ชีวิตที่พอเพียง  4342. เรียนรู้จากการทำงานตัดสินรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล พ.ศ. ๒๕๖๕


 

ผมเขียนเรื่องการเรียนรู้ของปี ๒๕๖๒ ไว้ที่ (๑)   ที่ประชุมวันเดียวกันกับปี ๒๕๖๕ คือวันที่ ๑๖ - ๑๘ ตุลาคม    แต่ปีนี้ประชุมวันอาทิตย์ – อังคาร    แล้ววันที่ ๑๙ ตามเสด็จไปทัศนาจรจังหวัดนครราชสีมา   

ในบันทึก (๑) ผมให้ลิ้งค์บันทึกของปีก่อนๆ ไว้ด้วย    จะเห็นว่าการประชุมนี้ประเทืองปัญญาต่อผู้เข้าร่วมประชุมอย่างผมมาก    เป็นการประชุมที่ผมคิดว่าประหลาดที่สุด คือประธานรู้น้อยที่สุดในกลุ่มคณะกรรมการทั้งหมด 

หลังปี ๒๕๖๒  การประชุมตัดสินรางวัลเป็น ออนไลน์ทั้งในปี ๒๕๖๓  และปี ๒๕๖๔  ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าสู้ประชุมออนไซต์ไม่ได้เลย   

การประชุมปีนี้เป็นแบบผสม   มีกรรมการต่างชาติมาประชุมที่โรงแรมโอเรียนเตล ๒ ท่าน    ประชุมออนไลน์ ๓ ท่าน    อีก ๒ ท่านเข้าประชุมไม่ได้    ส่วนกรรมการไทย ๔ คน เข้าประชุมวันที่ ๑๖ และ ๑๗ รวม ๓ ท่าน    ในวันที่ ๑๘ เข้าประชุมครบทั้ง ๔ ท่าน   ห้องประชุมของโรงแรมโอเรียนเตล ชื่อห้องน่าน อยู่ที่ชั้น ๔  ปรับปรุงใหม่เพื่อการประชุมที่เอื้อการประชุมออนไลน์โดยเฉพาะ    สะดวกมาก   

นวัตกรรมของวิธีเสนอข้อมูลของ SAC คือ ส่ง VDO เสนอสาระของ achievement ของ candidate  ใน very shortlist รวม ๑๐ ท่าน/กลุ่ม     ให้กรรมการ IAC ดูล่วงหน้า    ช่วยประหยัดเวลาของการประชุม   

รายชื่อผู้ได้รับเสนอชื่อสะสมบางส่วนมาตั้งแต่ปี ๒๕๖๒, ๒๕๖๓, ๒๕๖๔ และเมื่อรวมกับที่เสนอใหม่ในปี ๒๖๕๖ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น ๑๓๓ คน    คณะกรรมการ SAC ฝ่ายไทยคัดออกมาเป็น long shortlist ๒๐ ท่าน   แล้วคัดเป็น very shortlist ๑๐ ท่าน    เสนอรายละเอียด ๑๐ ท่านนี้ให้คณะกรรมการรางวัลนานาชาติตัดสิน    กรรมการซัก และให้ความเห็นกันไฟแลบทีเดียว     พร้อมๆ กับชมคณะกรรมการ SAC ว่าทำการบ้านมาดีมาก     เพราะใน ๑๐ คนนี้ SAC เสนอผู้มีผลงานเดียวกันทีมอื่นมาถึง ๒ คน     และเป็นข้อเสนอที่มีน้ำหนัก   

รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เน้นที่ผลงานที่ก่อประโยชน์ต่อสุขภาพหรือชีวิตคนจำนวนมาก ในหลายภูมิภาคหรือทั่วโลก    ตกเย็นเราก็ตกลงกันได้ว่า เหลือ ๕ กลุ่มที่วันรุ่งขึ้นจะตัดสินรางวัล    เป็น รางวัลด้านสาธารณสุข ๒ กลุ่ม (กลุ่มละ ๓ คน)    และรางวัลด้านการแพทย์ ๓ กลุ่ม (คน)     โดยมีบางกลุ่มต้องตรวจสอบให้ชัดว่าผลงานเกิดประโยชน์ต่อประเทศรายได้ต่ำ หรือต่อคนจนด้วยหรือไม่   คือหากผลงานนั้นยังราคาแพงมาก บริการไม่เข้าอยู่ในรายการคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า    โอกาสได้รางวัลจะต่ำมาก     กรรมการแนะนำว่า ในโอกาสต่อๆ ไปขอให้ทีม SAC เสนอข้อมูลประเด็นนี้ให้ชัดเจน   

เช้าวันที่ ๑๗ ผมชวนกรรมการช่วยกันพิจารณาเกณฑ์ตัดสินรางวัลด้านสาธารณสุข กับด้านการแพทย์ ว่ามีส่วนที่เหมือนกันอย่างไร  มีส่วนที่ต่างกันอย่างไร    โดยขอให้ ศ. ลินคอล์น เฉิน (Lincoln Chen) เป็นผู้ให้ความเห็นนำ    ท่านให้ความเห็นดีมาก    ว่ารางวัลด้านการแพทย์ให้แก่ผลงานค้นพบทางวิชาการ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของคนในวงกว้าง    โดยผมตีความว่า ผลงานหลักคือด้านวิชาการ   แต่ก็ต้องไปสู่การประยุกต์ใช้แล้ว   

ส่วนรางวัลด้านสาธารณสุขเน้นที่ผลงานดำเนินการต่อประชากรในลักษณะ  (๑) สร้างการเปลี่ยนวิธีการ (intervention),  นโยบายภาครัฐ (government policy),  หรือการดำเนินการขับเคลื่อนสังคม (social movement)    (๒) การเป็นผู้นำด้านสาธารณสุข โดยที่หลักฐานผลงานในฐานะผู้นำอาจไม่ได้อยู่ในลักษณะของผลงานวิชาการตีพิมพ์   (๓) การพิจารณาผลงานในฐานะผู้นำด้านสาธารณสุข พิจารณาได้ ๒ แบบ คือผลงานหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้ว   กับผลงานที่มีหลักฐานให้น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นมากมายในอนาคต   (๔) ผู้นำด้านการศึกษาด้านสุขภาพ ที่จะส่งผลกระทบสูงมากต่อบุคลากรสุขภาพในอนาคต   

ผมเสนอ PowerPoint  ๓ แผ่น 

 

 

เราใช้เวลาครึ่งชั่วโมงอภิปรายอย่างกว้างขวาง  และได้ข้อสรุปว่า จะเสนอให้มีรางวัลที่สาม ทุกๆ ๓ ปี (ที่ผมตีความว่าน่าจะชื่อ Leadership in Future Health Innovation Prize)    โดยประกาศล่วงหน้าให้มีคนเสนอเข้ามา     เป็นรางวัลในลักษณะที่มีข้อมูลหลักฐานว่าเป็นผลงานด้านภาวะผู้นำที่จะก่อผลกระทบด้านสุขภาพต่อผู้คนอย่างกว้างขวางในอนาคตอันใกล้     SAC จะคิดเรื่องนี้ให้เป็นรุปธรรม อีเมล์ปรึกษากรรมการ IAC   และนำเสนอต่อที่ประชุมมูลนิธิในเดือนมิถุนายน ๒๕๖๖ 

เรื่องรางวัลที่ ๓ นี้    ดูจะมีผู้ไม่เห็นด้วย  

ผมเสนอต่อที่ประชุมว่า SAC อาจจัด Side Meeting ในการประชุม PMAC2023 เพื่อขอปรึกษาผู้เข้าร่วมประชุมที่สนใจ    ว่ามีลู่ทางให้รางวัลแก่ผู้แสดงบทบาทผู้นำด้านการ transform ระบบสุขภาพในอนาคต     ที่น่าจะมีผลกระทบอย่างกว้างขวาง ได้อย่างไร   

 เราใช้เวลาอีกชั่วโมงเดียวก็สรุปรางวัลทั้งสองด้านได้ เป็นฉันทามติ           

   วันที่ ๑๘ ตุลาคม เป็นการประชุมร่วม IAC – SAC เพื่อให้กรรมการ IAC  ให้คำแนะนำต่อ SAC ว่าควรทำงานเชิงรุกเพื่อค้นหาผลงานอะไรบ้าง เพื่อนำสู่การพระราชทานรางวัล     เป็นสองชั่วโมงที่ประเทืองปัญญายิ่ง    ว่ามองจากมุมของความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ และการสาธารณสุข    โลกเรากำลังเคลื่อนไปอย่างไรบ้าง     ความยากอยู่ที่การค้นหาบุคคล ทีมงาน หน่วยงาน หรือโครงการ ที่เป็นผู้สร้างความก้าวหน้าสำคัญนั้น   ที่ก่อผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของผู้คนจำนวนมาก

    ทีม SAC ได้การบ้านไปดำเนินการใน ๑ ปีข้างหน้า     เพื่อค้นหาเชิงรุก ว่ามีผลงานใดบ้างที่เกิดผลกระทบสูงมากพอที่สมควรได้รับการยกย่อง    และใครควรได้รับการยกย่อง      

เรากินอาหารเที่ยงเลี้ยงฉลองความสำเร็จของงานที่ภัตตาคารฝรั่งเศส นอร์มังดี   ที่อาหารสุดอร่อยและไฮโซ    อยู่บนชั้น ๕ เห็นวิวแม่น้ำเจ้าพระยาสวยงามมาก    พรุ่งนี้เราจะตามเสด็จกรมสมเด็จพระเทพรัตน์ฯ ไปเลี้ยงฉลองทั้งเที่ยงและเย็น ที่โคราช                   

วิจารณ์ พานิช

๑๘ ต.ค. ๖๕    

1 รูปห้องประชุม

2

3

4 แม่น้ำเจ้าพระยา ถ่ายจากภัตตาคาร

5

6 ห้องรับแขก โรงเรียนโอเรีนยเตล

7 ดอกเบญจมาศ

หมายเลขบันทึก: 710549เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2022 19:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2022 19:32 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท