การออกแบบกิจกรรมบำบัดรายบุคคลให้ไปถึงเป้าหมายการมีงานทำได้โดยพึ่งพิงคนอื่นน้อยที่สุด


ผู้รับบริการเพศชาย อายุ 81 ปี มีโรคประจำตัวเป็นความดัน ไขมัน และเบาหวานระยะเริ่มต้น จากการประเมิน PFFS-T ได้คะแนน 14 คะแนน แปลผลว่า มีความเปราะบางระดับปานกลาง Hight 2+ Scores คือ ปวด ยา อารมณ์ ว้าเหว่ 

จึงมีการออกแบบกิจกรรมบำบัดเพื่อนำไปสู่การมีงานทำของผู้รับบริการโดยพึ่งพิงผู้อื่นน้อยที่สุด ดังนี้

บรรเทาความเปราะบางให้มีระดับลดลง คือ ชวนทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย พร้อมวัตถุประสงค์ของการทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกาย บริหารสมอง ลดอาการปวดเมื่อย ชาตามร่างกาย ข้อเข่า ชวนผู้ป่วยให้ขยับท่าทางตามผู้บำบัด โดยเริ่มจากท่านั่ง แล้วไปท่ายืน ดังนี้

Brain gym เช่น ท่า Thump opposition หรือ ท่าบริหารร่างกายง่าย ๆ เป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในด้านต่าง ๆ ของสมอง เช่น การจดจำ การมองเห็น การได้ยิน และช่วยลดความเครียดลงได้ โดยมีวิธีดังนี้

- นั่งบนเก้าอี้ ยกเท้าขวาขึ้นพาดบนขาซ้าย มือกุมฝ่าเท้าขวา หายใจเข้า ออกช้า ๆ ลึกๆ 1 นาที แล้ววางเท้าลงบนพื้นเหมือนเดิม ให้เท้า ทั้งสองข้างแตะพื้น กำมือเข้าด้วยกัน แล้วใช้ปลายลิ้นกดที่ฐานฟันล่างประมาณ 1 นาที จะเป็นท่าทีมีประสิทธิภาพสูงมาก ช่วยลด ความเครียด ความอึดอัด และความคับข้องใจ เปลี่ยนขาทำซ้ำอีกครั้ง

- กำมือทั้งสองข้าง ยกขึ้นไขว้กันระดับตา ตามองมือที่อยู่ด้านนอก

- วางมือซ้อนกันที่ด้านหน้า หายใจเข้าช้า ๆ ลึก ๆ ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ คว่ำมือลง หายใจออกช้า ๆ แล้ววาดมือออกเป็นวงกลม แล้ววางมือไว้ที่เดิม

- ใช้มือทั้งสองปิดตาที่ลืมอยู่เบา ๆ ให้สนิท จนมองเห็นเป็นสีดำมืดสนิทสักพัก แล้วค่อย ๆ เอามือออก เริ่มปิดตาใหม่ 

- ใช้นิ้วมือทั้งสองข้างเคาะเบา ๆ ทั่วศีรษะ จากกลางศีรษะออกมา ด้านขวาและซ้ายพร้อม ๆ กัน

ท่าลดอาการชาของมือ ทำท่าละ 10 ครั้ง

ท่าที่ 1 Wrist stretch - เริ่มจากหงายท้องแขนขึ้น เหยียดแขนข้างที่จะยืดให้สุดแขน นำมืออีกข้างมาจับมือข้างที่ยืด ออกแรงดึงเบาๆให้รู้สึกตึงบริเวณท้องแขน จากนั้นคว่ำมือลง เอามืออีกข้างดึงปลายมือเข้าหาตัวเบาๆ ให้รู้สึกตึงบริเวณด้านหลังแขน

ท่าที่ 2 Wrist range of motion - คว่ำมือหรือหงายมือก็ได้ กระดกข้อมือขึ้นลง ทำช้าๆ กระดกข้อมือขึ้นและลงนับเป็น 1 ครั้ง ไม่ต้องเกร็งมือขณะทำ

ท่าที่ 3  Pronation and Supination of The Forearm - คว่ำมือและหงายมือ โดยคว่ำมือและหงายมือนับเป็น 1 ครั้ง ไม่ต้องเกร็งมือขณะทำ

ชวนทำกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดการอารมณ์ด้วยการใช้เทคนิค

1. State management การตรวจระดับความตึงเครียด 3 บริเวณหลัก ได้แก่ บริเวณหน้าผาก บริเวณรอบหัวใจ และบริเวณท้อง โดยให้ระดับเป็นตัวเลขจาก 0-10 โดย 0 คือไม่ตึงเครียดเลย ไล่ไปจนถึง 10 คือ ตึงเครียดมากที่สุด

2. EFT การเคาะอารมณ์ เมื่อมีระดับความตึงเครียดจากการประเมิน State management เกิน 6 คะแนน

ที่มา: https://www.setsocialimpact.com/Article/Detail/77236

3. Anger desensitization จัดการกับความโกรธ โดยการนับตัวเลขจากไล่ลง 10-1 แล้วออกเสียงของตัวเลขแบบโกรธที่สุดไปถึงน้อยที่สุดตามตัวเลขที่นับลดลง เช่น พูดคำว่า 10 ด้วยน้ำเสียงโกรธสุด ๆ แล้วพูด 9 ด้วยน้ำเสียงที่ลดระดับความโกรธลงมาจาก 10

4. Breathing Relaxation ฝึกหายใจแบบเป็นจังหวะ ลดความเครียด ช่วยให้ผ่อนคลายอารมณ์ และช่วยให้นอนได้ง่ายขึ้น เช่น การหายใจแบบ 4-4-4, 4-7-8, Pursed lip breathing, Box breathing ลดความวิตกกังวล ปรับ mood ควบคุมอารมณ์ และอื่น ๆ

ชวนผู้รับบริการทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อลดความว้าเหว่ โดยการจัดให้มีกิจกรรมกลุ่มแบบได้มานั่งพูดคุย เล่าเรื่องราว ประสบการณ์ต่าง ๆ ในชีวิต แลกเปลี่ยนความรู้ วิธีแก้ปัญหาให้แก่กัน เพื่อให้ผู้รับบริการได้มีเพื่อนพูดคุย ได้เล่าเรื่องราวของตนเอง ได้ระบายความรู้สึกผ่านการเล่าเรื่องราวของตนเอง และมีการจัดกิจกรรมกลุ่มจิตอาสา เพื่อให้ผู้รับบริการได้ลองกลับไปทำงานร่วมกับผู้อื่นอีกครั้ง โดยคำนึงถึงระดับความสามารถของผู้รับบริการในการทำกิจกรรม เช่น จิตอาสาทำความสะอาดวัด ชุมชน ปลูกต้นไม้ในชุมชน ตายายอุปถัมภ์ จิตอาสาเป็นผู้นำชวนผู้สูงอายุนชุมชนมาออกกำลังกายสร้างเสริมสุขภาพ การเป็นจิตอาสาในโรงพยาบาล เป็นต้น

จากนั้นก็จะนำผู้ป่วยเข้าสู่บริบทการทำงานโดยค้นหาอาชีพที่ผู้ป่วยสนใจผ่านการได้ลองทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้านบน โดยคำนึงถึงความสามารถที่คงเหลืออยู่ของผู้รับบริการ แล้วทำการจัดหาอาชีพที่เหมาะสมให้กับผู้รับบริการ ส่งเสริมให้ผู้รับบริการสามารถทำงานนั้นได้ โดยให้ผู้รับบริการได้ลองลงมือทำจริง ลองประเมินและแก้ไขหากผู้รับบริการยังมีจุดที่ไม่สามารถทำได้ จนสามารถทำได้ตามที่ผู้รับบริการต้องการและตั้งใจไว้

ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก:

26 ท่า พัฒนาสมอง ด้วย Brain Gym

หมายเลขบันทึก: 710583เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2022 23:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2022 23:53 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท