การศึกษาอาชีวะกับโลกอนาคต (Vocational education and future world)


วันก่อนผมได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรในโครงการพัฒนาคณาจารย์ที่สอนในวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งหนึ่ง ก่อนจะปิดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนรู้วันนั้นผมได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้แสดงความเห็น หรือตั้งคำถามเพิ่มเติม หนึ่งในคำถามที่น่าสนมากคือมีสมาชิกเข้าร่วมโครงการท่านหนึ่งถามผมว่า ‘อาจารย์มีข้อเสนอแนะอย่าไรในการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาอาชีวะ’ ซึ่งผมเห็นว่าเป็นคำถามที่ดีมากคำถามหนึ่ง จึงอยากนำความเห็นของผมต่อคำถามดังกล่าวมาเขียนไว้ในบทเขียนนี้เผื่อจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการจัดอาชีวะศึกษาของไทยต่อไป 

ผมเรียนที่ประชุมว่าในความเห็นของผมนั้น ผมเห็นว่าถ้าจะเปลี่ยนภาพลักษณ์และอนาคตของอาชีวะศึกษานั้นน่าจะเริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนแปลงฐานคติความคิด (mindset) ในสามเรื่องคือ (1) เราต้องทำให้ทุกอาชีพคืออาชีวะ (2) เราต้องให้เกียรติและเคารพต่อทุกอาชีพเท่าเทียมกัน และ (3) เราต้องปรับเป้าหมายและแนวการจัดการเรียนการสอน (ตอนผมตอบคำถาม ผมเรียงลำดับข้อ 2 เป็นข้อ 3 และข้อ 3 เป็นข้อ 2 แต่ถ้าเรียงใหม่น่าจะดีกว่า เลยปรับครับ) 

การทำให้ทุกอาชีพเป็นอาชีวะ 

         ผมไม่เข้าใจว่าทำไหมเราต้องแบ่งลู่ (track) การศึกษา ออกเป็นการศึกษาสามัญและการศึกษาอาชีพ ซึ่งไม่ใช่เป็นปัญหาเฉพาะประเทศไทย แต่เป็นปัญหากันทั่วโลก กล่าวหลังจากผู้เรียนจบมัธยมศึกษาตอนต้นแล้วอาจจะเลือกเรียนสายสามัญต่อ หรือเลือกเรียนสายอาชีพ ผู้เลือกเรียนสายสามัญส่วนใหญ่ก็จะเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษาต่าง ในหลากหลายหลักสูตร เช่น ครุศาสตร์ นิติศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ หรือ แพทยศาสตร์ เป็นต้น ส่วนผู้ที่จะเลือกสายวิชาชีพก็จะเข้าศึกษาในสถานศึกษาอาชีวะศึกษา  

          ด้วยหลักคิดและวิธีการจัดการศึกษาดังกล่าว แม้จะไม่พูดหรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ก็สื่อให้เข้าใจว่าใครเรียนสามัญไม่ไหว ก็เรียนสายอาชีพ จึงนำไปสู่การด้อยค่าผู้ประกอบอาชีพด้วยฝึมือหรือแรงงานโดยไม่รู้ตัวว่าเป็นอาชีพที่ด้อยกว่าอาชีพของผู้ที่จบสายสามัญและศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ซึ่งหลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วมีอาชีพเป็นครู เป็นหมอ เป็นวิศวกร หรือเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ด้วยปรากฎการณ์ดังกล่าวยิ่งทำให้สายสามัญกับสายิาชีพแตกต่างกันยิ่งขึ้น 

           แต่ข้อเท็จจริงก็คือ ไม่ว่าท่านจะเรียนสายสามัญแล้วได้เป็นครู เป็นหมอ ฯลฯ หรือจะเรียนสาอาชีพ แล้วเป็นช่างไฟฟ้า เป็นพนักงานซ่อมรถยนต์ ทั้งหมดก็เป็นอาชีพเหมือนกันใช่ไหมครับ ดังนั้นเราจะแยกลู่การศึกษาเป็นสายสามัญและสายอาชีพเพื่ออะไรครับ การศึกษาคือการศึกษา และระดับการศึกษาก็คือมี ก่อนประถมศึกษา มัธยมศึกษา (มัธยมศึกษาตอนต้นเดิม) เตรียมอุดมศึกษา (มัธยมศึกษาตอนปลายเดิม และปวช แต่ไม่แยกเป็นสามัญกับอาชีวะ)  และอุดมศึกษา ครับ

การสร้างวัฒนธรรมเท่าเทียมกันของอาชีพ 

           สมัยผมเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน (ทุน AFS) ไปเรียนที่สหรัฐอเมริกา 1 ปีนั้นผมได้สัมผัสและซึมซับวัฒนธรรมเท่าเทียมกันของอเมริกันชนในหลายมิติครับ เช่น ความเท่าเทียมกันของชีวิต ไม่ว่าคุณจะเกิดเป็นใคร สายเลือดไหน ผิวสีอะไร ทุุกคนเท่าเทียมกัน เด็ก หรือผู้ใหญ่ได้ร้บเกียรติในฐานประชาชนคนหนึ่งเหมือนกัน ทุกอาชีพเป็นอาชีพที่มีเกียติ ตราบใดที่เป็นอาชีพสุจริต คนขับแท็กซี่ คนเสริฟอาหาร คนกวาดถนน สัปเหร่อ หรือไม่ว่าอาชีพใด ทุกอาชีพได้รับเกียดิ และการปฏิบัติต่อไม่แตกต่างกัน ซึ่งผมก็เห็นว่าเป็นวัฒนธรรมที่ถูกต้องและน่ายกย่องครับ เพราะทุกอาชีพต่างก็เป็นฟันเฟืองสำคัญในการเป็นสังคมและขับเคลื่อนกิจกรรมสังคมครับ ถ้าไม่มีคนขัดรองแท้า ก็ไม่มีใครทำให้รองเท้าสะอาด ถ้าไม่มีคนกวาดถนนแล้วใครจะดูแลความสะอาดของถนน ถ้าไม่มีช่างซ่อมท่อประปา หรือปั้มนำ แล้วถ้าท่อน้ำประปาเสีย ใครจะซ่อมครับ โดยสรุปแล้วทุกอาชีพมีความสำคัญ ต่างกันที่หน้าที่ในการทำกิจกรรมในสังคม ประธานาธิบดี ก็คนธรรมดา เหมือนคนขับแทกซี่ ดังนั้นถ้าประธานาธิบดีขับรถผิดกฎจราจรก็จะถูกจับและปรับไม่ต่างจากคนกวาดถนนที่ทำผิด ประธานาธิบดีไม่ใช่เทวาแตะต้องไม่ได้  ทำผิดถูกตำหนิได้ไม่ต่างกันคนกวาดถนน 

            ด้วยวัฒนธรรมทางอาชีพเป็นแบบนั้น ใครจะประกอบอาชีพใดจึงไม่ใช่ปมด้อย หรือปมเด่น ไม่ใช่เรื่องเสียหาย หรือน่าละอาย (ตราบใดที่ไม่ทำผิด) ตอนสมัยผมเรียนอยู่ที่วิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม ผมเดยเป็นผู้ช่วยนักศึกษาปริญญาเอกจากอมริกา และหลังกลับไประยะหนี่งผมทราบว่าเขาจบการศึกษาแล้ว แต่ยังหางานทำอยู่ ตอมาก็ทราบว่าเขาได้งานแล้วเป็นภารโรง (caretaker) ที่คลังสินค้าแห่งหนึ่ง ซึ่งก็ไม่มีใครว่าอะไร เพราะภารโรงก็เป็นงานสุจริตครับ วัฒนธรรมวิชาชีพแบบเท่าเทียมกันนั้นทำให้เขาทำงานอะไรที่ได้งาน จนกว่าจะได้งานใหม่ ขณะที่วัฒนธรรมทางอาชีพของบ้านเมืองเรา จัดอันดับของงานมีเกียรไว้เลย เช่น ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถือเป็นตำแหน่งมีเกียรติสูงสุด (ของสามัญชน) รัฐมนตรีระดับรองลงมา และเรียงไปจนถึงอาชีพต่ำสุดในสายตาของคนอื่นในสังคม ซึ่งวัฒนธรรมทางอาชีพแบบนี้ด้อยค่าอาชีพ และด้อยค่าของคนไปในตัว แล้วเราจะทำให้ผู้เรียนสายอาขีพเทียบสายสามัญนั้นยากครับ 

          ผมจึงเสนอให้มีการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและการยอมรับในอาชีพกันใหม่ โดยเห็นว่าทุกอาชีพคืออาชีพ ไม่ใช่อาชีพสายสามัญกับอาชีพสายอาชีวะอย่างที่เป็นอยู่ครับ 

(และถ้าวัฒนธรรมทางอาชีพในสังคมเรายังไม่เปลี่ยน เราก็ควรจะเปลี่ยนฐานคติความคิดทางอาชีพของเราเอง คือมีความสุขกับอาชีพที่เราทำ ให้เกียรติตนเองในวิชาชีพ และไม่ให้ความคิดหรือการปฏิบัติของคนอื่นมาทำให้เรารู้สึกเป็นปมด้อยในวิชาชีพของเราครับ การรับรู้และความรู้สึก ทำร้ายเราได้มากกว่าสิ่งที่คนอื่นทำกับเราครับ) 

เป้าหมายและการจัดการศึกษ

           ตอนที่ผมตอบคำถามในวิทยาลัยเทคโนโลยีที่ผมไปร่วมโครงการพัฒนาบุคลากรนั้น ผมตอบเป้าหมายและการจัดการศึกษาของอาชีวะศึกษาเป็นหลัก คือ ผมตอบว่าอาขีพทุกอาชีพเป็นหัวใจสำคัญในการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นอดีต ปัจจุบัน หรืออานาคต เพียงแต่ไม่มีใครทราบว่าการดำรงชีวิตและการงานอาชีพในอนาคตเป็นอย่างไร แม้จะมีความพยายามพยากรณ์การดำรงชีวิตที่น่าจะเป็นในอนาคต แต่ผมบอกว่าทุกอย่างเป็นแค่ข้อสันนิษฐาน 

          ผมเคยเห็นคล้อยตามทักษะจำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 25 แต่ปัจจุบันเริ่มลังเล เพราะในเมื่อเราไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วโลกอนาคตจะเป็นอย่างไร ดังนั้นผมจึงเสนอว่าเป้าหมายการศึกษาในอาคตควรเป็น (1) การเตรียมคนให้สามารถเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้ แปลว่าสอนเครื่องมือและวิธีการที่ผู้เรียนสามารถใช้ในการเรียนรู้่ด้วยตนเอง ซึ่งใช้่ได้ทั้งในขณะที่เรียนรู้ในปัจจุบัน และสมารถนำใช้ได้ในอนาต ไม่ว่าโลกจะเป็นไปอย่างไร การเรียนรู้คืออาวุธสำคัญในการปรับตัว การทำมาหากิน และการอยู่รอด (2) ความรู้ ทักษะ และอาชีพคาดการณ์เป็นสิ่งที่ทำได้ และสอนได้ แต่ควรนำมาใช้เป็นบทเรียนกรณีตัวแทนเพื่อการเรียนรู้ คำว่ากรณีตัวแทน เป็นคำประดิษฐ์ที่ผมนำใช้เพื่ออธิบายว่า วิทยาการในโลกมีมากมาย ความรู้ ทักษะ และอาชีพที่น่าจะเป็นจะเป็นแบบไหนไม่มีใครรู้ชัด ดังนั้นผู้สอนการศึกษา และเลือกสิ่งเหล่านี้ที่คิดว่าน่าจะเป็นกรณีตัวแทนของสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้น แล้วนำกรณีตัวแทนเหล่านั้นมาเป็นกรณีศึกษาเพื่อการเรียนรู้ ไม่ใช่เพื่อจดนำและนำใช้ในอนาคตครับ และ (3) คุณลักษณะเฉพาะของบุคคลที่จะมีชีวิตและทำงานได้ดีในอนาคตนั้นเป็นสิ่งสำคัญกว่าองค์การรู้ และทักษะที่คาดว่าจำเป็น การเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้ เป็นคุณลักษณะเฉพาะที่สำคัญประการหนึ่ง ซึ่งผมเห็นว่าสำคัญที่สุด เลยแยกไว้เฉพาะ ส่วนคุณลักษณะอื่น ๆ สำหรับอนาคตนั้นคือ 3.1) ความยึดหยุ่นและปรับตัวทางความคิดและความรู้สึก ทั้งนี้เพราะโลกอานาคตเปลี่ยนแปลเร็วและไร้ทิศทาง คาดเดายาก ถ้าเราไม่มีภูมิคุ้มกันทางอารมณ์หรือความรู้สึกแล้ว สติแตกได้ง่าย ๆ ปรับตัวอยาก และอยู่ยากครับ 3.2) ความสามารถในการเลือกรับรู้และใช้ข้อมูลสารสนเทศ กล่าวคือ ข่าวสารข้อมูล และความรู้ ทั้งจริงบ้าง เท็จบ้าง เหล่านี้จะมากขึ้นในอนาคต ทั้งใกล้วตัว ไกลตัว และเป็นประโยชน์ ไม่เป็นประโยชน์ ดังนั้นคนที่จะอยู่ในโลกอนาคตได้ดีนั้นต้องมีความสามารถในการเลือกรับรู้และใช้ข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนการตอบสนองต่อสิ่งเหล่านั้นอยู่ดีจึงจะอยู่ดีมีความสุข ครับ และ 3.3 ความสามารถในการนิยามตัวตน กล่าวคือ คนที่จะดำรงชีวิตและทำงานในอนาคตได้ดีและมีความสุขในอนาคตน้้นต้องเป็นคนที่รู้จักตนเอง และดำรงชีวิตอย่างมีเป้าหมาย มีความหวัง และมีความหมายครับ สามารถเชื่อมโยงตนเองเข้ากับผู้เกี่ยวข้อง สังคมที่เกี่ยวข้อง และสร้างเครือข่ายของเป้าหมาย ความหวัง และความหมายของตนเอง และการอยู่ร่วมกันกับสังคมที่ตนเองเป็นสมาชิกได้อย่างมีคุณภาพครับ 

            ถ้าจะเน้นเฉพาะอาชีวะก็คือ โรงงาน หรือบริษัท หรือหน่วยงานที่เขาจะรับท่านเข้าทำงานเขาไมกังวลหรือสงสัยในความรู้หรือทักษะของผู้สำเร็จการศึกษาครับ มีความรู้พื้นฐานเพื่อต่อยอดได้ก็พอ ส่วนความรู้และทักษะงานสามารถเรียนรู้ได้ขณะทำงาน และพื้นที่งานจริงๆ ด้วยเครื่องมือ และวิธีการจริง แต่สิ่งที่หน่วยงานทั้งหลายอยากได้ก็คือ ความเป็นคน ซึ่งอธิบายได้ด้วยคุณลักษณะเฉพาะตนนั่นเองครับ 

 

หมายเลขบันทึก: 712746เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2023 20:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2023 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

‘Respect for all professions’ sounds good, but this ถ้าจะเน้นเฉพาะอาชีวะก็คือ โรงงาน หรือบริษัท หรือหน่วยงานที่เขาจะรับท่านเข้าทำงาน…’ put them down to simple workers – for money. If we can people in the industry working with and for people in the same industry…

In short, entrepreneurship must be included, don’t you think?

เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการสร้าง mindset ที่ว่า ขอบคุณครับ….วิโรจน์ ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท