กิจกรรมต่อยอดสู่อาชีพ


 

ภาวะเปราะบาง

 

              สวัสดีค่ะทุกท่าน วันนี้ดิฉันจะมาเขียนบทความเรื่องภาวะเปราะบางและการให้กิจกรรมบำบัดรายบุคคลให้ไปถึงเป้าหมายการมีงานทำได้โดยพึ่งพิงคนอื่นน้อยที่สุด 

 

ชื่อ คุณ เทพ(นามสมมติ)

เพศ ชาย

อายุ 45 ปี

ผลการประเมินจากแบบประเมินภาพภาวะเปราะบาง (PFFS-T) ระดับ 7

ไม่อยู่ในระดับเปราะบาง

High 2+ scores = เดิน

Dx. จิตเวช

 

           จากข้อมูลผลการประเมินด้วยแบบประเมินภาวะเปราะบางข้างต้นพบว่า ผู้รับบริการไม่จัดเป็นกลุ่มคนเปราะบางแต่อาจมีปัญหาเรื่องการเดินเล็กน้อยเพราะเคยผ่าตัดขาข้างซ้าย

           จากการประเมินโดยใช้Mini-Cog พบว่ามีปัญหาด้าน recall memory ปัจจุบันผู้รับบริการกำลังเรียนกศน. เผื่อนำวุฒิที่ได้ไปใช้สมัครงานแต่ตัวเองก็รู้ดีว่าเป็นไปแทบไม่ได้ ความชอบและงานอดิเรกที่ผู้รับบริการชอบทำคือ การเล่นดนตรีเช่น กีตาร์ กลองยาว รวมถึงกีฬาที่ชอบคือ ตะกร้อ อีกทั้งยังชอบทำกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหวร่างกายแต่มีอุปสรรคทางกายเล็กน้อยจากการผ่าตัดดามเหล็กที่ต้นขาซ้าย จึงทำให้รู้สีกขาข้างซ้ายอ่อนแรงเวลาอยู่ในท่าเดิมนานๆแล้วต้องเปลี่ยนท่าทาง บางครั้งหากต้องขึ้นบันไดหลายขั้นจะต้องจับราว/มีคนช่วย

           เมื่อได้วิเคราะห์ทักษะความความสามารถและความสนใจของผู้รับบริการจึงได้ข้อสรุปว่า กิจกรรมที่ใช้จะเป็นการดึงและพัฒนาศักยภาพของตัวผู้รับบริการให้สามารถนำทักษะหรือองค์ประกอบนั้นๆไปใช้ต่อยอดในการวางเป้าหมายการมีงานทำได้ ซึ่งก่อนอื่นดิฉันจะใช้การบริหารสมอง(Brain gym) เพื่อให้สมองสองซีกทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น ได้สมาธิและความผ่อนคลาย จดจ่อกับปัจจุบัน เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนทำกิจกรรม

 


                

               ถัดมาเป็นการทำกายบริหารเพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อขาทั้งสองข้าง และเป็นการให้ผู้รับบริการได้ขยับเปลี่ยนท่าทางอย่างเป็นจังหวะและฝึกความมั่นคงการเคลื่อนไหวของขา

 

ที่มา : https://youtu.be/ZLZ9cZaKFCI

              อีกทั้งยังสามารถใช้กิจกรรมกีฬาประยุกต์เป็นลักษณะกลุ่มเช่น เตะโบว์ลิ่งขวดน้ำ เพื่อให้ผู้รับบริการได้ลุกขึ้น ขยับร่างกายเสริมสร้าง motor skill, process skill และ Social  skill

 

 

กิจกรรม วาดและเล่า

              กิจกรรมนี้มีที่มาจากการที่ดิฉันทำการประเมินผู้รับบริการผ่านการทำกิจกรรมด้วยการให้ผู้รับบริการเลือกใช้สีน้ำหรือสีไม้เพื่อวาดภาพตามอิสระลงกระดาษร้อยปอนด์ขนาดA5 โดยผู้รับบริการเลือกใช้สีไม้ ซึ่งทำให้ดิฉันได้เห็นความสามารถการวาดภาพจากสีไม้ของผู้รับบริการ รวมถึงผู้รับบริการยังรับรู้ความสามารถการใช้สีไม้ของตนเอง สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขณะทำกิจกรรมได้เหมาะสมเช่น เมื่อสีทู่จะมองหาสีแท่งใหม่ที่เป็นสีเดิม มีการวางแผนการเคลื่อนไหวรยางค์บน,การทำงานBilateral, Eye-hand coordination ที่ดี ,มีสมาธิจดจ่อทำชิ้นงานจนสำเร็จ ถึงแม้ผู้บำบัดจะคอยถามหรือชวนคุยก็ไม่มีวอกแวก สามารถแยกแยะสมาธิได้ มีความรู้ความเข้าใจเหตุผลที่เลือกวาดภาพได้ และผู้บำบัดสามารถสัมผัสได้ถึงความสบายใจและความผ่อนคลายของผู้รับบริการขณะได้ทำกิจกรรมดังกล่าว ดิฉันจึงคิดว่ากิจกรรมนี้น่าสนใจและสามารถนำมาพัฒนาต่อยอดไปสู่เป้าหมายการมีงานทำได้ 

             

                ขั้นตอนการทำกิจกรรมนี้จะมีลักษณะที่คล้ายกับกิจกรรมที่จัดเพื่อประเมิน แต่สิ่งที่เพิ่มคือ การสร้างแรงจูงใจของผู้รับบริการในการวาดภาพผ่านการพูดคุยเรื่องราว/ประสบการณ์ ที่ผู้รับบริการอยากถ่ายทอดออกมาผ่านภาพ รวมถึงวาดภาพภาพเสมือนจริงหรือภาพตามแบบ เพื่อเป็นการท้าทายความสามารถ และพัฒนาทักษะการวาด(การฝึกลายเส้น) ในระหว่างการทำชิ้นงานผู้บำบัดจะให้แรงเสริมทางบวกอย่างเหมาะสม แสดงความจริงใจ ไม่ตัดสิน เพื่อให้ผู้รับบริการมีความมั่นใจในผลงานทางศิลปะของตนเอง เมื่อผลงานสำเร็จผู้บำบัดจะสอบถามถึงรายละเอียด องค์ประกอบภาพ หรือเหตุผลที่เลือกวาด เป็นต้น เพื่อเป็นการทบทวนความจำ (recall memory) หลังการทำกิจกรรมและกล่าวชื่นชม

 

สิ่งที่นำมาต่อยอดไปเป็นอาชีพได้คือ การทำโปสการ์ดวาดภาพสีไม้

        เป็นกิจกรรมที่มีชิ้นงานและได้ดึงศักยภาพของผู้รับบริการออกมา กิจกรรมนี้ไม่เพียงแต่ได้ทักษะการวาดภาพ แต่ยังได้ชิ้นงานเพื่อนำไปสร้างรายได้ โดยอาจวาดอิสระหรือตามหัวข้อที่คนอื่นกำหนด หากในขณะผู้รับบริการทำหรือต้องการพัก อาจมีการสร้างบรรยากาศให้ผ่อนคลายเช่น เป็นสถานที่โล่ง ลมถ่ายเท มีเปิดเสียงกีตาร์คลอเบาๆ

        หากในอนาคตที่ผู้รับบริการมีการเรียนรู้ทักษะที่มากพอ ก็สามารถนำความรู้และทักษะที่ตนมีจากกิจกรรมนี้ไปถ่ายทอดเป็นความรู้ให้บุคคลอื่นๆได้อีกต่อไปด้วย เพราะผู้รับบริการมีภาวะความเป็นผู้นำและมีอัธยาศัยต่อเพื่อนๆดี (Social interaction skill) ซึ่งเป็นทักษะหนึ่งที่สำคัญต่อการทำงานเช่นกัน

 

ขอบคุณค่ะ

6323017 ชนิสรา คงวิวัฒนากุล 

 

หมายเลขบันทึก: 710546เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2022 01:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2022 01:15 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท