หน้าแรก
สมาชิก
ครูสร นามศรี
สมุด
วันสำคัญและวันงาน...
10 เรื่องน่ารู้ขอ...
ครูสร นามศรี
สมุด
บันทึก
อนุทิน
ความเห็น
ติดต่อ
10 เรื่องน่ารู้ของวันทหารผ่านศึกไทย 3 กุมภาพันธ์ 2566
วันทหารผ่านศึกมีความสำคัญคือเป็นวันที่ถูกกำหนดขึ้นจากความต้องการในการ
ช่วยเหลือทหารที่ผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือ สงครามมหาเอเชียบูรพา
ในช่วงปี พ.ศ. 2488 สมัยที่ พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี
วันทหารผ่านศึกของไทยถูกกำหนดให้ตรงกับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี
อันเนื่องมาจาก ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 ได้มีการจัดตั้งองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกขึ้น และได้ถือเอาวันที่ 3 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันสถาปนาองค์การและเป็นวันทหารผ่านศึกนับแต่นั้นมา ในปี พ.ศ. 2566 จะนับได้ว่าครบรอบ 75 ปี
พระราชบัญญัติเกี่ยวกับวันทหารผ่านศึก
มีชื่อเรียกว่า พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก และประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ปัจจุบันพระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกได้ขยายการสงเคราะห์จากเพียงแค่เพื่อทหารผ่านศึกและครอบครัวทหารผ่านศึก ไปยังทหาร ทหารนอกประจำการ ตำรวจ ข้าราชการพลเรือนและพลเรือน ผู้รักษาความมั่นคงของชาติตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด
ดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของวันทหารผ่านศึกทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย คือ
ดอกป๊อปปี้
เนื่องมาจาก ดอกป๊อปปี้สีแดงได้ขึ้นเต็มทั่วหลุมฝังศพทหารในสมรภูมิรบของสงครามโลกครั้งที่ 1 สีแดงของดอกป๊อปปี้เปรียบได้ดั่งเลือดเนื้อของเหล่าทหารผ่านศึกที่ได้เสียสละชีวิตเพื่อประเทศชาติ
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่ในการวางพวงมาลาในวันทหารผ่านศึกให้แก่ทหารหาญผู้เสียสละชีพเพื่อประเทศชาติไทยในสงครามต่างๆ ในอดีตที่ผ่านมา ทั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามเกาหลี และ สงครามอินโดจีน
โดยอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2484 สมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี สร้างขึ้นเพื่อเชิดชูเกียรติของทหาร ตำรวจและพลเรือนที่เสียชีวิตในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส หรือ กรณีพิพาทอินโดจีน หรือ สงครามอินโดจีน หรือ
สงครามฝรั่งเศส-ไทย
ภายในอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
เป็นสถานที่จารึกรายนามทหารที่เสียชีวิตในสงครามอินโดจีน สงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเกาหลี หลายพันนาย อีกทั้งใช้เป็นที่เก็บอัฐิของทหารตำรวจผู้สละชีพเพื่อชาติจำนวน 801 นาย และมีตะเกียงตามประทีปดวงวิญญาณทหารหาญเหล่านี้อยู่ด้วย
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นคนละที่กับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
โดยอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเป็นวงเวียนอยู่กึ่งกลางระหว่างถนนพหลโยธิน ถนนราชวิถี และถนนพญาไท ส่วนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นอนุสาวรีย์ที่ตั้งอยู่กึ่งกลางวงเวียนระหว่างถนนราชดำเนินกลางกับถนนดินสอ แขวงบวรนิเวศ กรุงเทพมหานคร
บริเวณโดยรอบของฐานอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีประติมากรรมรู
ปปั้นทองแดงของวีรชน 5 คน จาก 5 เหล่า
อันได้แก่ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน โดยรูปปั้นทหารบกจะถือปืน รูปปั้นทหารเรือถือลูกปืนใหญ่ รูปปั้นทหารอากาศถือลูกระเบิด รูปปั้นตำรวจถือปืน รูปปั้นพลเรือนถือหนังสือ
กิจกรรมที่จัดขึ้นในวันทหารผ่านศึก
อาทิ
จัดนิทรรศการเชิดชูเกียรติทหารผ่านศึก และรำลึกถึงและสดุดีวีรชนทหารผ่านศึกทุกคนที่ได้เสียสละและอุทิศชีวิตเพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศชาติไว้
จัดพิธีวางพวงมาลา พิธีจุดตะเกียงตามประทีปดวงวิญญาณและสักการะอัฐิ ณ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
จัดจำหน่ายดอกป๊อปปี้ เพื่อนำรายได้จากการขายไปช่วยสนับสนุนและช่วยเหลือครอบครัวของทหารที่ได้อุทิศชีวิตหรือพิการทุพพลภาพ
เขียนใน
GotoKnow
โดย
ครูสร นามศรี
ใน
วันสำคัญและวันงานประเพณีเทศกาลของชาติไทยและต่างประเทศ
คำสำคัญ (Tags):
#ทหาร
#วันทหารผ่านศึก
#อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
#ดอกป๊อปปี้
หมายเลขบันทึก: 711448
เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2023 19:23 น. (
)
แก้ไขเมื่อ 28 มกราคม 2023 19:23 น. (
)
สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ
จำนวนที่อ่าน
จำนวนที่อ่าน:
ความเห็น (0)
ไม่มีความเห็น
ชื่อ
อีเมล
เนื้อหา
จัดเก็บข้อมูล
หน้าแรก
สมาชิก
ครูสร นามศรี
สมุด
วันสำคัญและวันงาน...
10 เรื่องน่ารู้ขอ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID
@gotoknow
สงวนลิขสิทธิ์ © 2005-2023 บจก. ปิยะวัฒนา
และผู้เขียนเนื้อหาทุกท่าน
นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี