วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙)  ๑๔๒. จัดการ prioritization และ alignment ของระบบ ววน.


 

ชื่อของบันทึกนี้ผุดขึ้นมา ๑ คืนหลังการประชุมคณะกรรมการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้อำนวยการ สกสว.   ระหว่างเดินออกกำลังกายตอนเช้ามืดวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๕

ในการประชุมเมื่อเย็น - ค่ำวันที่ ๙ ตุลาคม    ท่าน ผอ. สกสว. (รศ. ดร. ปัทมาวดี โพชนุกูล) นำเสนอการพัฒนา management platform ของระบบบริหารกองทุน ววน. อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ     ช่วยให้มีการจัดสรรงบประมาณของกองทุน ววน. อย่าง evidence-based   ไม่ถูกวิ่งเต้นหรือบีบให้อยู่ใต้ politics-based ที่เป็นจุดอ่อนของประเทศไทย   ที่จะเป็นตัวถ่วงให้ก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางในปี ๒๕๘๐ ไม่สำเร็จ   

ผมขอเสนอให้ขับเคลื่อนไปอีกระดับหนึ่ง คือจัดการ solidarity ของระบบ ววน.   ผ่านกลไก prioritization management  และ alignment management   โดยมีเป้าหมายคือ ใช้ระบบ ววน. ขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวสู่ประเทศรายได้สูง สังคมดี ในปี ๒๕๘๐ 

วิธีการไม่ซับซ้อนยากเย็น เป็นเรื่องตรงไปตรงมา    คือนำเอาแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี    แผน ๑๓ และแผนอื่นๆ มาวิเคราะห์สู่การสร้างเกณฑ์ประเมิน Graduated Thailand Achievement - GTA (หมายถึงการบรรลุความเป็นประเทศรายได้สูง สังคมดี)    โดยร่วมกับทุกภาคส่วนของระบบ ววน. ในการสร้างเกณฑ์ SRI (Science, Research and Innovation) for GTA 2037 สำหรับนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์จัดสรรงบประมาณ กองทุน ววน.    และใช้ในการประเมินว่า ระบบ ววน. ทำงานตรงเป้าแค่ไหน   โดยมีการเก็บข้อมูล    นำมาทำกระบวนการ DE – Developmental Evaluation ในกลุ่มองค์กรสมาชิกของระบบ ววน.   

องค์กรสมาชิกของระบบ ววน. ประกอบด้วย สอวช., สกสว., PMU ๙ หน่วยงาน, หน่วยงานรับ FF – Fundamental Fund ๑๗๐ หน่วยงาน   และบริษัทเอกชนที่เน้นทำงานนวัตกรรม   

วิจารณ์ พานิช

๑๒ ต.ค. ๖๕          

 

หมายเลขบันทึก: 710548เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2022 18:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2022 18:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท