลือแกง เกลือสินเธาว์ และเกลือโซเดียมซัลเฟต ไปละลายกับน้ำชนิดละ 30 มิลลิลิตร จากนั้นนำกระดาษลิตมัสตรวจสอบค่าความเป็นกรด- เบส แต่กระดาษลิตมัสตรวจสอบได้แค่ว่าสารละลายนั้นมีสภาพความเป็นกรดหรือเบส ยังให้ค่าความละเอียดไม่มากพอ จึงใช้ยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์มาทดสอบค่า pH ได้ค่าที่ละเอียดมากขึ้น สามารถบอกความเป็นกรดและเบสได้ชัดเจน แต่ยังให้ค่าความละเอียดไม่มากพอ จึงใช้เครื่องวัดความเป็นกรด-เบส (pH Meter) ที่มีความละเอียดมากขึ้น จุ่มลงในสารละลายเกลือทั้ง 3 ชนิด คือ เกลือแกง เกลือสินเธาว์ เกลือโซเดียมซัลเฟต และบันทึกค่าความเป็นกรด-เบส3.2.2 หาประสิทธิภาพค่าแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่ 1. ตัดแผ่นทองแดงและแผ่นสังกะสี ชนิดละ 12 แผ่น ให้มีขนาดเท่ากัน กว้าง 2 เซนติเมตร ยาว 5 เซนติเมตร 2. เติมเกลือทั้ง 3 ชนิดลงในบีกเกอร์ละ 10 มิลลิกรัม จำนวนชนิดละ 4 บีกเกอร์3. เติมน้ำลงในบิกเกอร์ที่มีเกลือเพื่อละลายสาร ปริมาณน้ำบีกเกอร์ละ 30 มิลลิลิตร จำนวนชนิดละ 4 บีกเกอร์3. นำแผ่นทองแดงและแผ่นสังกะสีซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้า คีบด้วยชุดสายไฟคลิปปากจระเข้ จุ่มลงในแต่ละบีกเกอร์ จากนั้นวัดค่าแรงดันไฟฟ้าในแต่ละบีกเกอร์ด้วยมัลติมิเตอร์แบบดิจิทัล
4. ต่อวงจรแบตเตอรี่สารละลายเกลือแกงแบบอนุกรม ต่อวงจรแบตเตอรี่สารละลายเกลือสินเธาว์แบบอนุกรม ต่อวงจรแบตเตอรี่สารละลายเกลือเกลือโซเดียมซัลเฟตแบบอนุกรม และวัดค่าแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่จากสารละลายเกลือทั้ง 3 ชนิดด้วยมัลติมิเตอร์แบบดิจิทัลและบันทึกผลค่าแรงดันไฟฟ้ารวม 3.2.3 เปรียบเทียบประสิทธิภาพแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่1. ต่อหลอดไฟ LED ขนาด 3 มิลลิเมตร จากวงจรแบตเตอรี่สารละลายเกลือแกงแบบอนุกรม ต่อหลอดไฟ LED ขนาด 3 มิลลิเมตรจากวงจรแบตเตอรี่สารละลายเกลือสินเธาว์แบบอนุกรม และต่อวงจรแบตเตอรี่สารละลายเกลือโซเดียมซัลเฟตแบบอนุกรม เพื่อทดสอบกระแสไฟฟ้าว่ามีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านจากแบตเตอรี่สารละลายเกลือแกง สารละลายเกลือสินเธาว์สารละลายเกลือโซเดียมซัลเฟต หากมีกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ไหลผ่านจะทำให้หลอดไฟ LED สว่าง2. เมื่อต่อหลอดไฟจากแบตเตอรี่ทุกชนิดแล้ว จับเวลาทุก 24 ชั่วโมง เมื่อครบแต่ละชั่วโมง จะวัดค่าแรงดันไฟฟ้าด้วยมัลติมิเตอร์แบบดิจิทัลและบันทึกค่าแรงดันไฟฟ้า และทำซ้ำจนครบ 48 ชั่วโมง เพื่อเปรียบเทียบว่ายังคงมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านมาจากแบตเตอรี่สารละลายเกลือแกง สารละลายเกลือสินเธาว์ สารละลายเกลือโซเดียมซัลเฟต กระแสไฟฟ้านั้นมีแรงดันไฟฟ้าเท่าเดิม เพิ่มขึ้น หรือลดลงหรือไม่ หลอดไฟยังคงสว่างอยู่หรือดับไป

ผลการดำเนินการ

การศึกษาการผลิตแบตเตอรี่จากสารละลายเกลือครั้งนี้ เป็นการศึกษาทดลองความเป็นไปได้เพื่อหาสารละลายในแบตเตอรี่ (Electrolyte) ที่มีอยู่ตามท้องตลาดมาทดแทนสารละลายเดิมที่ใช้อยู่เพื่อเป็นพลังงานทดแทน สารละลายที่นำมาศึกษา คือ เกลือแกง เกลือสินเธาว์ และเกลือโซเดียมซัลเฟต มีแผ่นทองแดงและแผ่นสังกะสีเป็นตัวนำไฟฟ้า จากการทดลองได้ผล ดังนี้ 4.1 ผลทดสอบหาค่าความเป็นกรด – เบส ของสารละลายเกลือจากการทดสอบหาค่าความเป็นกรด - เบสของสารละลายเกลือแกง สารละลายเกลือสินเธาว์ และสารละลายเกลือโซเดียมซัลเฟต ด้วยเครื่องวัดความเป็นกรด-เบส (pH Meter) แบบดิจิทัล พบว่า เกลือแกง มีค่า pH 6.98 เกลือสินเธาว์ มีค่า pH 7.22 และสารละลายเกลือโซเดียมซัลเฟต pH 8.42

 

4.2 ผลการหาประสิทธิภาพค่าแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่จากการทดลองนำแผ่นสังกะสีและแผ่นทองแดงซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้า คีบด้วยชุดสายไฟคลิปปากจระเข้ จุ่มลงในสารละลายเกลือแกง สารละลายเกลือสินเธาว์ และสารละลายเกลือโซเดียมซัลเฟตทุกบีกเกอร์ และวัดค่าแรงดันไฟฟ้าในแต่ละบีกเกอร์ด้วยมัลติมิเตอร์แบบดิจิทัล
จากนั้นต่อวงจรแบตเตอรี่แบบอนุกรมของสารละลายเกลือแกง สารละลายเกลือสินเธาว์ และสารละลายเกลือโซเดียมซัลเฟต เพื่อวัดค่าแรงดันไฟฟ้าด้วยมัลติมิเตอร์แบบดิจิทัล พบว่า วงจรแบตเตอรี่แบบอนุกรมของสารละลายเกลือแกง ให้ค่าแรงดันไฟฟ้า 2.98 โวลต์ วงจรแบตเตอรี่แบบอนุกรมของสารละลายเกลือสินเธาว์ ให้ค่าแรงดันไฟฟ้า 3.03 โวลต์ และวงจรแบตเตอรี่แบบอนุกรมของสารละลายเกลือโซเดียมซัลเฟต ให้ค่าแรงดันไฟฟ้า 3.44 โวลต์

4.3 ผลเปรียบเทียบประสิทธิภาพแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่ผลการทดลองต่อหลอดไฟ LED ขนาด 3 มิลลิเมตร จากแบตเตอรี่แบบอนุกรมของสารละลายเกลือแกง แบตเตอรี่แบบอนุกรมของสารละลายเกลือสินเธาว์ แบตเตอรี่แบบอนุกรมของสารละลายเกลือโซเดียมซัลเฟต เพื่อทดสอบกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านจากแบตเตอรี่ พบว่าหลอดไฟ LED ขนาด 3 มิลลิเมตร ที่ต่อจากแบตเตอรี่แบบอนุกรมของสารละลายเกลือแกง แบตเตอรี่แบบอนุกรมของสารละลายเกลือสินเธาว์ และแบตเตอรี่แบบอนุกรมของสารละลายเกลือโซเดียมซัลเฟต มีความสว่างทุกดวง
หลังจากต่อหลอดไฟ LED ขนาด 3 มิลลิเมตร จากแบตเตอรี่แบบอนุกรมของสารละลายเกลือแกง แบตเตอรี่แบบอนุกรมของสารละลายเกลือสินเธาว์ แบตเตอรี่แบบอนุกรมของสารละลายเกลือโซเดียมซัลเฟต ทำการจับเวลา 24 ชั่วโมง โดยเมื่อครบ 24 ชั่วโมง วัดค่าแรงดันไฟฟ้าด้วยมัลติมิเตอร์แบบดิจิทัล
ผลการทดลองพบว่า แบตเตอรี่แบบอนุกรมของสารละลายเกลือแกง ชั่วโมงที่ 24 มีค่าแรงดันไฟฟ้า 2.73 โวลต์
แบตเตอรี่แบบอนุกรมของสารละลายเกลือสินเธาว์ ชั่วโมงที่ 24 มีค่าแรงดันไฟฟ้า 2.97 โวลต์
แบตเตอรี่แบบอนุกรมของสารละลายเกลือโซเดียมซัลเฟต ชั่วโมงที่ 24 มีค่าแรงดันไฟฟ้า 3.10 โวลต์
จากตารางที่ 3 หลังจากต่อหลอดไฟจากแบตเตอรี่แบบอนุกรมของสารละลายเกลือแกง แบตเตอรี่แบบอนุกรมของสารละลายเกลือสินเธาว์ แบตเตอรี่แบบอนุกรมของสารละลายเกลือโซเดียมซัลเฟต และทำการจับเวลาทุก 24 ชั่วโมง โดยเมื่อครบแต่ละชั่วโมง วัดค่าแรงดันไฟฟ้าด้วยมัลติมิเตอร์แบบดิจิทัล ผลการทดลองพบว่า เมื่อครบ 48 ชั่วโมง ยังคงมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านจากแบตเตอรี่แบบอนุกรมของสารละลายเกลือแกง แบตเตอรี่แบบอนุกรมของสารละลายเกลือสินเธาว์ แบตเตอรี่แบบอนุกรมของสารละลายเกลือโซเดียมซัลเฟต และหลอดไฟยังคงสว่างอยู่ทุกดวง แต่แรงดันไฟฟ้าแบตเตอรี่สารละลายเกลือแกง แรงดันไฟฟ้าแบตเตอรี่สารละลายเกลือสินเธาว์ และแรงดันไฟฟ้าแบตเตอรี่สารละลายเกลือโซเดียมซัลเฟตลดลง โดยวงจรอนุกรมแบตเตอรี่สารละลายเกลือโซเดียมซัลเฟตยังคงมีค่าแรงดันไฟฟ้าสูงสุด รองลงมาคือ วงจรอนุกรมแบตเตอรี่สารละลายสินเธาว์ และวงจรอนุกรมแบตเตอรี่สารละลายเกลือแกง ตามลำดับ

สรุปผลการดำเนินการ/อภิปรายผลการดำเนินการ

การศึกษาการผลิตแบตเตอรี่จากสารละลายเกลือครั้งนี้ พบว่า แบตเตอรี่จากสารละลายเกลือสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ โดยวัดจากค่าแรงวัดไฟฟ้าที่ไหลผ่านจากแบตเตอรี่ โดยมีแผ่นสังกะสี แผ่นทองแดง เป็นตัวนำไฟฟ้า 5.1 สรุปผล5.1.1 แบตเตอรี่จากสารละลายเกลือสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้5.1.2 สารละลายเกลือแกง มีค่าความเป็นกรด สารละลายเกลือสินเธาว์มีค่าความเป็นกลาง สารละลายเกลือโซเดียมซัลเฟตมีความเป็นเบส5.1.3 วงจรอนุกรมแบตเตอรี่สารละลายเกลือโซเดียมซัลเฟตให้ค่าแรงดันไฟฟ้ามากที่สุด รองลงมา คือ วงจรอนุกรมแบตเตอรี่สารละลายเกลือสินเธาว์ และวงจรอนุกรมแบตเตอรี่สารละลายเกลือแกงตามลำดับ5.1.4 เมื่อครบเวลาแต่ละชั่วโมง วัดค่าแรงดันไฟฟ้าด้วยมัลติมิเตอร์แบบดิจิทัล และทำซ้ำจนครบเวลา 48 ชั่วโมง ค่าแรงดันไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ที่ให้ค่าแรงดันไฟฟ้ามากที่สุดคือวงจรอนุกรมแบตเตอรี่สารละลายเกลือโซเดียมซัลเฟตที่ 2.97 โวลต์ รองลงมาคือ วงจรอนุกรมแบตเตอรี่สารละลายเกลือสินเธาว์ ที่ 2.64 และวงจรอนุกรมแบตเตอรี่สารละลายเกลือแกง ที่ 2.52 โวลต์ ตามลำดับ

5.2 อภิปรายผล
5.2.1 การศึกษาการผลิตแบตเตอรี่จากสารละลายเกลือ ได้แก่ สารละลายเกลือแกง สารละลายเกลือสินเธาว์ และสารละลายเกลือโซเดียมซัลเฟต พบว่าแบตเตอรี่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้5.2.2 สารละลายเกลือแกง มีค่าความเป็นกรดมากที่สุด
5.2.3 วงจรอนุกรมแบตเตอรี่สารละลายเกลือโซเดียมซัลเฟตให้ค่าแรงดันไฟฟ้ามากที่สุด และวงจรอนุกรมแบตเตอรี่สารละลายเกลือแกงให้ค่าแรงดันไฟฟ้าน้อยที่สุด
5.2.4 เมื่อระยะเวลาผ่านไปในแต่ละชั่วโมง จนครบ 48 ชั่วโมง ค่าแรงดันไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ที่ให้ค่าแรงดันไฟฟ้ามากที่สุดคือวงจรอนุกรมแบตเตอรี่จากสารละลายเกลือโซเดียมซัลเฟต และวงจรอนุกรมแบตเตอรี่จากสารละลายเกลือแกงให้ค่าแรงดันไฟฟ้าน้อยที่สุด



ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย