จริยธรรมแบบชี้ฟ้า (Sky-pointed Ethics)


คำว่าจริยธรรมเป็นอีกมโนทัศน์และหลักปฏิบัติอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นปัญหาในสังคมไทย ปัญหาแรกคือความไม่กระจ่างชัดของคำว่า ‘จริยธรรม’ ซึ่งดูได้จากเรามักจะใช้คำสองคำนี้คู่กัน คือ ‘คุณธรรมจริยธรรม’ ซึ่งก็ไม่ชัดเจนทั้งสองคำ แต่มีการนำใช้อย่างกว้างขวาง นัยว่าคุณธรรมจริยธรรมเป็นเครื่องหมายคุณภาพสินค้าที่ประกันคุณภาพของคนในสังคมได้ แต่ในการนำใช้มโนทัศน์ทั้งสองในสังคมไทยเรากลับไม่เป็นเช่นนั้น ทั้งๆ ที่โดยความจริงแล้วคุณธรรมและจริยธรรมเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นในการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม 

ปัญหาที่สองคือ สังคมไทยสับสนปนกันระหว่าง ‘จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ’  ดังเช่นมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2561 ที่เป็นประเด็นถกเถียงกันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจริงๆ ควรเรียกว่า ‘จรรยาบรรณ์ของผู้ที่ดำรงตำแหน่งตุลากรศาลรัฐธรรมนูญฯ’ เป็นจรรยาบรรณวิชาชีพคล้ายกับจรรยาบรรณวิชาชีพครู หรือหมอ เป็นต้น 

นี่ยังไม่รวมถึงความกำกวมของบทบัญญัติของมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลากรศาลรัฐธรรมมนูญฯ นะ ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่สร้างปัญหา และนำมาซึ่งการถกเถียงกันอยู่ในปัจจุบัน 

แล้วถ้าจะถามว่า แล้วผมไปยุ่งกับเรื่องนี้ทำไม คำตอบก็คือ ข้อกำหนดและแนวปฏิบัติในการใช้ข้อกำหนดนี้เป็นประเด็นการเมือง คือ เป็นกระบวนการและการตัดสินใจทางการเมืองครับ เพราะเป็นการตัดสินใจที่ส่งผลสำคัญต่อสังคมโดยรวม ซึ่งผมเรียกว่า ‘สาธารณะ’ ครับ เพียงการตัดสินใจทางการเมืองดังกล่าวเป็นการตัดสินใจโดยองค์กรที่เรียกว่าศาลรัฐธรรมนูญ เท่านั้นเอง 

กลับมาเรื่อง จริยธรรมกันต่อครับ 

ความหมายของคำว่า ‘จริยธรรม’ ตามพจนานุกรมและที่เข้าใจกันโดยทั่วไปนั้นหมายถึง ‘ธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม หรือจริวัตร’ เป็นข้อปฏิบัติในเชิงศีลธรรม ใครทำได้ตามข้อปฏิบัติเหล่าน้ันถือว่าเป็นคนมีศีลธรรม ดังนั้นจึงมักจะเป็นข้อปฏิบัติที่กำหนดไว้กว้างๆ และลงโทษก็มักจะเป็นเรื่องของการตำหนิติเตียน หรือไม่ยอมรับของหมู่คณะเป็นหลัก ถ้าจะถึงระดับมีการลงโทษก็มักจะกำหนดออกมาเป็น ‘วินัย’ เช่น วินัยสงฆ์ หรือวินัยข้าราชการ ส่วนจรรยบรรณวิชาชีพ ก็คล้ายกับวินัย แต่มักจะกำหนดใช้สำหรับอาชีพที่เป็นวิชาชีพ เช่น หมอ วิศวกร หรือครู เป็นต้น 

เอาละ สมมติว่าเราก้าวข้ามและไม่ถกเถียงกันเรื่อง ‘มาตรฐานจริยธรรม หรือจรรยาบรรณวิชาชีพ' ก็ตาม แต่ประเด็นที่เป็นปัญหาของมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญฯ  ก็คือ ‘มีข้อกำหนดหลายข้อที่กำหนดไว้กว้างและเป็นนามธรรมเกินไป’ จึงเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ในปัจจุบัน 

ข้อกำหนดในมาตรฐานจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญฯ ที่ผมเห็นมีปัญหาอย่างยิ่งมี 5 ข้อดังนี้ 

ข้อ 7 ต้องถือประโยชน์ของประเทศชาติหรือกว่าประโยชน์ส่วนตน ซึ่งปัญหาก็คือ เราจะมีตัวชี้วัดอะไร อย่างไรว่าการกระทำนั้นๆ เป็นการเห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประเทศชาติ เช่น กรณีที่เกิดอุทกภัยขึ้นในวันหยุดราชการ และผมก็ไม่ลงพื้นที่ ไม่แก้ปัญหา นอนพักผ่อนอยู่บ้าน เพราะมันเป็นวันหยุดของผม อย่างนี้ถือว่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ของประเทศชาติไหม เป็นต้น 

ข้อ 8 ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ เพื่อตนเองหรือผู้อื่น หรือมีพฤติกรรม ที่รู้เห็นหรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตนแสงหาประโยขน์โดยมิชอบ 

ก็ดูเป็นข้อปฏิบัติที่ดีและชัดเจน แต่ข้อความที่ว่า ‘หรือมีพฤติกรรม ที่รู้เห็นหรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตนแสงหาประโยขน์โดยมิชอบ’ นั้นเป็นปัญหา เช่น สมมติว่าผมตั้ง นาย ก. เป็นที่ปรึกษาของผม แล้วนาย ก ใช้ความใกล้ชิดไปหาผลประโยชน์โดยผมไม่รู้ จะพิสูจน์กันอย่างไรว่า ‘ผมรู้เห็นเป็นใจ หรือไม่รู้เห็นเป็นใจ’ หรือจะตีความว่า 'ถ้าคนที่ผมตั้งมาเป็นคณะทำงานของผม ใครทุจริต ผมก็ต้องรับผิดชอบเลยใช่ไหม

สองข้อนี้ยังไม่เท่าไหรครับ ข้อ 18 และ 19 นั้นเป็นปัญหามากกว่านี้ คือ ข้อ 18 บัญญัติไว้ว่า 'ไม่ปลอยปละละเลย หรือยินยอมให้บุคคลในครอบครัว หรือบุคคลที่อยู่ในกำกับดูแล หรือความรับผิดชอบของตน เรียก รับ หรือยินยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดจากคู่กรณีหรือจากบุคคลอื่นใดในประการที่อาจทำให้กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตน 

ประเด็นปัญหามีเยอะเลยครับข้อนี้ เช่นคำว่า ‘ครอบครัว’ หมายถึงใครบ้าง มีขอบเขตแค่ไหน แค่สามี-ภรรยา และคู่สมรส หรือรวมถึงพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ด้วย  และคำว่า ‘บุคคลที่อยู่ในกำกับดูแล หรือความรับผิดชอบของตน’ นี่มีขอบเขตแค่ไหน แค่คณะทำงาน หรือข้าราชการทุกคนที่อยู่ในสังกัด หรืออย่างรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลถือว่าอยู่ในความรับผิดชอบของตนไหม ซึ่งถ้าคำตอบว่าข้าราชการในสังกัดกระทรวงศึกษาทุกคนคือบุคคลที่อยู่ในกำกับดูแลของรัฐมนตรีกระทรวงศึกษา ท่านรัฐมนตรีก็เตรียมปวดหัวได้เลยครับ 

ข้อ 19 อาการหนักกว่านี้อีกครับ กล่าวคือ บทบัญญัติของข้อ 19 มีอยู่ว่า 'ไม่คบหาสมาคมกับคู่กรณี ผู้ประพฤติผิดกฎหมาย ผู้มีอิทธิพล หรือผู้มีความประพฤติ หรือผู้มีชื่อเสียงในทางเสื่อมเสีย อันอาจกระทบกระเทือนต่อความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่ 

ประเด็นแรกคือ คำว่า ‘คบหา’ หมายถึงอะไร เคยคบ หรือกำลังบ และการรู้จักกันแปลว่าคบหาไหม มีภาพถ่ายด้วยกัน  แปลว่าคบหาไหม ประเด็นที่ 2 คู่กรณี หมายถึงคู่กรณีของใคร ฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาล เป็นคู่กรณีกันไหม พรรคการเมืองที่เคยด่าทอกัน หรือไม่ถูกกันในอดีต ถือว่าเป็นคู่กรณีไหม ประเด็นที่ 3 คำว่า ‘ผู้ประพฤติผิดกฎหมาย’ ผิดมากน้อยแค่ไหนจึงจะถือว่าผิดกฎหมาย บางท่านอาจจะบอกว่า ‘คุณสมาน ดูถูกกันมากไป’  เรื่องอย่างนี้ใช้สามัญสำนึกก็รู้ว่าอะไรเป็นอะร ซึ่่งก็ไม่ใช่เพราะใช้สามัญสำนึกตีความกฎหมายไปกันคนละทิศละทางนี่หรือที่ทะเลาะกันอยู่ทุกวันนี้ 

เอ้าไปต่อ คำว่า ‘ผู้มีอิทธิพล’ มีเกณฑ์ในการระบุว่าใครเป็นหรือไม่เป็นผู้มีอิทธิอย่างไร นักการเมืองเขาจะได้ระมัดระวังตัว แน่จริงขึ้นบัญชีดำผู้มีอิทธิพลไว้เลยครับ จะได้ช่วยกันจับตาดูว่านักการเมืองคนไหนคบหากับผู้มีอิทธิพลได้  

ดูเหมือนจะพอหายใจหัายคอได้ก็คือวลีนี้ครับ ‘อันอาจกระทบกระเทือนต่อความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่’  ซึ่งเป็นช่องเล็กๆ ที่พอจะอธิบายได้ว่าผู้ที่นักการเมืองคบหาอยู่นะ ไม่กระทบกระเทือนต่อศรัทธาของประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่ของตนหรอก  แต่ถ้าศาลไม่เห็นด้วยกับเหตุผลของนักการเมืองดังกล่าว ท่านก็ผิดครับ 

ประเด็นสุดท้ายที่ผมเห็นว่าเป็นป้ญหาคือ ข้อ 4 ที่กำหนดว่า ‘ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ ประธานกรรมการตรวจเงินแผนดิน และประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ร่วมกันรักษาการตามมาตรฐานทางจริยธรรมนี้’ คำถามมีดังนี้

         1. การพิจารณาข้อร้องเรียนว่ามีการละเมิด หรือทำผิดมาตรฐานทางจริยธรรมนี้ ประธานกรรมการทุกฝ่ายที่ระบุไว้ในข้อ 4 นี้ต้องร่วมกันพิจารณาไหม เพราะมาตรฐานฯ กำหนดไว้ว่า ‘ร่วมกันรักษา’  และในกรณีที่มีการพิจารณาที่ไม่ครบองค์ประชุมจะถือว่าผลการพิจารณาไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดในมาตรฐานทางจริยธรรมนี้ไหมครับ 

          2. ในกรณีที่ประธานฯ คนใดคนหนึ่ง ใน 6 คนนี้ทำผิดมาตรฐานจริยธรรมฯ ใครจะเป็นคนพิจารณา 

ฝากไว้เป็นข้อสังเกตครับ 

สมาน อัศวภูมิ 

2 กันยายน 2567

 

หมายเลขบันทึก: 719305เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2024 14:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กันยายน 2024 14:50 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

I believe there are ‘laws regulations protocols’ (กฎหมาย กฎ ระเบียบ) ‘controlling’ what those 6 chairpersons (ประธาน) ‘must/must not, can/cannot, should/should not’ act in their position. So, theoretically, all chairpersons are held responsible for their actions. But, in practice, as we have seen a highly publicized example where ‘enforcers’ of the ‘laws regulations protocols’ ignore their ‘duties’ or become ‘accomplices’.

We can mull on ‘trust’ and social coherence: when people lost trust in laws…

Absolutely right! However, since we could never trust people from their looks, and promises. Only good and effective system, including laws can shape good deeds of the people. The problem of Ethical standards is it is not a good one!

Absolutely right if we have a qualified leader to lead us, but we could never trust anyone by their looks. On the other hand, I believe, a good system could shape good people, just like a good mold likely produces a good product. The problem is how can we create a good system (law). Sadly, ethic the standards are not the right one.

I think ‘historically, models of cultures’ (including religions) have been dominant tools for shaping societies. Then, there weren’t too many to choose from. Now, at latter times, when societies become more ‘liberal’ (promiscuous? diversified? multicultural?) and ‘liberated’ (widen? loose?, commercial?), we are less deterministic due to multitudes of probabilities, implications and side effects or [fear of] rejections. (We can look at social media systems and reflect on the counts of ‘thumb up and down’.) We are taking more time to choose, making more errors and more often, being less sure of ourselves (unless we are deceitful or vain - it is unfortunate that many cannot tell this apart from ‘confidence’ ) and giving in (succumbing) to the ‘current’.

The laws of physics (one side of life) often show an ‘order’ region where the mass belong and ‘chaos’ regions fluctuating about order, while ‘going’ (with ‘inertia’) along a certain path. As long as the deviations and corrections are within ‘limits’, the systems will move to their ‘destinations’. Perhaps this is a good ‘learning’ that we only need to ‘nudge’ things around, no need to take ‘bulldozer’ style ‘reform’.

The laws of psychologies (another side of life) are different and less predictive ;-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท