เพื่อครูและนักเรียน เป็นนักพัฒนาตนเอง  15. เรียนเชิงรุกบูรณาการรายวิชา


 

 

บทที่ ๕ เรียนเชิงรุกบูรณาการวิชา

เป็นการเรียนแบบที่นักเรียนอำนวยการเรียนรู้ด้วยตนเองประมาณร้อยละ ๘๐   ครูช่วยโค้ช หรือให้ scaffolding เพียงประมาณร้อยละ ๒๐   และเน้นที่การเรียนเพื่อกระชับหรือสร้างความแน่นแฟ้นของวงจรเรียนรู้แบบไม่รู้ตัวของสมอง (procedural learning mode)   เพื่อสร้างความจำระยะยาวที่แน่นแฟ้น   สามารถดึงความรู้นั้นออกมาใช้ได้อย่างอัตโนมัติโดยแทบไม่ต้องคิด    หรือตอบสนองได้เร็วกว่าความคิด    รวมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย   ที่เรียกว่าเป็นการเรียนรู้ระดับเชื่อมโยง (transfer learning)    ดังที่อธิบายรายละเอียดไว้ในหนังสือ ครูเพื่อศิษย์ สร้างความรู้สู่ระดับเชื่อมโยง     

ที่จริงครูไทยจำนวนหนึ่งคุ้นเคยกับวิธีจัดการให้ศิษย์เรียนรู้แบบนี้อยู่แล้ว    ในชื่อ problem-based learning (PBL), project-based learning (PBL), research-based learning (RBL), inquiry-based learning เป็นต้น   

การเรียนรู้แบบนี้ นิยมให้นักเรียนทำเป็นทีม   ทีมละ ๓ - ๔ คน   แบ่งงานกันทำ และได้ปรึกษาหารือกัน   ได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะความร่วมมือ   

อาจเป็นกิจกรรมสั้นๆ ภายในครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง   ทำโจทย์ที่ครูกำหนดให้   หรือเป็นกิจกรรมระยะยาวเป็นเทอม เป็นปี หรือข้ามปี   ซึ่งในกรณีของโครงการระยะยาวครูควรจัดกระบวนการให้นักเรียนร่วมกันตั้งโจทย์เอง   เพื่อให้เป็นไปตามหลักการให้นักเรียนอำนวยการเรียนรู้ของตนเอง  หรือนักเรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้ของตนเอง ให้มากที่สุด     

ซึ่งหมายความว่า ครูต้องเรียนรู้และพัฒนาทักษะการออกแบบการเรียนรู้   ที่มีกระบวนการนำสู่สภาพที่นักเรียนออกแบบการเรียนรู้ของตนเอง    กำหนดเป้าหมายของการเรียนรู้  กำหนดโครงการ เกณฑ์บรรลุเป้าหมายของโครงการ และเกณฑ์บรรลุเป้าหมายของการเรียนรู้จากการทำโครงการ   กำหนดวิธีทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายของโครงการ   

ครูทำหน้าที่ scaffolding ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ระดับลึกและเชื่อมโยงจากประสบการณ์     ตามแนวทางของ Kolb’s Experiential Learning Cycle (ดูกรอบ ๑.๑)   และตามแนวทาง Double-loop learning 

วิจารณ์ พานิช

๓๐ เม.ย. ๖๖

 

 

หมายเลขบันทึก: 712968เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2023 16:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2023 16:02 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท