ชื่นใจได้เห็น วช.ทำหน้าที่ National Research Policy Body


         วันที่ 5 ม.ค.50 ผมไปร่วมประชุม "การกำหนดยุทธศาสตร์การจัดลำดับงานวิจัยด้านสุขภาพ" จัดโดย มสช.   ผมได้เรียนรู้มากมาย

         จากการนำเสนอผลการวิจัยเพื่อจัดลำดับความสำคัญของการวิจัยด้านสุขภาพ   โดยใช้ฐานข้อมูล DALY ของประเทศเป็นฐาน   ดังนั้นการจัดลำดับความสำคัญจึงออกมาเป็นรายชื่อโรค   ซึ่งโรค 10 โรคแรกที่มีลำดับความสำคัญต่อการวิจัยในประเทศไทยได้แก่ HIV/AIDS,  อุบัติเหตุจราจร,  เบาหวาน,  โรคหลอดเลือดสมอง,  โรคหลอดเลือดหัวใจ,  ภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง,  มะเร็งตับ,  โรคที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสุรา,  โรคซึมเศร้าและวัณโรค

         แต่นั่นไม่ใช่เรื่องสำคัญที่สุด   ที่สำคัญยิ่งกว่า 10 โรคที่มีอันดับความสำคัญคือ  กระบวนการและรายละเอียดที่แลกปลี่ยนเรียนรู้กันในที่ประชุมครึ่งวัน   เป็นรายละเอียดและวิธีคิดที่จะนำไปสู่การกำหนดนโยบายการวิจัยด้านสุขภาพของประเทศ

         หน่วยงานที่สนับสนุนการวิจัยเพื่อกำหนดลำดับความสำคัญของงานวิจัยด้านสุขภาพและสนับสนุนการประชุมครั้งนี้คือ วช. (สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ)   ผมจึงขอแสดงความชื่นชมต่อ วช. ที่สนับสนุนการดำเนินการนี้   เป็นการริเริ่มที่แสดงการทำหน้าที่องค์กรกำหนดนโยบายการวิจัยของประเทศ

วิจารณ์  พานิช
 5 ม.ค.50

หมายเลขบันทึก: 71399เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2007 09:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท