วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙)  ๑๔๙. กลไกนโยบาย ววน.


 

หัวข้อของบันทึกนี้โผล่ออกมาสายวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๖ ระหว่างนั่งฟังการประชุมคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุน ววน. (ทางออนไลน์)  ที่ในวาระแจ้งเพื่อทราบเตรียมประชุมร่วมสามคณะกรรมการของกองทุน ววน. คือ คณะกรรมการนโยบาย, คณะกรรมการติดตามและประเมินผล, และคณะกรรมการอำนวยการ (ที่นัดไว้ช่วงบ่ายวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๖)   ได้เกิดการผุดบังเกิด (emergence) ของความห่วงใยพัฒนาการของระบบ ววน. ของประเทศ   

 เพราะในที่ประชุมมีผู้หลักผู้ใหญ่ของประเทศหลายท่าน    ความห่วงใยประเทศจึงค่อยๆ โผล่ออกมา    ว่า   ไม่มีกลไกติดตามประเมินผลพัฒนาการของระบบ ววน. ของประเทศ    มีการพูดถึงบรรยากาศการประชุมสภานโยบาย อววน. ว่าไม่เอาจริงเอาจัง   

จึงเอามาบอกกล่าวแก่สังคมไทย    ว่ารัฐบาลที่กำลังรักษาการ เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งกลไกพัฒนา (หรือจริงๆ แล้ว reform) ระบบ อววน. ของประเทศ    โดยการออกกฎหมายถึง ๑๑ ฉบับ    แต่เมื่อถึงขั้นตอน policy implementation กลับไม่ได้เอาใจใส่จริงจัง   

เป็นตัวอย่างของจุดอ่อนของการบริหารบ้านเมืองไทย    ที่นโยบายดี แต่การบริหารนโยบายไม่ดี   เรื่องนี้หากมีโอกาสพูดกันแบบเปิดอก  จะเป็นเรื่องของ socio-political-personal factors   ในระดับบนของระบบ    ที่สังคมไทยคนไทยอ่อนแอ

โดยผมตีความว่า เพราะ ความอ่อนแอของ ค่านิยม (V – values) ใน VASK ภาพใหญ่    ของการพัฒนาคุณภาพคนของประเทศ    คือ การศึกษา และการเรียนรู้จากประสบการณ์   เราต้องเผชิญสภาพที่ผู้ใหญ่บางท่านของประเทศ เป็นคนเก่ง แต่ V อ่อนแอ 

วิจารณ์ พานิช

๑๒ เม.ย. ๖๖

 

หมายเลขบันทึก: 712713เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2023 18:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2023 18:31 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท