ข่าวสารใกล้ตัวน่ารู้


หัวใจควรเก็บรักษา..ให้แข็งแรง
มีข่าวสารเกร็ดความรู้น่าสนใจสำหรับคุณและคนที่คุณรัก...รู้ไว้เพื่อปกป้องและหลีกเลี่ยงจากภัยใกล้ตัว....

 โรคหัวใจ 

 ในควันบุหรี่ ประกอบด้วย สารนิโคตีน แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ และสารพิษอื่น ๆ สารเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อหัวใจและหลอดเลือดได้ 3 แห่ง คือ 

1. หัวใจ    บุหรี่สามารถกระตุ้นทำให้หัวใจเต้นแรง เต้นเร็ว ทำให้หัวใจทำงานหนักมากกว่าธรรมดาถ้าผู้สูบบุหรี่มีโรคหัวใจอยู่แล้ว ก็อาจจะทำให้อาการของโรคหัวใจนั้นกำเริบได้อย่างมาก 

2. หลอดเลือด  บุหรี่ทำให้ผนังหลอดเลือดแข็งตัว รูของหลอดเลือดมักจะตีบแคบลง จนกระทั่งอุดตัน ซึ่งจะทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ถ้ามีการตีบหรือตันที่หลอดเลือดขั้วหัวใจ ทำให้เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ซึ่งมีอันตรายสูงสุดส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคนี้มักจะตาย 

 ถ้าเป็นที่หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณสมองจะเกิดโรคอัมพาต 

 ถ้าเป็นที่หลอดเลือดตามแขนขา ทำให้แขนขาเน่า อาจถึงแก่ชีวิตได้

 ผู้สูบบุหรี่ที่มีอายุน้อยระหว่าง 30-50 ปี ถ้าสูบมาก ๆ ร่วมกับอาการเครียด จะทำให้หลอดเลือดหดเกร็งและตันทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้ 

3. เลือดที่ไหลเวียนในเส้นเลือด บุหรี่จะทำให้ไขมันในเลือดสูงขึ้น เช่น โคลเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอร์ไรด์ เกล็ดเลือดที่อยู่ในกระแสเลือด อาจทำหน้าที่ผิดปกติ ทำให้มีการหนืดในเลือด ทำให้เลือดมีการแข็งตัวง่าย ทำให้มีการอุดตันหลอดเลือดได้    

  ส่วนแกสคาร์บอนมอนอกไซด์ก็จะเข้าไปปะปนอยู่เลือดเลือด แย่งที่อ๊อกซิเจนในเลือด ทำให้เซลล์ทั่วร่างกายขาดอ๊อกซิเจน 

 คนที่สูบบุหรี่ทุกคนไม่จำเป็นจะต้องเป็นโรคหัวใจ แต่คนที่ไม่สูบบุหรี่ก็อาจจะเป็นโรคหัวใจได้ 

 แต่ตามสถิติ พบว่า ผู้ที่สูบบุหรี่ มีโอกาสสูงที่จะเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน 2-3 เท่าของคนที่ไม่สูบบุหรี่

  แต่ถ้าสูบบุหรี่ด้วย ไขมันในเลือดสูงด้วย ความดันโลหิตสูง มีความเครียด อัตราความเสี่ยงที่จะเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเพิ่มขึ้นมาก หลายสิบเท่า

  ความรุนแรงของโรคจะมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่อัตราตายมีมากกว่า

  ผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายแล้ว ควรหยุดสูบบุหรี่ เพราะถ้ายังสูบบุหรี่ต่อไป อาการจะกำเริบมากขึ้น อาการเจ็บเค้นหน้าอกจะเกิดขึ้นบ่อย การใช้ยารักษาโรคหัวใจนั้นอาจจะไม่ค่อยได้ผล เพราะสารบางอย่างในบุหรี่อาจไปต้านฤทธิ์ของยาที่ใช้รักษาโรคหัวใจ มีโอกาสเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายครั้งที่ 2 ที่ 3 ได้ถี่ขึ้นกว่าเดิม มักจะมีโอกาสตายกระทันหันได้โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน

  ผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายแล้ว และสามารถหยุดการสูบบุหรี่ได้ โอกาสที่จะเกิดโรคซ้ำมีน้อยลงอัตราตายน้อยลง ความรุนแรงของโรคน้อยลง การเลิกสูบบุหรี่ได้เป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย และดีกว่าการใช้ยา  

คำสำคัญ (Tags): #รู้ไว้ใช่ว่า....
หมายเลขบันทึก: 71494เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2007 21:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท