ชีวิตที่พอเพียง : 193. คิดงาน CSR กับงานส่งเสริมเยาวชน


         วันที่ ๑๕ ธค. ๔๙ ผมไปร่วมประชุมคณะกรรมการธนาคารไทยพาณิชย์      เป็นการประชุมแบบ retreat ประจำปี     ออกไปประชุมนอกสถานที่      โดยคราวนี้ไปที่คีรีมายา เขาใหญ่     ซึ่งเป็น รีสอร์ท และสนามกอล์ฟ ระดับหรู      โชคดี เป็นช่วงที่อากาศเย็นลงพอดี     บริเวณเขาใหญ่อากาศยิ่งเย็น    ผมจึงชอบมาก     ยิ่งมีบรรยากาศธรรมชาติ     มีเสียงนกร้องไพเราะยิ่ง     ผมยิ่งเพลิดเพลิน

        การประชุมเน้นที่แผนยุทธศาสตร์ระยะ ๓ ปี     มีการเตรียมข้อมูลและแนวคิดมานำเสนออย่างดีเยี่ยม     ผมได้มีโอกาสรับรู้ข้อมูลที่เป็นความลับอย่างยิ่งยวดของธนาคารฯ     ซึ่งจริงๆ แล้ว ผมเข้าใจไม่ถึงหนึ่งในสิบที่เขานำเสนอ      แต่ที่สำคัญผมพยายามโยงเรื่องราวเหล่านี้ เข้ากับงานที่ทางธนาคารต้องการให้ผมเข้าไปเป็นกำลังขับเคลื่อน คือเรื่อง CSR ซึ่งเราจะเน้นงานส่งเสริมสร้างสรรค์เยาวชน และโยงกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

        การคิดเรื่องแผนธุรกิจ  แผนยุทธศาสตร์  ย่อมมีกลิ่นไอของการแข่งขัน การส่งเสริมการตลาด ส่งเสริมการบริโภค-การใช้จ่าย ผมนั่งนึกเถียงอยู่กับตัวเองคนเดียวว่านี่มันขัดกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงนี่นา      ผมจึงดีใจมากที่ในตอนเกือบจะ ๖ โมงเย็นอันเป็นกำหนดปิดประชุม     ดร. จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา นายกกรรมการธนาคาร ก็เอ่ยขี้นว่า "ปีนี้ชื่นชมว่ามาไกล  คิดว่าอยู่บนเส้นทางของความสำเร็จ  มี aspiration   เจริญเติบโตและ maintain dominance, aggressive.   มีการ build information จาก supply chain    จะมีการ build discipline ใน credit officer ให้เขียนรายงาน     เป็นการเดินบนเส้นทางของความสำเร็จ  แต่ต้องระมัดระวัง     ปีนี้เราเพิ่มเรื่อง Corporate Governance กับเรื่อง CSR    โดยจะมีการส่งเสริม corporate social projects    และธนาคารฯ จะต้องตระหนักในประเด็นทางสังคม    ระมัดระวังการเข้าไปส่งเสริมให้สังคม consumption-oriented มากเกินไป    เราต้องทำงานกับ partner ที่เป็น quality sector ไม่ทำร้ายสังคม"    ที่บันทึกนี้คงจะไม่ตรงกับคำพูดของท่านแบบคำต่อคำ และคงมีการตีความของผมปนเข้าไปด้วย

         ผมมีความเชื่อส่วนตัว ว่าไม่ว่าบุคคลหรือองค์กร ใดๆ ย่อมมีทั้งด้านบวกและด้านลบ     คือมีทั้งส่วนที่ทำประโยชน์และมีส่วนที่ทำร้ายหรือทำให้สังคมอ่อนแอ     เราจึงต้องมีสติเตือนใจอยู่เสมอที่จะไม่ประพฤติปฏิบัติส่วนที่ทำร้ายสังคม     และต้องหมั่นหาช่องทาง "คืนกำไรให้แก่สังคม"      ซึ่งผมตีความว่าเป็นหน้าที่ส่วนหนึ่งของงาน CSR

         ในการประชุมคณะกรรมการ CSR เมื่อวันที่ ๑๓ ธค. ๔๙ ท่านประธานคณะกรรมการ CSR ซึ่งก็คือตัวท่านนายกกรรมการธนาคาร ดร. จิรายุนั่นเอง     เอ่ยขึ้นว่า งานนี้สำคัญ ต้องมีเจ้าของ ขอมอบให้คุณหมอวิจารณ์เป็นเจ้าของ     ผมรีบรับ    และนึกในใจว่า ได้จังหวะเมื่อไรผมจะเสนอว่า งาน CSR มี ๒ ส่วน    คือส่วนที่ธนาคารแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมโดยการกระทำ      กับส่วนที่ธนาคารแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมโดยการไม่กระทำ หรืองดเว้นการกระทำ  เพราะการกระทำนั้นเป็นการทำให้สังคมอ่อนแอในระยะยาว

         ดังนั้นตอนเย็นวันที่ ๑๕ ธค. ผมจึงมีความสุขมาก ที่ท่านนายกกรรมการกล่าวสิ่งที่ตรงกับความเชื่อของผม     และผมเชื่อว่า ท่านอดีตนายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยารชุน ก็คอยขับเคลื่อนในการประชุมคณะกรรมการธนาคารฯ และในการประชุมคณะกรรมการ CSR 

         หัวใจของงาน CSR ของธนาคารไทยพาณิชย์  (SCB) ก็คือ  เป็นงานที่ดำเนินการบูรณาการอยู่กับงานประจำ และเจ้าหน้าที่ประจำ     จนเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร     ทำให้พนักงานธนาคารฯ มีจิตสาธารณะ    หรือยกระดับจิตสาธารณะของพนักงานขึ้นไปเรื่อยๆ      เป็นงานที่ช่วยให้พนักงานธนาคารได้เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน และงานสาธารณะ    ร่วมกับชุมชนและสาธารณะในการทำกิจกรรมเพื่อจรรโลงชุมชน-สังคม     เพื่อความอยู่ดีมีสุขร่วมกันในชุมชน-สังคม      เป็นงานที่ช่วยให้ผู้คนมีจิตใจอ่อนโยน ละเอียดอ่อน และมีจิตกุศล   

         งานธนาคารไม่ใช่แค่เพียงทำกำไร     แต่ต้องมีส่วนคืนกำไรให้แก่สังคม    มีส่วนจรรโลงสังคมสู่สังคมที่ดีงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สังคมที่ไม่ยึดถือความโลภเป็นเจ้าเรือน

         จึงเป็นความท้าทายต่องาน CSR ที่จะต้องเข้าไปเชื่อมโยงกับเจ้าหน้าที่ของธนาคาร ที่ทำงานประจำง่วนอยู่กับการบริการลูกค้าในลักษณะที่ทำงานเชิงรุก (และบางครั้งก็อยู่ภายใต้แรงกดดัน)      ว่างาน CSR จะกลายเป็น CSR Inside งานบริการธนาคาร  และมีส่วนทำให้งานบริการลูกค้าประสบผลสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น ได้อย่างไร     ทำอย่างไรพนักงานของธนาคารจะมองกิจกรรม CSR เป็น value add ไม่ใช่ burden add ต่อความสำเร็จในงานหลัก หรืองานประจำของเขา

         ถ้าเราทำงาน CSR ในลักษณะ value add ได้สำเร็จ     ก็จะเป็นตัวอย่างแก่สังคมไทย ที่มีองค์กรธุรกิจ  สร้างโมเดล CSR ที่ช่วยส่งเสริมความเข้มแข็งของธุรกิจ      เป็นการเชื่อมผลประโยชน์เชิงธุรกิจกับผลประโยชน์เชิงสังคมเข้าด้วยกัน     และทำให้ ๒ ส่วนนี้ก่อผลสนธิพลัง (synergy) ต่อกันและกัน

วิจารณ์  พานิช

หมายเลขบันทึก: 71862เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2007 13:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 10:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
 

ตลาดนัดคุณธรรม



งานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติและตลาดนัดคุณธรรม ครั้งที่ ๒


วันศุกร์ที่ ๒๖-วันอาทิตย์ที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๐


ณ.ห้องเพลนารีฮอลล์ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์


ธรรมะหรือคุณธรรม ไม่ใช่เรื่องน่าเบื่ออย่างที่คิด

http://www.updiary.com/show_diary.php?usr=dday&dt=2007-01-11


A.I.ฉันคือปัญญาประดิษฐ์  



แน่ใจหรือว่าถ้าคอมพิวเตอร์ของคุณมี  Ram มาก CPU ประมวลผลเร็ว Display Card แรง Graphic สวย แล้วคอมพิวเตอร์ของคุณจะเจ๋งจริง?


http://www.updiary.com/show_diary.php?usr=dday&dt=2007-01-01


ยุทธการขอดเกล็ดมังกร



มังกรและพวกสัตว์ประหลาด สารพัดสัตว์เหล่านี้ มักจะปกปิดความชั่วของตนเอง ผู้คุมมังกรที่มีปัญญา(อ่อน) เห็นเพื่อนทำชั่ว ตนเองเลยอ้างว่าฉันอยากจะชั่วบ้าง

http://www.updiary.com/show_diary.php?usr=dday&dt=2006-12-30

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท