จุดเริ่มต้น KM คณะวิทยาศาสตร์


ให้ความสำคัญต่อกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนในหน่วยงาน เพราะเรามองว่า KM ที่แท้จริงเกิดจากเนื้องานที่ผ่านการสั่งสมประสบการณ์ภายในของบุคลากร

เริ่มต้นปี 2550 มีความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ หลายอย่างที่เกิดขึ้นในคณะวิทยาศาสตร์ สิ่งหนึ่งที่ผู้บริหารเริ่มสอดแทรกเข้าสู่วัฒนธรรมองค์กรทีละเล็กละน้อย นั่นคือ กระบวนการ KM 

        จริง ๆ แล้ว เราเริ่มกระบวนการนี้ มาตั้งแต่ปีที่แล้วในส่วนของสายสนับสนุน โดยผ่านกระบวนการพัฒนางาน เรามีการจัดเวทีมุ่งมั่นนวัตกรรม โดยให้คนในองค์กรได้นำสิ่งที่คิดค้นขึ้นใหม่ และเป็นประโยชน์แก่องค์กร  มาเล่าสู่กันฟัง มีการให้รางวัลเพื่อให้เกิดกำลังใจในการพัฒนาต่อไป

      ส่วนการนำกระบวนการ KM เข้าสู่สายวิชาการ เราเริ่มเมื่อปลายปีที่แล้ว   แต่ยังไม่ได้มีการตีฆ้องร้องป่าว ว่าคณะวิทย์เราเริ่มทำ KM  แล้วนะ  โดยในครั้งนั้น เราได้เรียนเชิญอาจารย์นักวิจัยในคณะฯ  มาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันถึงแนวทางในการกำหนดทิศทางงานวิจัยในอนาคตของคณะฯ โดยมีการสอดแทรกความรู้เรื่อง KM เพียงเล็กน้อย ซึ่งจากการพูดคุยแลกเปลี่ยนในวันนั้น ทำให้ผู้บริหารที่ดูแลงานวิจัย ได้รับโจทย์กลับไปมากมาย  บางเรื่องเป็นสิ่งที่คณะได้ตระหนักและวางแนวทางไว้ล่วงหน้าแล้ว บางเรื่องเป็นสิ่งใหม่ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนในวันนั้น หลายเรื่องผู้บริหารได้มีการเอามากำหนดเป็น action plan และ passion plan  หลายเรื่องอาจารย์ได้นำกลับไปถ่ายทอดต่อยังหน่วยงานของตนเอง 

     จากโจทย์ในครั้งนั้น ทำให้เราทราบว่าการที่คณะฯ จะเป็นส่วนหนึ่งในการทำให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นมหาวิทยาลัยเน้นวิจัยได้นั้น สิ่งหนึ่งที่สะท้อนในวันนั้น คือ  เราต้องมีกระบวนการให้อาจารย์ของเราส่งผลงานตีพิมพ์เพิ่มขึ้น แล้วเราจะทำอย่างไรให้อาจารย์เราสามารถไปถึงตรงนั้น

       จากโจทย์ที่ได้รับในวันนั้น ประกอบกับวันนี้  ท่านคณบดีและรองคณบดีฝ่ายบริหาร ที่ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในคณะวิทยาศาสตร์  เริ่มเห็นทิศทางชัดเจนยิ่งขึ้น ว่าในส่วนของการจัดการความรู้ของคณะวิทยาศาสตร์  เราจะเริ่มจากการให้คนในองค์กรได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันผ่านกระบวนการกลุ่มในเรื่องอะไรก็ได้ เพราะเรามองว่า KM ที่แท้จริงเกิดจากเนื้องานที่ผ่านการสั่งสมประสบการณ์ภายในของบุคลากร โดยคณะฯ จะมองโจทย์ปัญหาที่ส่งผลโดยตรงต่อภารกิจหลักของคณะฯ เช่น  วิจัย  พัฒนานักศึกษา  ประกันคุณภาพ  และพัฒนาบุคลากร ส่วนหัวข้ออื่น ๆ ที่จะใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คงให้เกิดจากกลุ่มคนหน้างานเป็นคนคิดขึ้นมาเอง ส่วนการให้ความรู้เราคงจับเฉพาะแกนนำที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้กระบวนการการจัดการความรู้สามารถไปต่อยอดในหน่วยงานของเขาได้
        โดยในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เราจะเริ่มกันเวทีแรกในปี 50 คือ "เวทีเล่าเรื่อง ประสบการณ์ในการส่งผลงานวิจัยตีพิมพ์"  โดยเราได้จัดเวทีให้นักวิจัยรุ่นใหม่และนักวิจัยที่มีประสบการณ์ในการส่งผลงานวิจัยตีพิมพ์ ได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยผ่านกระบวนการเล่าเรื่อง (Story Telling) ในบรรยากาศที่เป็นกันเอง ซึ่งเวทีนี้ จะจัดให้มีขึ้นในวันพุธที่ 17  มกราคม 2550 เวลา 08.30 - 14.30 น. ณ ห้องสัมมนา คณะวิทยาศาสตร์ โดยมีกำหนดการดังนี้  คลิก

ทั้งนี้  ผู้สนใจ สามารถแจ้งความจำนงค์ผ่านทางหน่วยงาน ในใบตอบรับที่แนบมาพร้อมนี้
  ขอเชิญชวนนักวิจัยทุกท่านร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการส่งผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ด้วยกันค่ะ

หมายเลขบันทึก: 71704เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2007 15:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • เวทีการเล่าเรื่องน่าสนใจและน่าติดตามครับ
  • ในที่สุดคณะวิทย์ก็ได้เริ่มต้นการใช้ KM ผลักดันงานวิจัย ให้ไปถึงจุดของการตีพิมพ์ เป็นที่น่าอิจฉาครับ ผมล่ะคนหนึ่งที่อิจฉาครับ
  • การผลักดันให้มีการสร้างสรรผลงานวิจัย เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ยากครับ พวกเรามักถนัดในการทำแล็บ แต่ทำแล็บเสร็จก็เสร็จกัน เราไม่ค่อยถนัดในการเขียนกันครับ
  • ทุกวันนี้กำลังลุ้น รุ่นพี่คนหนึ่งให้เขียนผลงานวิจัยอยู่ ผมจะมีความสุขมากหากวันไหนเห็นพี่คนนี้ เขานั่งเรียบเรียงบทความที่จะเขียน แต่ความที่พี่เขาค่อนข้างยุ่ง คงทำได้ไม่รวดเร็วอย่างที่ใจคิดนัก คนลุ้นก็ลุ้นจนสุดตัวครับ ยังไงก็คงไม่นานเกินรอครับ
  • ถัดจากการตีพิมพ์บทความวิชาการ มีเรื่องที่สามารถต่อยอดได้คือ การส่งผลงานเข้าประกวดรางวัลนวตกรรม เป็นอีกเรื่องที่ผมสนใจครับ แต่ความที่ขัดสนในเรื่องของเวลา เนื่องจากเปลี่ยนงานใหม่ และงานใหม่ยังไม่เรียบร้อย ผมคงต้องให้ความสำคัญกับงานประจำที่รับผิดชอบก่อน เมื่อเรียบร้อยเมื่อไหร่ คงได้มาจัดการเรื่องนวตกรรมครับ ยังไม่รู้ว่าจะทันหรือเปล่า มีกำหนดเวลาให้ส่งได้ก่อนเดือนเมษานี้ครับ ไม่อย่างนั้นต้องส่งรอบต่อไปในปีหน้า
  • ผมฝันอยากเห็นการทำงานวิจัยแบบเป็นเครือข่าย หรือมีเครือข่ายที่ช่วยเหลือกันในการปรึกษาเชิงเทคนิค แต่ไม่รู้ว่าฝันนี้จะเป็นจริงเมื่อไร ทุกวันนี้เมื่อมีปัญหา ก็ไม่รู้จะปรึกษาใคร ได้แต่ค้นหาคำตอบผ่านระบบอินเตอร์เน็ต และปรึกษาผู้รู้ที่อาจไม่ตรง field นัก หากเรามีเครือข่ายที่ครอบคลุมทุก field ก็น่าจะดีนะครับ ฝัน ครับ ฝัน....
แวะมาขอบคุณครับ ไหนว่าเปลี่ยนรูปใหม่ไงครับ ภาพนี้เห็นนานแล้วครับ น้องน่ารักมาก งานเวทีเล่าเรื่อง ประสบการณ์ในการส่งผลงานวิจัยตีพิมพ์" โดยจัดเวทีให้นักวิจัยรุ่นใหม่และนักวิจัยที่มีประสบการณ์ น่าสนใจมากครับ

คุณบอยคะ

  ขอบคุณค่ะที่แวะมาให้กำลังใจเสมอ  งานนี้เป็นงานใหม่ รับศักราชใหม่  อาจต้องขอคำชี้แนะจากคุณบอยบ้างนะคะ

คุณไมโตคะ

  • งานนี้จะได้ผล หรือไม่นั้น คงต้องขึ้นอยู่กับการเปิดใจของผู้ให้ และผู้รับ  ผนวกกับแรงเสริม แรงผลัก และแรงดัน จากทีมบริหาร 
  • ได้ผลอย่างไร จะนำมารายงานต่อนะคะ  ยินดีร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้คะ
  • เห็นรูปใหม่แล้ว
  • แต่งงๆว่าทำไมรูปในบันทึกรูปน้องฟ้า รูปความคิดเห็นเป็นรูปพี่สาวคนโต ยิ้ม ยิ้ม
มายินดีกับคณะวิทยาศาสตร์...เสือสุ้มนะคะ...กระโจนทีเดียวกัดกระหม่อมเลย......วันนี้ยินดีที่สุด...ที่จริงยินดีตั้งแต่เมื่อวานแล้ว...ตอนที่ท่าน CKO คนะวิทย์ฯ เล่าเรื่องโครงการพัฒนางานวิจัย...คณะวิทย์ ปีนี้...
ดีนะครับที่เป็นเสือสุ้มแบบพี่เมตตาว่า ไม่เป็นอย่างอื่น แวะมาขอบคุณครับผม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท