เป็นคำอธิบายฉบับสั้นรวบรัด ถึงการถือกำเนิดของ ‘คำ’ (sound form) และ ‘ความหมาย’ (meaning) ในภาษาออสโตร-ไท ในลักษณะของ “ความหมายที่เกิดจากการชักนำของเสียง” ซึ่งแตกต่างจากแนวคิดของสำนัก ‘arbitrary’ อันเป็นข้อสังเกตที่สรุปวิเคราะห์จากรูปแบบรากคำพยางค์เดียวของภาษาออสโตร-ไทจำนวนกว่า 40 (กลุ่ม) รากคำ เท่าที่ได้จัดจำแนกถึงล่าสุด โดยพบว่ามีความพัวพันกันสูงยิ่ง ที่มากไปกว่าความบังเอิญ ระหว่างความรู้สึกในเสียงที่เปล่งออกมากับความหมายหมายที่ก่อตัวขึ้น เน้นลงไปยังอิทธิพลของเสียงสระ ตามด้วยแม่สะกด มากกว่าเสียงพยัญชนะเริ่มต้น
เสียงสระ (vowel) ประกอบด้วย 3 เสียงสระพื้นฐาน ดังนี้
เมื่อออกเสียง *-i- /-อี-/ ให้ความรู้สึกว่า ‘คับแคบบีบคั้นตีบตัน’ (tight) สะท้อนถึงการไม่มีพื้นผิว หรือดำรงอยู่ในสถานะแห่งมิติที่หนึ่ง
เสียง *-a- /-อา-/ ให้ความรู้สึกว่า ‘เปิดโล่งกว้างออกไป’ (wide) สะท้อนถึงการมีเฉพาะพื้นที่พื้นผิว หากขาดซึ่งความลึก หรือดำรงอยู่ในสถานะแห่งมิติที่สอง
เสียง *-u- /-อู-/ ให้ความรู้สึกว่า ‘ลึกล้ำลุ่มดำ’ (deep) สะท้อนถึงการมีเนื้อที่มีตัวตน หรือดำรงอยู่ในสถานะแห่งมิติที่สาม
เสียงแม่สะกด (final consonance) ประกอบด้วย 8 แม่สะกดพื้นฐาน ดังนี้
กลุ่มเสียงกักกัน (detain) 3 เสียงคือ *-p, *-t และ *-k
เสียง *-p /-บ/ แม่กบ ให้ความรู้สึกว่า ‘หุบปิดตัวลง’ (shut)
เสียง *-t /-ด/ แม่กด ให้ความรู้สึกว่า ‘ขยับตัวช่วงสั้น’ (short)
เสียง *-k /-ก/ แม่กก ให้ความรู้สึกว่า ‘หยุดตัวในทันที’ (stop)
กลุ่มเสียงปลดปล่อย (release) 3 เสียงคือ *-m, *-n และ *-ŋ
เสียง *-m /-ม/ แม่กม ให้ความรู้สึกว่า ‘วนเวียนไปมา’ (circle)
เสียง *-n /-น/ แม่กน ให้ความรู้สึกว่า ‘ขยับตัวช่วงยาว’ (long)
เสียง *-ŋ /-ง/ แม่กง ให้ความรู้สึกว่า ‘ยืดตัวเยิ่นเยื้อ’ (extend)
นอกจากนี้ยังมีเสียง *-w /-ว/ แม่เกอว ให้ความรู้สึกว่า ‘รวมตัวเข้าด้วยกัน’ (bound together)
และเสียง *-y /-ย/ แม่เกย ให้ความรู้สึกว่า ‘แผ่ตัวแบนบี้’ (flatten)
จัดกลุ่มความรู้สึกในการเปล่งเสียงที่พัวพันกับรากคำพยางค์เดียวได้ 3 กลุ่ม ตามเสียงสระ ดังนี้
กลุ่มเสียง *-i- ‘คับแคบบีบคั้นตีบตัน’ (tighten something) ได้แก่
*ri, *li (*Ri) แสดงความหมายของการริปริผลิเผยตัว (sprout, expose)
*rip, *lip กะพริบยิบยับ (blink)
*-ip จีบคีบหนีบบีบตีบตัว (press)
*bit, *pit (*pis/*bid/*pid) บีบบิดเกลียว (press, squeeze together)
กลุ่มเสียง *-a- ‘เปิดโล่งกว้างออกไป’ (widen something) ได้แก่
*ŋa เปิดง่าอ้าออก (gape, open)
*ba บ่าแบกรับภาระ (burden, carry)
*wa แผ่กว้างออกไป (spread over)
*lap ลับแลบวาบวูบ (flash)
*bat, *pat (*bas/*pad/*paD/*pas) ปัดปาดเฉียดเฉียบ (slim, slide off)
*bak, *pak หยุดพักความต่อเนื่อง (split, break)
*rak, *lak แหกแยกตัว (separation)
*kam, *gam (*kəm/*gəm/*gem) กำเข้าด้วยกัน (fist)
*jam ย่ำย้ำ (tread)
*ran, *lan พื้นที่แถบแล่นยาว (strip)
*baŋ โล่งบางแบน (broad, flat)
*raŋ, *laŋ ท่ามกลาง (in the middle of nowhere)
*waŋ เวิ้งว้างกว้างขวาง (open-wide space)
*taw (*Caw) โอบอุ้มเต้าเข้าไว้ (buoy)
*raw ขัดเกลาเหลาขึ้นรูป (scrub)
*law แหล่งรวมเหง้าเหล่า (source)
*tay (*Cay/*Tay) ทอดตัวเดียวดาย (bridge, hang)
*bay, *pay สะพายเคียงข้าง (be aside)
*ray, *lay สานลายกันไปมา (braid)
*way ไหว้ไหวไสว (wave, dance)
กลุ่มเสียง *-u- ‘ลึกล้ำลุ่มดำ’ (deepen something) ได้แก่
*ɟu (*zu) จู่โจมออกไป (go forward)
*bu ผุดโผล่เลื่อนตัวขึ้น (rise up)
*pu ผุดโผล่พุตัวขึ้น (rise up)
*lu ลุล่วง (pass through)
*jut (*ñut) ยืดยุดหยุ่นเข้าออก (elastic)
*rut, *lut (*rud/*rus/*Rud/*lud/*lus) รูดลอดสอดครูด (slip, slide off)
*nuk โหนกหนอกนูน (protrude)
*luk ถกถอกและปอกลอก (peel off, bend down)
*num (*nam/*Num) น้ำและสิ่งพัวพัน (water and its properties)
*rum (*ram) ร่มเงาครอบงำ (stay still, shadow)
*lum (*lam/*lem) ลุ่มล้ำหล่มล่ม (inside, darkness)
*bun, *pun พูนโพน (heap, pile up)
*duŋ, *tuŋ แม่ดั้งผู้ปกป้อง (shelter)
*buŋ บุงมุงหลังคา (container)
*puŋ ปุงพุงโป่งพอง (belly, bunch)
*ruŋ, *luŋ รุงรังโอบล้อม (bend, curve)
จึงขอเสนอไว้เพื่อเป็นข้อถกเถียง ณ นาทีนี้
สุพัฒน์ เจริญสรรพพืช
จันทบุรี 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
Yes! Let’s see ‘language’ in ‘emotional memes’ light and apply what we learn to ‘generational language’ of today ;-)
My observation on positions of vowels ‘appear’ to correlate to voicing instruments eg. sara -ุ -ู come from the throat or ‘below’, -ิ -ี come from the top of the palate, …
Try! Before you buy ;-)