แหล่งข้อมูลสมุนไพรบนอินเทอร์เน็ต


มีโอกาสได้รวบรวมข้อมูลสมุนไพรเพื่อจัดทำฐานข้อมูลสมุนไพรเพื่อการรักษาทางเลือก ร่วมกับน้องต้น-ธีรยุทธ บาลชน และน้องนักศึกษาฝึกงาน วรพงศ์ หล้าทุม ทำให้เห็นแหล่งบริการข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจไม่มากก็น้อย

1.โครงการจัดทำฐานข้อมูลพืชสมุนไพรที่สำรวจและวิจัยภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ) มหาวิทยาลัยขอนแก่น (อพสธ. มข.)  เป็น  ฐานข้อมูลพืชสมุนไพร โดยเป็นโครงการที่อยู่ภายใต้แผนแม่บท อพ.สธ. ระยะ 5 ปีที่ห้า (1 ตุลาคม 2554 – 30 กันยายน 2559) เพื่อเป็นฐานข้อมูลพันธุกรรมพืชและพืชสมุนไพรของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่ออนุรักษ์และเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมและคุ้มค่า ตลอดจนเป็นการสร้างข้อมูลเพื่อนำไปสู่การพึ่งตนเองในการรักษาสุขภาพ  https://home.kku.ac.th/orip2/thaiherbs/

2. หนังสือ ภูมิคุ้มกันการระบาดของโควิด-19 เป็น E-book ที่รวบรวมวิธีการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่ติดโควิด และรายชื่อสมุนไพรที่มีฤิทธิ์ป้องกัน เขียนโดย แพทย์หญิงโศรยา ธรรมรักษ์ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร โรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงในด้านสมุนไพรและสุขภาพ ซึ่งเป็นหนังสือที่มีเนื้อหาครบถ้วน ทันสมัยและน่าเชื่อถือ  มี PDF fulltext ที่  https://kku.world/gj08m

3. กรมการแพทย์แผนไทยฯ เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทจากการใช้ประโยชน์ของแพทย์แผนไทยและสมุนไพร เพื่อนําไปใช้ค้นหาในระบบบริการสุขภาพ ตัวอย่างเช่น สามารถสืบค้นข้อมูลสมุนไพรพจนานุกรมศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ทั้งยังสามารถตั้งกระทู้ถามตอบเกี่ยวกับข้อมูลสมุนไพร https://www.dtam.moph.go.th/index.php?lang=th

4. สมุนไพรดอทคอม เป็นเว็บไซต์แหล่งเรียนรู้พืชสมุนไพรไทยมากกว่า 999 ชนิด มีการอัพเดตข่าวสาร พร้อมรายละเอียดรูปภาพ ประโยชน์ รวมทั้งบทความสุขภาพที่น่าสนใจไว้มากมาย https://www.samunpri.com/

5. Medthai.com เว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลและองค์ความรู้เรื่องสมุนไพรไทยและจีนที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ โดยมีหลักฐานวิทยาศาสตร์รองรับ https://medthai.com/

6.หนังสือสรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด  เป็นเว็บไซต์ที่นำเสนอเนื้อหาจากหนังสือสรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด ซึ่งเภสัชกรหญิงสุนทรี สิงหบุตรา เภสัชกรด้านเภสัชสาธารณสุข หัวหน้าฝ่ายวิชาการ กองเภสัชกรรม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้รวบรวมและเรียบเรียง ได้บันทึกไว้ ซึ่งต่อมาทางสำนักอนามัยฯ ได้นำหนังสือดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อใช้ประโยชน์ในงานของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

ขอบคุณรูปจาก https://kku.world/e3s1i

7. หน่วยบริการข้อมูลสมุนไพร   ฐานข้อมูลสมุนไพรไทยสำหรับการวิจัย http://medplant.mahidol.ac.th/index.asp ได้เฉพาะชื่อเรื่องและชื่อวารสาร (secondary source)  มีฐานข้อมูลพืชพิษ (tertiary source) วารสารสมุนไพรไทย (primary source) และจุลสารสมุนไพร (tertiary source) และเรื่องน่าสนใจต่าง ๆ จัดทำโดยสำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และยังสามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลต่างๆ

หมายเลขบันทึก: 708333เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2022 16:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2022 16:48 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท