Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

การส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยการสวดมนต์พระคาถามหาจักรพรรดิ


นะโมพุทธายะ พระพุทธะ ไตรรัตนะญาณ มณีนพรัตน์ สีสะหัสสะ สุธรรมา พุทโธ ธัมโม สังโฆ ยะธาพุทโมนะ พุทธะบูชา ธัมมะบูชา สังฆะบูชา อัคคีทานัง วะรังคันธัง สีวลี จะมหาเถรัง อะหังวันทามิ ทูระโต อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ สัพพะโส พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยการสวดมนต์พระคาถามหาจักรพรรดิ ศึกษาด้วยวิธีสังเคราะห์งานวิจัยและวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า 

1. การสวดมนต์ช่วยส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ดังนี้ 1. อายุยืน 2. แก่ช้า 3. โรคน้อย 4. ตายตามอายุขัย 5. รวย 6. ไปเกิดใหม่ตามใจ ดังนั้น ควรสนับสนุนการประชาสัมพันธ์การสวดมนต์พระคาถามหาจักรพรรดิ เพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุเพราะเป็นบทสวดสั้นๆ มีอานุภาพมาก จำง่าย สวดได้ง่ายและสวดมนต์วนไปเรื่อยๆ ผู้สูงอายุสามารถสวดมนต์ได้ทุกที่ ทุกเวลาตามความสะดวก ซึ่งผู้สูงอายุสามารถนั่งหรือนอนเพื่อสวดมนต์ได้ตามความต้องการจึงเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ

2. แนวทางการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยการสวดมนต์พระคาถามหาจักรพรรดิ ได้แก่ 1. สร้างกระแส ก่อเกิดศรัทธา 2. เสริมความรู้ ก่อเกิดปัญญา 3. สานเครือข่าย ก่อเกิดพลังทางสังคม 4. ใช้สื่อสมัยใหม่ ก่อเกิดประสิทธิภาพ

3. หน่วยงานราชการตามการปกครองส่วนท้องถิ่น อาทิเช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควรจัดกิจกรรมสวดมนต์บทพระคาถามหาจักรพรรดิ เพื่อการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยการสวดมนต์ 

 

คำสำคัญ:  การส่งเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, การสวดมนต์, คาถามหาจักรพรรดิ

 

 

Health promotion among the elderly by chanting the incantation for the emperor

 

Praepattra Kiaochaoum

Faculty of Humanities and Social Sciences, Nakhonpathom Rajabhat University

Corresponding author: [email protected]

 

Abstract

This academic article aims to study the Health promotion of the elderly by chanting the incantation for the emperor. study by means of research synthesis and content analysis 

The results of the study found that

1. Chanting helps promote the health of the elderly as follows: 1. Longevity 2. Slow aging 3. Less disease 4. Die according to age 5. Rich 6. Be reborn as you wish. Supporting the public relations of chanting the incantations for the emperor to promote the health of the elderly because it is a short chant, very powerful, easy to remember, easy to chant and repeat continuously. Elders can pray anytime and anywhere at their convenience. In which the elderly can sit or lie down to pray as needed, so it is suitable for the elderly.

2. Guidelines for Health promotion of the elderly by chanting the incantation for the emperor incantation, including 1. Generating currents, generating faith 2. Enhance knowledge, generating wisdom 3. Building networks, generating social power 4. Using modern media creates efficiency.

3. Government agencies according to local government such as provincial administrative organizations Subdistrict Administrative Organizations and Subdistrict Health Promotion Hospitals should organize chanting activities to health promotion of the elderly by chanting.

 

Keywords: health promotion, the elderly, chanting, the emperor's spell

บทนำ

            รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565 พบว่า ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หลังจากเมื่อสามปีก่อนนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี  โดยประชากรผู้สูงอายุในปี 2565 นั้นมีมากถึง 12,116,199 คน คิดเป็น 18.3% ของประชากรทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 0.5% แบ่งเป็น “ผู้สูงอายุวัยต้น” ช่วงอายุ 60-69 ปี จำนวน 6,843,300 คน คิดเป็น 56.5% ของผู้สูงอายุทั้งหมด “ผู้สูงอายุวัยกลาง” ช่วงอายุ 70-79 ปี มีจำนวน 3,522,778 คน คิดเป็น 29.1% และ“ผู้สูงอายุวัยปลาย” อายุ 80 ปีขึ้นไป จำนวน 1,750,121 คน คิดเป็น 14.4% [1] ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มประชากรที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุต้องประสบกับปัญหาต่างๆ มากมาย ทั้งทางด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต ปัญหาทางด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ปัญหาที่อยู่อาศัย เป็นต้น ปัญหาดังกล่าวนอกจากกระทบต่อผู้สูงอายุโดยตรงแล้ว ยังส่งผลกระทบไปถึงชุมชนและสังคม ในภาพรวมที่ต้องให้การดูแลและให้สวัสดิการผู้สูงอายุในด้านต่างๆ 

การที่ผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือผู้สูงอายุควรมีวิถีการดำเนินชีวิตอย่างไร ทั้งนี้เพราะสูงวัยขึ้น พัฒนาการทางด้านร่างกายโดยทั่วไปจะมีลักษณะเสื่อมถอย ทั้งที่เห็นได้ชัดเจนและไม่ค่อยชัดเจน คุณภาพการทำงานของสมองก็จะเสื่อมลง จดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ยากขึ้น  การดูแลสุขภาพสูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างสิ่งที่ผู้สูงอายุควรได้รับ พร้อมกันนี้ พระพุทธศาสนามีแนวคิดที่สอดคล้องกับแนวทางการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุแบบองค์รวมได้อย่างเหมาะสม ซึ่งในระยะหลัง บรรดาโรคภัยไข้เจ็บจำนวนร้อยแปดพันเก้านั้นดูเหมือนว่าจะเพิ่มประเภทของโรคเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น ยิ่งอายุมากขึ้นโรคก็จะเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว เพราะคนสูงอายุนั้น เมื่อร่างกายเสื่อมลงความต้านทานโรคก็ลดน้อยลงตามไปด้วย โรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดกับอวัยวะต่างๆของร่างกายก็จะรุนแรงมากขึ้น การซ่อมแซมหรือฟื้นฟูหรือจะเปลี่ยนอวัยวะต่างๆทำได้ยากขึ้นและค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาก็แพงขึ้นตามเทคโนโลยีที่ทันสมัย [2] 

ปัจจุบันปัญหาด้านการดูแลสุขภาวะของผู้สูงอายุในสังคมไทย สรุปได้ 4 ด้าน คือ 1.ด้านกาย ผู้สูงอายุมีการหกล้ม นอนไม่หลับ การเคลื่อนไหวลำบาก โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไม่รู้วิธีการออกกำลังกาย 2.ด้านอารมณ์ ผู้สูงอายุ มีอาการวิตกกังวล เป็นห่วงลูกหลาน ภาวะซึมเศร้า มีความเครียด คิดมาก น้อยใจ รู้สึกเหงา 3.ด้านสังคม ผู้สูงอายุเก็บตัว ไม่ชอบเข้าสังคม พบปะเพื่อนน้อยลง เดินทางไปไหนไกลไม่ได้ อยู่บ้านคนเดียว ตนเองไม่มีประโยชน์ หมดคุณค่า 4.ด้านปัญญา ผู้สูงอายุ มีความจำเสื่อม หลงลืม ไม่มีโอกาสได้รับความรู้ ไม่มีการวางแผนอนาคตของชีวิตหลังเกษียณ [3] 

การส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ เป็นการส่งเสริมสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย ทางสังคม ทางอารมณ์ แสะทางสติปัญญา สุขภาวะทางกาย เป็นการพัฒนากาย แสะการพัฒนาร่างกายให้รู้จักติดต่อเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดส้อมทางกายภาพทั้งหลาย ในทางเป็นคุณประโยชน์เกื้อกูล ไม่เกิดโทษ รู้จักบริโภคปัจจัยสี่ให้มีคุณค่าสูงสุด สุขภาวะทางสังคมผู้สูงอายุ เป็นความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น อันได้แก่ สมาชิกในครอบครัว เพื่อนฝูง เพื่อนร่วมงานและเพื่อนบ้าน ทั้งนี้มีการแสดงให้เห็นว่า การสนับสนุนของสังคม มีส่วนสำคัญในการช่วยให้ร่างกาย สามารถฟื้นตัวจากโรคภัยไข้เจ็บได้เร็วขึ้น สุขภาวะทางอารมณ์ เป็นสภาวะทางด้านจิตใจของบุคคล ซึ่งมีผลมาจากปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดในชีวิต และวิธีการตอบสนองของบุคคลนั้น ต่อปัจจัยดังกล่าว รวมทั้งความสามารถ และโอกาสในการใช้เวลาส่วนตัว เพื่อความเพลิดเพลินและผ่อนคลายความเครียดและสุขภาวะทางปัญญา เป็นความเชื่อความรู้ความเห็นความเข้าใจชีวิตและโลกอย่างถูกต้องตามความเป็นจริงสามารถอยู่กับความเป็นจริงของโลกและชีวิตได้อย่างปกติสุข [4] 

การสวดมนต์ในภาษาอังกฤษตรงกับคำว่า chanting หมายถึง การเปล่งเสียงในพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อบูชาหรือสรรเสริญสิ่งศักดิ์สิทธิ์  เวลาที่เราสวดมนต์จะรู้สึกผ่อนคลาย สงบ มีสมาธิ เพราะใจจดจ่ออยู่กับบทสวดซึ่งมักจะเป็นคำที่มีความหมายดีๆ เป็นคำสอนที่ให้ข้อคิดกับชีวิตหรือก่อให้เกิดความศรัทธาในศาสนา เป็นการน้อมนำจิตใจให้ยึดเหนี่ยวกับสิ่งที่เป็นมงคล การสวดมนต์และการฟังบทสวดมนต์ เพราะเป็นวิธีการทำให้ร่างกายผ่อนคลาย ซึ่งการท่องจำบทสวดมนต์ และการฟังบทสวดมนต์นั้น เป็นกุศโลบายในการทำให้จิตใจเกิดสมาธิและมีสติ คือมีที่ตั้ง มีที่ยึดเกาะ ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวอย่างต่อเนื่อง ใจจะหยุดนิ่งแน่วแน่ ไม่ซัดส่ายไปมา เป็นอาการที่ใจสงบรวมกันเป็นหนึ่ง และเมื่อทำบ่อยๆ สม่ำเสมอ จะมีผลทำให้จิตใจเกิดความสงบและสามารถผ่อนคลาย ความวิตกกังวลลงได้ [5] การสวดมนต์เป็นพิธีกรรมที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการป้องกัน รักษาให้บุคคลพ้นจากภยันตรายและให้ประสบความสำเร็จ มีความดีงามในชีวิต [6] ดังนั้น การสวดมนต์จึงมักจะถูกนำมาใช้ในการเยียวยาผู้ป่วยด้วย ไม่ว่าจะให้ผู้ป่วยสวดมนต์เอง หรือจะสวดให้ผู้ป่วยฟัง ซึ่งส่วนใหญ่มักจะสวดออกเสียงดังๆ ให้ได้ยินกันชัดๆ เพื่อช่วยให้เกิดสมาธิได้ดี เมื่อมีสมาธิจิตใจก็สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน ลดความกลัว ความวิตกกังวลต่างๆ ช่วยให้มีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรคร้ายที่รุมเร้าได้หรือแม้แต่ผู้ป่วยระยะสุดท้าย การได้ยินเสียงสวดมนต์ในขณะที่กำลังจะสิ้นใจ อาจช่วยให้ตายสงบและนำจิตไปสู่ภพภูมิที่ดีได้ [7]

ศูนย์การแพทย์ผสมผสานและการแพทย์ทางเลือกแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาได้ทำการสำรวจในประชากร 31,000 คน พบว่า ร้อยละ 36 มีการใช้วิธีการทางการแพทย์ผสมผสานและการแพทย์ทางเลือกในการดูแลสุขภาพของตนเอง และร้อยละ 62 ใช้การสวดมนต์บำบัดและในจำนวนนี้ ร้อยละ 43 สวดมนต์เพื่อสุขภาพของตนเองร้อยละ 24 สวดมนต์ให้ผู้อื่น ร้อยละ 10 สวดมนต์เป็นกลุ่มเพื่อให้บุคคลที่ตนมุ่งหวังให้หายจากโรคที่ประสบอยู่  เช่นเดียวกับการศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์วาด พบว่า หนึ่งในสามของผู้ป่วยใช้การสวดมนต์ร่วมกับการรักษาความเจ็บป่วยของแพทย์ในจำนวนนี้ ร้อยละ 15 สวดมนต์เพื่อให้หายจากโรค ร้อยละ 74 ใช้การสวดมนต์เพื่อให้มีสุขภาพดี ร้อยละ 22 สวดมนต์เพื่อให้เกิดผลจำเพาะเจาะจงในโรคกลุ่มนั้นๆ และในจำนวนผู้ใช้การสวดมนต์นี้ร้อยละ 70 กล่าวว่า การสวดมนต์มีประโยชน์ในการบำบัดได้มาก [8] 

การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเป็นกระบวนการเพิ่มความสามารถของผู้สูงอายุในการควบคุมดูแล และพัฒนาสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้น ส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และจากข้อมูลเกี่ยวกับการสวดมนต์ที่เป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งสามารถสร้างเสริมสุขภาพได้ เพราะทำให้ผู้สวดมีจิตใจที่สงบ เป็นการพัฒนาจิตใจของมนุษย์ อีกทั้งส่งเสริมด้านคุณธรรมจริยธรรมอันเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ด้วย ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยการสวดมนต์พระคาถามหาจักรพรรดิ ซึ่งการสวดมนต์พระคาถามหาจักรพรรดินั้นเป็นแนวทางหนึ่งที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน การศึกษาในครั้งนี้จึงมุ่งค้นหาทั้งในมิติความเชื่อความศรัทธาและคุณค่าเชิงลึกของการสวดมนต์ รวมทั้งแนวทางส่งเสริมการสวดพระคาถามหาจักรพรรดิเพื่อการเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยเน้นคุณค่าที่หลากหลาย เช่น ช่วยลดความวิตกกังวล ช่วยลดความเครียด ลดภาวะซึมเศร้า เสริมสร้างสติ สร้างความสุข ความสบายใจ และส่งเสริมสังคมสันติสุข  อันจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการและการวางแผนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยการใช้แนวคิดทางพระพระพุทธศาสนามาเป็นส่วนสำคัญ โดยเฉพาะการหาแนวทางการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุทั้งร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ อันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความสามารถในการดำเนินชีวิตต่อไปอย่างมีความสุขตามศักยภาพอย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี และมีคุณภาพชีวิตที่ดี  ที่สำคัญองค์ความรู้ที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมและโครงการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน รวมทั้งจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ การวางแผนเพื่อพัฒนาสุขภาวะของผู้สูงอายุไทยที่ยั่งยืนต่อไป

 

ประโยชน์ของการสวดมนต์ด้วยพระคาถามหาจักรพรรดิสำหรับผู้สูงอายุ

 

จากการศึกษาธรรมเทศนาและธรรมบรรยายของพระวรงคต วิริยะธโร (หลวงตาม้า) จากเพจตามรอยวิริยธโร หลวงตาม้า [27] ระหว่างปี พ.ศ. 2565-2566 สรุปได้ว่า อานิสงส์หรือผลลัพธ์ของการสวดมนต์เป็นประจำจะส่งผลดีต่อผู้สวดมนต์ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุนั้น การสวดมนต์จะส่งเสริมสุขภาพ ทำให้ผู้สวดมนต์มีสุขภาพแข็งแรงทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ดังนี้ 

1. อายุยืน หมายถึง คลื่นพลังงานของบทสวดจะไปปรับสมดุลธาตุในร่างกาย ช่วยขับล้างพลังงานที่ไม่ดีออกจากร่างกาย ทำให้คลื่นที่ไม่ดีไม่สามารถส่งผลเต็มร้อย ทำให้ผู้สวดมนต์เจ็บป่วยน้อยลง ผิวพรรณผ่องใส มีสง่าราศีขึ้น นอกจากนั้น มีความเชื่อว่า เจ้ากรรมนายเวรอโหสิกรรมให้เพราะผู้สวดมนต์แผ่บุญไปให้ทุกครั้งที่สวดมนต์

2. แก่ช้า หมายถึง คลื่นพลังงานของบทสวดจะไปปรับธาตุ ขับล้างพลังงานที่ไม่ดีออกจากร่างกาย คลื่นที่ไม่ดีไม่สามารถส่งผลเต็มร้อย ทำให้ผู้สวดมนต์เจ็บป่วยน้อยลง ผิวพรรณผ่องใส มีสง่าราศีขึ้น 

3. โรคน้อย หมายถึง คลื่นพลังงานของบทสวดจะไปปรับธาตุต่างๆในร่างกายให้มีความสมดุล ช่วยขับล้างพลังงานที่ไม่ดีออกจากร่างกาย คลื่นที่ไม่ดีจึงไม่สามารถส่งผลเต็มร้อย ทำให้ผู้สวดมนต์เจ็บป่วยน้อยลง ผิวพรรณผ่องใส มีสง่าราศีขึ้น 

4. ตายตามอายุขัย หมายถึง คลื่นพลังงานที่ไม่ดีหรือกรรมที่ไม่ดีไม่สามารถมาตัดรอนทำร้ายผู้สวดมนต์ได้ เพราะพุทธมนต์รักษา บุญรักษา ภพภูมิต่างๆรักษาคุ้มครองจนกว่าผู้สวดมนต์จะหมดอายุขัยในภพภูมิมนุษย์

5. รวย หมายถึง คลื่นพลังงานของบทสวดจะไปดึงผลบุญแห่งการที่ผู้สวดมนต์เคยทำบุญ ทำทานมาในอดีตให้เกิดโชคลาภในปัจจุบัน และช่วยไปดึงคนที่เกี่ยวข้องกับผู้สวดมนต์มาซื้อสินค้าและบริการของผู้สวดมนต์ ทำให้ธุรกิจการค้าของผู้สวดมนต์ ขายของดี เห็นผลกำไร ที่สำคัญบทสวดจะทำให้ผู้สวดมนต์คิดออกว่า ทำอย่างไรให้ผู้สวดมนต์มีรายได้มากขึ้นและค้าขายดีขึ้น มีโชคลาภมากขึ้น เป็นต้น

6. ไปเกิดใหม่ตามใจ หมายถึง จิตสุดท้ายของผู้สวดมนต์ก่อนตายอยู่กับคำสวดมนต์ เมื่อตายแล้วจิตก็จะออกจากร่างไปตามคลื่นพุทธมนต์ไปเกิดเป็นมนุษย์ เทวดาหรือพรหมหรือเรียกว่า “เวียนบน” สามารถเลือกเกิดได้หรือเรียกว่า “ไปตามใจ ไม่ได้ไปตามกรรม” ช่วยให้รอดจากการเป็นวิญญาณสัมภเวสี เป็นวิญญาณที่เวียนว่ายทุกข์ทนบนโลกมนุษย์อีกหลายร้อย หลายพันปี

 

หัวใจสำคัญในการสวดมนต์ให้เกิดพลังฤทธานุภาพในการรักษาสุขภาพหรือทำให้เกิดสุขภาวะที่สมบูรณ์ ทั้งทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางปัญญา ตามหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนามี 5 ประการเรียกว่า พละ 5 คือ (1) ผู้สวดต้องมีความศรัทธา มีความเชื่อมั่นในอานุภาพของบทสวด เชื่อมั่นว่าการสวดมนต์เป็นการทำความดี และความดีจักคุ้มครองตนให้ปลอดภัย (2) วิริยะ มีความเพียรสวดมนต์อย่างต่อเนื่อง โดยเป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที ทำให้ผู้สวดเกิดความสงบ ผ่อนคลายจากความเครียดและความวิตกกังวล เมื่อจิตใจสงบผ่อนคลายจะส่งผลให้สมองมีการสังเคราะห์สารเอนดอร์ฟิน (endorphin) ซึ่งจะลดการสร้างสารสื่อประสาทที่มีผลกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเทติคให้ทำงานน้อยลง มีผลต่อความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง (3) สติ ขณะสวดมนต์ผู้สวดต้องสำรวมกาย สำรวมใจ ให้มีสติจดจ่ออยู่กับสวด ไม่ปล่อยใจลอยคิดฟุ้งซ่าน ทำให้จิตเป็นอิสระจากความเจ็บป่วย (4) สมาธิ หากผู้สวดสามารถรักษาสติให้จดจ่ออยู่กับบทสวดมนต์ได้อย่างต่อเนื่อง ไม่วอกแวกออกไปคิดเรื่องอื่นเป็นการเจริญสติจนเกิดสมาธิ เกิดความรู้สึกสดชื่น เบาสบาย และ (5) ปัญญา ในภาวะที่จิตเป็นสมาธิจะทำให้บุคคลรู้ตัวตามความเป็นจริง หยุดคิดหรือจินตนาการเรื่องความเจ็บป่วยในเชิงลบ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความทุกข์และความวิตกกังวลและหากผู้สวดมีการพิจารณาหลักคำสอนให้เข้าใจหลักธรรม จะทำให้ผู้ป่วยเข้าใจชีวิตตามสภาพความเป็นจริง  สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและการแสวงหาวิธีการดูแลรักษาสุขภาพที่เหมาะสมกับตนเองได้ดี [29]

จากการศึกษาอานุภาพของการสวดมนต์ในงานวิจัยต่างๆพบว่า ผลจากการสวดมนต์สอดคล้องกับเป้าหมายและผลของการสวดมนต์ตามแนวคิดหรือองค์ความรู้ทางวิชาการด้านสาธารณสุข รวมถึงด้านการแพทย์ที่ได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นเครื่องช่วยในการรับรองความเชื่อเรื่องการสวดมนต์ด้วยองค์ความรู้ทางวิชาการและวิทยาศาสตร์ อันจะส่งเสริมศรัทธาหรือความเชื่อมั่นในการปฏิบัติและส่งผลดีต่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แนวทางการสวดมนต์เพื่อส่งเสริมสุขภาพให้กับกลุ่มผู้สูงอายุในประเทศไทยให้แพร่กระจายไปสู่สังคมมากยิ่งขึ้นต่อไป

 

แนวทางการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยการสวดมนต์พระคาถามหาจักรพรรดิ

การสวดมนต์ด้วยพระคาถามหาจักรพรรดิกำลังเป็นที่นิยมในสังคมไทยในปัจจุบัน การส่งเสริมการสวดมนต์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในสังคมไทยเพื่อบูรณาการกับแนวทางการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในสังคมไทย ทั้งนี้ หากจะมีการต่อยอดหรือขยายผลแนวทางปฏิบัตินี้สู่สังคมมากยิ่งขึ้น จำเป็นจะต้องอาศัยวัดหรือสถานปฏิบัติธรรมต่าง ๆ มาช่วยกันส่งเสริมต่อไป ซึ่งจากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า หลายวัดในประเทศไทยมีการเตรียมความพร้อมและส่งเสริมสุขภาวะครบทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาวะทางกาย มีการออกกาลังกาย การป้องกันและรักษาสุขภาพ การตรวจเช็คสุขภาพร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ด้านสุขภาวะทางจิตใจ มีการปรับเปลี่ยนสภาพจิตใจให้มีการยอมรับ มีความเชื่อในความสามารถของตนเอง เปิดใจกว้างที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มองโลกในแง่ดี และมีความหวัง ด้านสุขภาวะทางสังคม ให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่ายังมีประโยชน์และคุณค่า เป็นที่ต้องการและยอมรับของสังคม มีการผูกมิตรหรือเข้ากับคนอื่นได้ และแบ่งปันสิ่งของหรือความรู้ที่ได้รับให้แก่ผู้อื่นเสมอ และด้านสุขภาวะทางปัญญา มี “ปัญญาบำบัด” เป็นการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุและมีการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน เสริมสร้างความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุตามหลักพระพุทธศาสนา มีการให้ทาน รักษาศีล การเจริญสติภาวนา การแผ่เมตตา และการสวดมนต์ ผู้เขียนขอเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยการสวดมนต์พระคาถามหาจักรพรรดิดังนี้

1. สร้างกระแส ก่อเกิดศรัทธา ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้เกี่ยวกับคุณค่าของการสวดมนต์ต่อการสร้างเสริมสุขภาพสุขภาพ เช่น การประชาสัมพันธ์เพจตามรอยวิริยธโร หลวงตาม้าและเพจวัดถ้ำมืองนะ หลวงปู่ดู่ หลวงตาม้า เพื่อรับรู้คุณค่าของการสวดมนต์

2. เสริมความรู้ ก่อเกิดปัญญา สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการสวดมนต์พระคาถามหาจักรพรรดิ ได้แก่ การฟังธรรมเทศนาและธรรมบรรยายของหลวงตาม้า จากเพจตามรอยวิริยธโร หลวงตาม้า เพื่อเพิ่มความรู้วิธีการสวดมนต์ต่อการสร้างเสริมสุขภาพสุขภาพ

3. สานเครือข่าย ก่อเกิดพลังทางสังคม สร้างเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานเพื่อส่งเสริมการสวดมนต์พระคาถามหาจักรพรรดิสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่ กลุ่มสถานปฏิบัติธรรมพุทธพรหมปัญโญ กลุ่มศิษย์มีครู กลุ่มชีวิตนี้มีประโยชน์ กลุ่มสวดจักรพรรดิ เป็นต้น

4. ใช้สื่อสมัยใหม่ ก่อเกิดประสิทธิภาพ การใช้สื่อสมัยใหม่เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพในการเข้าถึงการมีส่วนร่วมในการสวดมนต์ให้แพร่กระจายในวงกว้างมากยิ่งขึ้น ได้แก่ การใช้แอปพลิเคชันสวดมนต์พระคาถามหาจักรพรรดิ เป็นต้น

 

บทสรุป

การสวดมนต์เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุได้อย่างดี ผลจากการศึกษางานวิจัยต่าง ๆ พบว่า ผู้ที่นิยมสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิสม่ำเสมอจะก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตยิ่งขึ้น จิตจะมีความผ่องแผ้วสว่างบริสุทธิ์ จิตที่สว่างจะทำให้อารมณ์ผ่องใส อารมณ์ดี ไม่โกรธง่าย ไม่เครียดลดความวิตกกังวล การที่จิตผ่องแผ้วถือเป็นยารักษาที่สำคัญต่อร่างกายเพราะส่งผลให้ร่างกายสร้างและหลั่งฮอร์โมนในร่างกายอย่างปกติ ช่วยส่งผลให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสวดมนต์บทพระคาถามหาจักรพรรดิ เปรียบดั่งเป็นการสร้างกำแพงแก้วคุ้มกันตัว ด้วยความเชื่อที่ว่าบารมีแห่งพระรัตนตรัย  พระมหาจักรพรรดิทุกพระองค์ตั้งแต่อดีต ปัจจุบันและอนาคต บารมีของหลวงปู่ดู่และครูบาอาจารย์ที่มีการอัญเชิญบุญบารมีน้อมเข้าตัวผู้สวดเพื่อส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพจิตให้แข็งแรง จะช่วยป้องกันภัยอันตรายและสร้างมหาโชคมหาลาภ รวมทั้งสุขภาพที่ดีให้กับผู้สวดมนต์ได้เป็นอย่างดี เมื่อมีความเชื่อหรือศรัทธาเช่นนี้ ก็จะยิ่งทำให้ผู้ปฏิบัติมีความเพียรที่จะทำอย่างต่อเนื่อง เมื่อทำต่อเนื่องก็ส่งผลต่อพลังแห่งสติ สมาธิและปัญญา (สอดคล้องกับหลักพละ 5)  ผลแห่งการปฏิบัตินี้ สอดคล้องกับแนวคิดทางสาธารณสุขในด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จึงควรมีการส่งเสริมให้มีการสวดมนต์คาถาพระมหาจักรพรรดิให้มากยิ่งขึ้นในสังคมต่อไป

ผู้ศึกษาขอเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยการสวดมนต์พระคาถามหาจักรพรรดิดังนี้

1. สนับสนุนการประชาสัมพันธ์การสวดมนต์พระคาถามหาจักรพรรดิ เพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุเพราะเป็นบทสวดสั้นๆ มีอานุภาพมาก จำง่าย สวดได้ง่ายและสวดมนต์วนไปเรื่อยๆ ที่สำคัญหลวงตาม้าท่านแนะนำให้ผู้สูงอายุสวดมนต์ด้วยพระคาถามหาจักรพรรดิเพราะมีประโยชน์มาก ผู้สูงอายุสามารถสวดมนต์ได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งผู้สูงอายุสามารถนั่งหรือนอนเพื่อสวดมนต์ได้ตามความต้องการจึงเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ

2. หน่วยงานราชการตามการปกครองส่วนท้องถิ่น อาทิเช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควรจัดกิจกรรมสวดมนต์บทพระคาถามหาจักรพรรดิ เพื่อการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยการสวดมนต์ 

3. ควรมีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงปริมาณเกี่ยวกับผลของการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยการสวดมนต์พระคาถามหาจักรพรรดิ ได้แก่ การรักษาความเครียด การรักษาโรคซึมเศร้า การรักษาโรคต่างๆ เช่น ความดัน เบาหวาน เป็นต้น

 

 ✨ ตามไปสวดมนต์ สวดจักรพรรดิ พร้อมกันทั่วโลก ทุกคืน 

ในรอบ 20.30 น. สวดมนต์ 21 จบ ทุกคืน

ได้ที่นี่ค่ะ ตามรอยวิริยธโร - หลวงตาม้า

ถ้าไม่ทันมีคลิปธรรมเทศนาของหลวงตาม้าทุกวัน

ตามสวดมนต์ย้อนหลังได้ค่ะ  แล้วแต่สะดวก

แต่สวดมนต์พร้อมกัน พลังเยอะกว่าค่ะ

ลองสวดมนต์ในบทสวดจักรพรรดิ ในทำนอง จังหวะนี้ดูนะคะ

สวดมนต์ถูก ชีวิตเปลี่ยนค่ะ เปลี่ยนไปในทางที่ดีค่ะ

 

 ✨ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจากบทความได้ที่นี่  ✨

 

✨ ยารักษากาย ยารักษาใจ คือ การสวดมนต์ภาวนา

https://www.gotoknow.org/posts/715696

✨ เอาจริงหรือยัง???

https://www.gotoknow.org/posts/715695

✨ การสวดมนต์สำคัญที่สุด

https://www.gotoknow.org/posts/715694

✨ ทางแก้ความโกรธที่ดีที่สุด คือ การสวดมนต์

https://www.gotoknow.org/posts/715693

✨ แผ่เมตตาอย่างไรให้เจ้ากรรมนายเวร

https://www.gotoknow.org/posts/715692

✨ รักทุกคน ไว้ใจบางคน ไม่เกลียดใครเลยสักคน

https://www.gotoknow.org/posts/715691

✨ การสัพเพ เป็นการฝึกพลังงานความเมตตา

https://www.gotoknow.org/posts/715676

✨ เทคนิคในการแผ่บุญให้สัมฤทธิ์ผล

https://www.gotoknow.org/posts/715632

✨ นอนสวดมนต์...ได้ไหม?

https://www.gotoknow.org/posts/715619

✨ สวดมนต์...ช่วยรักษาโรคได้อย่างไร?

https://www.gotoknow.org/posts/715616

✨ รักษาโรคซึมเศร้า

https://www.gotoknow.org/posts/715615

✨ "หากใครมีปัญหาในชีวิต" ให้ตั้งสัจจะอธิษฐาน

https://www.gotoknow.org/posts/715099

✨ ตั้งสัจจะอธิษฐาน

https://www.gotoknow.org/posts/715095

✨ จิตเป็นทิพย์

https://www.gotoknow.org/posts/715096

✨ การดูจิต รักษาจิตตนเอง

https://www.gotoknow.org/posts/715094

✨ วิธีอธิษฐานฝากดวงไว้กับหลวงปู่ดู่

https://www.gotoknow.org/posts/715075

✨ ทำใจให้เบา แล้วเราจะสุข

https://www.gotoknow.org/posts/715070

✨ สวดมนต์จะรวยได้อย่างไร

https://www.gotoknow.org/posts/715069

✨ เมื่อชีวิตฉันออกจากเลข 66

https://www.gotoknow.org/posts/714786

✨ ยานอนหลับชั้นดี หลับง่าย หลับสบาย หลับเร็ว

https://www.gotoknow.org/posts/714373

✨ พลังงานมายังไง ไปยังไง

https://www.gotoknow.org/posts/715098

✨ ชีวิตนี้มีประโยชน์ เพลงเพราะมาก แก้โรคซึมเศร้า

https://www.gotoknow.org/posts/715073

✨ การสวดมนต์ด้วยพระคาถามหาจักรพรรดิ

https://www.gotoknow.org/posts/714355

✨ หลักธรรมและคำสอนของหลวงตาม้า

https://www.gotoknow.org/posts/714359

✨ การปรับภพภูมิของหลวงปู่ดู่

https://www.gotoknow.org/posts/715097

✨ การใช้แอปพลิเคชันสำหรับสวดมนต์พระคาถามหาจักรพรรดิ เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ

https://www.gotoknow.org/posts/714353

✨ วิธีการสวดมนต์เพื่อสร้างเสริมสุขภาพด้วยพระคาถามหาจักรพรรดิตามแนวทางพระอาจารย์วรงคต วิริยะธโร (หลวงตาม้า)

https://www.gotoknow.org/posts/714356

✨ การเสริมสร้างสุขภาพด้วยการสวดมนต์พระคาถามหาจักรพรรดิ ตามแนวทางของพระวรงคต วิริยะธโร (หลวงตาม้า)

https://www.gotoknow.org/posts/714354

✨ การส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยการสวดมนต์พระคาถามหาจักรพรรดิ

https://www.gotoknow.org/posts/714350

✨ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยการสวดมนต์

https://www.gotoknow.org/posts/714351

 

เอกสารอ้างอิง

 

[1] Marketeer Team. (2022). Statistics of the Thai elderly in 2012. The number of elderly people continues to increase. But the birth rate is low. Retrieved from https://marketeeronline.co/archives/272771

[2] Phra Decha Sīlatejo (Sripunga). (2018). The Promotion of Elderly’s Health by Using Buddha Paritta. Doctor of Philosophy Thesis, Buddhist Studies, Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (In Thai)

[3] Phrabidika Kittipong Silasuddho (Niemrod). (2019). Development of the Program to Promote the Health of the Elderly Through Buddhist Psychology. Master's Degree Thesis, Buddhist Psychology, Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (In Thai)

[4] Phrakru Chaipattananukun (Thananoppharut Jayanto). (2017). A Study of Well-Being Promotion Model for the Elderly according to Buddhism: A Case of Wat Hua Fai, Sanklang Sub-District, Phan District, Chiang Rai. Master's Degree Thesis, Buddhist Studies, Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (In Thai)

[5] Phrabhavanaviriyakhun (Phat Thatcheewo). (2002). True Phra. (5th edition). Bangkok: Dhammakaya Foundation.

[6] Liang Xiang Publishing House. (2008). Praying, chanting, translating. Bangkok: Liang Siang Pian Publishing House for the Buddha.

[7] Mae Chee Kanokwan Preeprem. (2019). Effect of Buddhist Chanting and Listening to Buddhist Chanting on Test Anxiety of Mathayom Suksa 4 Students With Different. Doctor of Philosophy Thesis, Buddhist Psychology, Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (In Thai)

[8] Mano Mettanantho Laowanich, Pattpong Woraphongpichet and Somporn Kantharadusdee Triamchaisri. (2019). Chanting and meditation therapy for the treatment of disease. Nonthaburi: Department of Thai Traditional and Alternative Medicine Development Ministry of Public Health.

[26] Wat Tham Mueang page - Luang Pu Du Luang Ta Ma. (2566). Dharma Sermons and lectures of Luang Ta Ma. Retrieved from https://www.facebook.com/Luangtama.Luangpudu.watthummuangna

[27] Following Wiriyatharo Luang Ta Ma Page. (2566). Dharma Sermons and lectures of Luang Ta Ma. Retrieved from https://www.facebook.com/wiriyataro

[28] Faculty of wisdom like Brahma. (2023). An application to chant a spell for the emperor. Retrieved from https://apkgk.com/com.donusdev.prayjakgrapat

[29] Kritsada Ramansri. (2015). Pray every day, good every day. Bangkok: Thitiporn Printing.

 

แพรภัทรา เขียวชะอุ่ม. 2566. การส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยการสวดมนต์พระคาถามหาจักรพรรดิ .  ในการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ครั้งที่ 15 วันที่ 13 กรกฎาคม 2566. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

https://rdi.npru.ac.th/conference15/viewabstract.php?id_sub=0312&id_branch=18

 

หมายเลขบันทึก: 714350เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2023 17:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 ตุลาคม 2023 13:19 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท