"ห่วงโซ่คุณค่า" เครื่องมือที่จำเป็นในการสร้าง "ธุรกิจพอเพียง"


ช่วง ๕ เดือน ที่ผ่านมา ผมได้เรียนรู้มากเกี่ยวกับ “ห่วงโซ่คุณค่า” … มีความเห็นว่า เครื่องมือที่เขาเรียกกันว่า “ห่วงโซ่คุณค่าใหม่”  เป็นเครื่องมือที่จำเป็น เพื่อที่จะสร้าง “ธุรกิจพอเพียง” ให้เกิดขึ้นในจังหวัดมหาสารคาม … ตามอุดมการณ์ในแผนการทำงานระยะ ๕ ปี ของผม ต่อจากนี้ไป ….  จึงขอนำมาบันทึกแลกเปลี่ยนไว้ตรงนี้ 

ห่วงโซ่คุณค่า คืออะไร

ห่วงโซ่คุณค่า คือ ห่วงโซ่การผลิตที่เน้นย้ำไปยัง กิจกรรมที่ทำให้เกิดคุณค่าแต่ชุมชนและสิ่งแวดล้อม …. คำนิยามนี้ ผมสรุปหลังจากได้เข้ารับการอบรมกับ อ.บัณฑิต ผู้จัดการโครงการ บพท. (หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาพื้นที่) … ถ้าสนใจ ให้ทำความเข้าใจไปทีละภาพ ดังนี้นะครับ 

  • ในภาพจะเห็นห่วงโซ่การผลิต ที่เริ่มวนไปตั้งแต่ ผู้ผลิต ผู้รวบรวม ผู้แปรรูปเบื้องต้น ผู้สร้างสินค้า คนขาย ลูกค้าเป้าหมาย 
  • บางห่วงโซ่การผลิต อาจจะไม่ได้มีคุณค่าต่อชุมชนและสังคม ดังนั้น แต่ละห่วงโซ่การผลิตจึงมีความสำคัญต่อชุมชนแตกต่างกัน ระดับพื้นสีเข้มมากกว่า จะเป็นเครื่องมือนำคิด ให้พิจารณาว่า ห่วงโซ่การผลิตใดในชุมชนฯ มีคุณค่าต่อชุมชนและสังคมมากกว่า 
  • คำว่า “คุณค่า”  ไม่ได้แสดงออกชัดเจนเมื่อใช้ภาษาอังกฤษว่า value ซึ่งในเชิงธุรกิจ มักหมายถึง “มูลค่า” … แต่ “คุณค่า” เน้นไปที่คุณค่าทางใจของผู้คน คุณค่าทางใจของลูกค้า ลูกค้าเลือกและตัดสินใจซื้อสินค้านั้น ๆ  ด้วยระลึกว่า สิ่งนั้นมีคุณค่าทางใจ ….  ตัวอย่าง ที่ชัดเจนที่สุด คือ ….  คนที่นิยมใส่เสื้อผ้าไหม จะหาซื้อเสื้อไหมลาย “สร้อยดอกหมาก” อันเป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของ “ไหมเมืองคาม” เมื่อมาถึงจังหวัดมหาสารคาม …   ไม่ได้ซื้อเพราะสวยหรือคุณภาพดี แต่ซื้อเพราะเป็นไหมอัตลักษณ์ที่ทรงคุณค่า ด้วยเหตุว่าเป็นผลิตภัณฑ์สำคัญของจังหวัดมหาสารคาม 

ผมมีตัวอย่างการนำเอาเครื่องมือนี้มานำคิดวิเคราะห์ในงานของตนเอง ดังภาพด้านล่าง … แค่เพียงดูท่านจะรู้ว่าผมคิดและทำอันใด แนวใดอยู่ 

ประเด็นที่เห็นนะวันนี้ คือ … ผมเติมข้อมูลได้เพียงบางช่อง บางอัน เพราะยังไม่ทราบว่าห่วงโซ่การผลิตของแต่ละอันเป็นอย่างไร … การจะได้ข้อมูลจริง มากพอ คงต้องรอให้ผมตลุยไปในพื้นที่ให้พอเพียงเสียก่อน 

ธุรกิจพอเพียง คืออะไร

ธุรกิจพอเพียง คือ คือการประกอบธุรกิจที่ภายใต้เงื่อนไข ๒ ประการ คือ เงื่อนไขความรู้ และ เงื่อนไขคุณธรรม  ขอขยายความดังนี้ 

  • ธุรกิจ ทั่วไป เน้น กำไรสูงสุด ต้นทุนต่ำสุด  … แต่ธุรกิจพอเพียง ไม่ได้เน้นกำไรสูงสุด แต่เน้นประโยชน์สูงสุด ชุมชนและสังคม 
  • ธุรกิจ ทั่วไป ไม่ได้เลือกวิธีการ … แต่ธุรกิจพอเพียง จะต้องใช้วิธีการที่ไม่ผิดหลักคุณธรรม ศีลธรรม คำนึงถึงความยั่งยืน ทั้งมิติด้านการใช้ทรัพยากร ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านวัฒนธรรม 
  • ธุรกิจ ทั่วไป ไม่ได้ใส่ใจว่าต้อง ใช้ความรู้มาพัฒนาสินค้าของชุมชน … แต่ธุรกิจพอเพียง เน้นการนำเอานวัตกรรมและความรู้มาใช้ในการพัฒนาสินค้าของชุมชนให้ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ 

ห่วงโซ่คุณค่า คือ เครื่องมือพัฒนา “ธุรกิจพอเพียง” 

สิ่งแรกที่ต้องทำให้ชัดเจน ในการพัฒนาตนเองไปสู่ “ธุรกิจพอเพียง” คือ ต้อง “รู้จักตนเอง” ให้มากที่สุด  ต้องรู้ว่า ชุมชนของเรา มีห่วงโซ่การผลิตอะไรบ้าง มี “ห่วงโซ่คุณค่า” อันใดบ้างหรือไม่ จะต้องเข้าไปเชื่อมโยงพัฒนาในเรื่องใด ต้องประสานหน่วยงานใด ….  

สนใจก็ติดตามต่อไปครับ

หมายเลขบันทึก: 712413เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2023 07:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 เมษายน 2023 07:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I may have jumped the gun. But I miss any mention of any ‘standard’ (roughly defined as ‘a promise’ that producers or providers give to consumers). It is not really acceptable to have sufficient ‘goods and services’, the ‘sufficient’ must be defined and promised, so consumers get what they pay for.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท