แผนที่ภาษี ในฐานะข้อมูลเพื่อการวิจัย


 

วันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๗  ในที่ประชุมสภา มช. ผมได้รับแจกหนังสือ ความรู้การบริหารเมืองจากแผนที่ภาษี และข้อเสนอท้องถิ่นวิจัย จาก ศ. ดร. ดิเรก ปัมทสิริวัฒน์   พลิกอ่านคร่าวๆ แล้วเกิดประกายความคิดว่า แผนที่ภาษีเป็นข้อมูลเพื่อการวิจัยที่หลากหลายมาก   เพื่อการทำความเข้าใจท้องถิ่น และสังคม 

หนังสือเล่มนี้เน้นใช้แผนที่ภาษีเป็นกระจกสะท้อนการบริหารเมืองหรือพื้นที่    แต่ผมมองว่า ใช้สะท้อนอย่างอื่นได้อีกมาก  เช่าระบบเศรษฐกิจ    ระบบสุขภาพ   ระบบการศึกษา ฯลฯ   โดยเราสามารถตั้งโจทย์วิจัยได้หลากหลายมาก   และน่าจะใช้ Generative AI ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลได้มาก   

เป็นการเปิดประตูสู่การวิจัยทำความเข้าใจระบบต่างๆ ของท้องถิ่น และของสังคมได้มากมาย       

วิจารณ์ พานิช

๒๗ ต.ค. ๖๗

  

หมายเลขบันทึก: 720131เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2024 12:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2024 12:46 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท