บทบาทห้องสมุดในการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก


สรุปสาระสำคัญ การประชุมวิชาการในหัวเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขึ้นในวันที่ 10 สิงหาคม 2561 พอดีกำลังเคลียร์ไฟล์จากคอมพิวเตอร์ แม้จะจัดมาหลายปีแล้ว แต่เนื้อหาที่ได้อาจจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจ

จากเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป็นกระแสโลกที่นานาประเทศรวมทั้งประเทศไทยได้ลงนามและมีคํามั่นร่วมกันในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ซึ่งมีความสัมพันธ์ในด้านการสื่อสารและสารสนเทศ การศึกษา วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ  วัฒนธรรม สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เพื่อมุ่งเป้าหมายความยั่งยืน  17 ด้าน ได้แก่ 1)ขจัดความยากจน  2)ขจัดความหิวโหย 3)การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี 4)การศึกษาที่เท่าเทียม 5)ความเท่าเทียมทางเพศ 6)การจัดการน้ำและสุขาภิบาล 7)พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ 8) การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ 9)อุตสาหกรรม 10) นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน 11) ลดความเหลื่อมล้ำ 12) เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน 13)แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน 14)การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 15)การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล  การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก 16)สังคมสงบสุขยุติธรรมไม่แบ่งแยก  และ 17)ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (UNESCO, 2015) 

สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สนับสนุนการศึกษาในระดับอุดมศึกษา มุ่งเป้าไปสู่การสนับสนุนการเรียนการสอนให้นักศึกษาเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ และมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแล้ว ยังเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นทั้งแก่สถาบันการศึกษา ชุมชน และสังคมของจังหวัดขอนแก่นและของประเทศ รวมถึงการยกระดับทักษะความเป็นผู้นำด้านการบริหารจัดการห้องสมุด แหล่งเรียนรู้และศูนย์บริการข้อมูลอย่างยั่งยืน เพื่อการขับเคลื่อนองค์กรยุคใหม่ให้ได้รับการพัฒนารอบด้าน พัฒนาแบบก้าวกระโดด สามารถฝ่าฟันกับวิกฤตต่างๆและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง สามารถสนับสนุนการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้  และให้ผู้ปฏิบัติงานด้านห้องสมุด ได้ตระหนักถึงอิทธิพลทางด้านสารสนเทศและการสื่อสาร ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการก้าวสู่เป้าหมายในการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงได้จัดการประชุมวิชาการในหัวเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขึ้นในวันที่ 10 สิงหาคม 2561 ณ โดยมีผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศมาให้แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทของสารสนสนเทศต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน  เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานด้านห้องสมุดและแหล่งสารสนเทศได้เรียนรู้ถึงกระแสโลกที่มีผลต่อการจัดการทรัพยากรและเนื้อหา (Content) มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในบริบทด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม  สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรการศึกษาที่เกี่ยวข้องสามารถนำมาเป็นโจทย์การวิจัย  และบูรณาการใช้เทคโนโลยีและการจัดการสารสนเทศกับองค์ความรู้ในด้านต่างๆ นำพาประเทศชาติไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้  ซึ่งมีวัตถุประสงค์เฉพาะของการจัดสัมมนาดังนี้

  1. เพื่อให้ความรู้เรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแก่ผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการสารสนเทศสำหรับนำไปประยุกต์ใช้ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
  2. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้โจทย์การวิจัยที่สามารถบูรณาการใช้เทคโนโลยีและการจัดการสารสนเทศกับองค์ความรู้ด้านต่างๆ 
  3. เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้กระแสโลกเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน


กลุ่มเป้าหมาย  1. บรรณารักษ์และนักเอกสารสนเทศ  นักศึกษาบัณทิตศึกษาให้หลักสูตรสารสนเทศ สังคมศาสตร์ และการวิจัยวัฒนธรรม  3. ผู้ปฏิบัติงานศูนย์วิจัยเฉพาะทาง/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

หัวข้อในการประชุมวิชาการ ได้แก่ 

-การวิจัยทางด้านสารสนเทศเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน   โดย Prof. Gobinda Chowdhury  ผู้เชี่ยวชาญด้านเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน จาก Northumbria University

  -การบรรยายเรื่อง อยู่ดี กินดี มีสุข การพัฒนาความยั่งยืนและการบูรณาการของศาสตร์   วิทยากรโดย   1. นายคุรุจิต  นาครทรรพ     2. นายปราโมทย์  วิทยาสุข   และ   3. นายสุรพล  เพชรวรา   กรรมการสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น

มีผู้ทรงคุณวุฒิ อีก 2 ท่าน ได้แก่ ศ.กุลธิดา ท้วมสุข  และ ผศ.ดรใกัญญารัตน์ เควียเซ่น  จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น     ในการดำเนินการประชุมวิชาการในครั้งนั้นด้วย

ในการประชุมวิชาการมีสาระที่น่าสนใจมากมาย  ขออนุญาตสรุปการดำเนินงานของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน มีดังนี้

 

ด้านบริการ 

การส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับความยั่งยืนในมิติต่างๆ  เพื่อให้นักศึกษาหรือผู้ใช้บริการได้ตระหนักและซึมซับแนวคิดด้านความยั่งยืน  ได้ดำเนินการจัดบริการที่หลากหลาย โดยออกแบบกิจกรรมหรือบริการจากแนวคิดของการประหยัด ลดการใช้พลังงาน และใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางอินเทอร์เน็ต   ได้จัดให้บริการถุงผ้าลดโลกร้อน สำหรับใส่หนังสือ เมื่อผู้ใช้บริการยืมหนังสือจำนวนมาก ลดการใช้ถุงพลาสิก

ใช้บริการแบบฟอร์มออนไลน์เพื่อลดการใช้กระดาษ และประหยัดพลังงานในการเดินทางมาขอยื่นคำร้องที่ห้องสมุด  เช่น จองห้องเรียนรู้แบบกลุ่มในระบบออนไลน์ แบบฟอร์มขอใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุด  เป็นต้น

การพิมพ์เอกสารในระบบออนไลน์ เพื่อลดจำนวนเครื่องพิมพ์ลงแต่ยังตอบสนองความต้องการใช้บริการของผู้ใช้บริการได้ ผู้ใช้บริการสามารถส่งพิมพ์งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง และรับงานพิมพ์จากเครื่องบริการที่จัดในสถานที่เหมาะสมที่ตั้งไว้ในจุดต่างๆในห้องสมุดและทั่วทั้งมหาวิทยาลัยได้เพียงระบุ Account ของ KKU นอกจากนั้นยังเป็นการลดพลังงานในการเดินทางที่ต้องไปติดต่อร้านถ่ายเอกสาร ในเครื่องนี้ยังสามารถสแกนเอกสารได้ด้วยตนเองอีกด้วย

การใช้โปรแกรมแนะนำห้องสมุดด้วย 360 องศา ซึ่งสามารถแนะนำสถานที่และทรัพยากรของห้องสมุดที่จัดทำด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้ทราบบริการต่างๆ ได้จากการเรียกดูผ่านมือถือ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ห้องสมุดจัดไว้ให้ เป็นการประหยัดกระดาษที่มักจัดทำเป็นแผ่นพับ 4สีในการประชาสัมพันธ์ห้องสมุดและมักพบว่าผู้ใช้บริการมักจะไม่ใส่ใจในสารสนเทศ  นอกจากนั้นยังสามารถช่วยลดภาระงานของบุคลากรอีกด้วยในการแนะนำ

รณรงค์การใช้แก้วใช้ซ้ำ เป็นการส่งเสริมความยั่งยืนในด้านมิติด้านสิ่งแวดล้อม ที่สำนักหอสมุดจัดเป็นกิจกรรมรณรงค์ที่ขอความร่วมมือจากร้านค้าที่เป็นเครือข่ายความร่วมมือในการจำหน่ายเครื่องดื่มในบริเวณห้องสมุด ให้ลดราคาเครื่องดื่มหากนักศึกษาหรือผู้ใช้บริการนำแก้วน้ำดื่มมาเอง  เป็นการลดปริมาณขยะที่เป็นขวดพลาสติก

การรณรงค์การแยกขยะ และขยะแลกแต้ม  สำนักหอสมุดได้จัดหาถังขยะแบบแยกประเภท 3 ประเภท  ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่  และขวด  มาเพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรแยกชนิดขยะก่อนทิ้ง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการขยะโดยเฉพาะขยะประเภทนำกลับมามาใช้ใหม่ได้ และในการจัดการขยะกลุ่มผู้รับผิดชอบเรื่อง Green Library ได้ให้ความรู้กับแม่บ้านในการจัดการขยะแต่ละประเภทที่ไปรวบรวมมาให้ถูกต้องเหมาะสม ส่วนกิจกรรมขยะแลกแต้ม ที่ให้นักศึกษาหรือผู้ใช้ลงทะเบียนร่วมกิจกรรมและทิ้งขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งถังขยะจะเป็นถึงขยะแบบพิเศษมีชิปพิเศษที่สแกนได้ว่าผู้ที่สมัครทิ้งขยะไปเป็นปริมาณเท่าใดคิดเป็นแต้มจำนวนกี่แต้ม แล้วนำแต้มมาใช้แลกคะแนนหรือหน่วยกิตวิชา...ต่อไป 

ด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี 

กิจกรรมนี้มุ่งที่กลุ่มบุคลากร ด้วยความเชื่อที่ว่า บุคลากรคือกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร ดังนั้นหากบุคลากรมีสุขภาพการและจิตที่ดี จะส่งผลต่อการทำงานที่ดี นอกจากนั้นการที่บุคลากรมีสุขภาพที่ดีจะส่งผลต่อการลดการเจ็บป่วย ส่งผลที่ดีต่อครอบครัว เศรษฐกิจและสังคมได้ กิจกรรมที่ได้ดำเนินการ ได้แก่ กิจกรรม Happy work place กิจกรรมการ Happy 8 เน้นการออกกำลังกายเผื่อป้องกันโรคออฟฟิสซินโดรม โดยการสนับสนุนของเครือข่าย สสส. การสาธิตการปลูกผักสวนครัวในที่ทำงานนอกจากจะสนับสนุนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ผักปลอดภัยแล้ว ยังทำให้บุคลากรได้มีกิจกรรมผ่อนคลาย การส่งเสริมการทานอาหารสุขภาพด้วยการรณรงค์ให้ห่ออาหารสุขภาพมาทานมื้อเที่ยงด้วยกันรวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องโภชนาการ เช่น ไขมันทรานส์   รณรงค์ให้บุคลากรตรวจสุขภาพประจำปี จัดกิจกรรมกีฬา 3 หน่วยงานเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย  

การบริหารจัดการอาคารและสิ่งแวดล้อม  ใช้แนวคิดการประหยัดพลังงาน และเอื้อต่อการใช้สถานที่ ได้แก่ การประยุกต์ใช้แนวคิดเรื่อง Green Library การศึกษาเรื่อง Carbon Footprint  การติดแผ่นกรองแสง ลดความร้อน  การปรับเปลี่ยนหลอดไฟ เป็นหลอดตะเกียบ/หลอดประหยัด  การปรับหลอดไฟเป็นระบบอัตโนมัติให้เปิดเฉพาะเมื่อมีคนใช้งาน  การปรับพื้นที่สวนให้สวยงาม การปรับเปลี่ยนพื้นที่จอดรถเพื่อการจัดการเสียงและปริมาณคาร์บอนมอร์น๊อคไซด์กับพื้นที่อ่าน การเปิดประตูห้องสมุดเพิ่มเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าใช้ห้องสมุดของผู้ใช้บริการ การนำระบบถังขยะอัจฉริยะมาใช้เพื่อป้องกันขยะล้นถัง และการปรับการทำงานของเครื่องปรับอากาศในการโหลดไฟ


ในด้านการจัดการสารสนเทศ  เน้นถึงการอนุรักษ์เก็บรักษาข้อมูล และความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศโดยอาศัยประโยชน์จากเทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้  ซึ่งหลายๆ ห้องสมุดได้ดำเนินการเช่นกัน อาจแตกต่างไปกันไปกับลักษณะของประเภทและเนื้อหาของข้อมูล สำนักหอสมุดได้ดำเนินการดังนี้ การอนุรักษ์และรักษาเอกสารจดหมายเหตุ การรวบรวมข้อมูลและเผยแพร่ในคลังสื่อการศึกษาแบบเปิด (KKUOER) โดยได้รับการสนับสนุนจาก สวทช. การจัดทำข้อมูลอีสานสนเทศ การใช้โปรแกรม 3 D ในการเก็บข้อมูลพัฒนาอาคารสำคัญๆ ในมหาวิทยาลัยขอนแก่นในโครงการ 3D Achritecher Cultural  การเก็บ Collection รัชกาลที่ 9 การส่งเสริมการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศเฉพาะทางด้านศิลปะวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงซึ่งประกอบด้วยเอกสารวิชาการแล้ว ยังมีผลงานศิลปะ งานกิจกรรม(Event) สูจิบัตร และผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปะในลุ่มน้ำโขง

การจัดทำเนื้อหาดิจิทัล (Digital Content) เป็นวิธีการที่ห้องสมุดการจัดการสารสนเทศนี้สิ่งที่ต้องคำนึงคือด้านลิขสิทธิ์ การดัดแปลงสื่อ การป้องกันการละเมิดใช้ในการจัดการสารสนเทศเพื่อความยั่งยืน ลิขสิทธิ์จากบทบาทการเป็นผู้เผยแพร่ข้อมูล ดังนั้นการดำเนินงานนี้บุคลากรผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2558 และเรียนรู้ด้านการใช้เครื่องมือในการทำดิจิทัลต่างๆ


กิจกรรมที่ได้ทำอีกประการหนึ่ง คือ บริการวิชาการเพื่อความยั่งยืนของชุมชน  สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ดำเนินกิจกรรม ให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาในการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ในชุมชน  ซึ่งดำเนินการมานานกว่า 15 ปี ในด้านนี้กิจกรรมที่สำคัญคือ การเป็นที่ปรึกษาในการจัดตั้งห้องสมุดและเป็นวิทยากรในกิจกรรม 50  ห้องสมุดเพื่อน้อง 50 ปีมหาวิทยาลัยขอนแก่น นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งรวบรวมหนังสือบริจาคและอภินันทนาการแก่เครือข่ายห้องสมุด ซึ่งได้รวบรวมหนังสือบริจาคที่มีหลายฉบับ หรือมีเนื้อหาที่ไม่สอดคล้องกับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาให้กับห้องสมุดเครือข่ายในจังหวัดขอนแก่น และห้องสมุดต่างประเทศโดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น เครือข่ายห้องสมุดในจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ เครือข่ายห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้จังหวัดขอนแก่น ที่มีจำนวนสมาชิก 11 แห่ง เครือข่ายห้องสมุดในชุมชน เช่นห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดวัด เป็นต้น 

กิจกรรมในด้านการจัดการความรู้ ใช้แนวคิดการพัฒนาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานให้เป็นผู้มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ (learning Organization) และเป็นการถ่ายโอนความรู้ภายในจากตัวบุคคลสู่คนรุ่นหลัง ทำให้องค์กรมีความยั่งยืน ไม่เกิดความเสี่ยงหากมีการลาออกของผู้ปฏิบัติงาน เป็นกิจกรรมด้านความยั่งยืนของความเชี่ยวชาญในองคืกร ระยะแรกเป็นการดำเนินการโครงการจัดการองค์ความรู้ภายในสำนักหอสมุด และขยายกิจกรรมไปยังการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานภายนอกทั้งภายในและต่างประเทศ  ทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชน  เช่น ห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ มูลนิธิส่งเสริมทีคิวเอ็มในประเทศไทย หน่วยงานทางด้านคอมพิวเตอร์และไอที เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์ ให้เกิดการเรีรยนรู้กระบวนการทำงาน รูปแบบการบริหารจัดการ การตลาด การประชาสัมพันธ์  ลูกค้าสัมพันธ์ การพัฒนานวัตกรรมบริการ และการสร้างเครรือข่ายในการทำงานร่วมกันในอนาคต

การจัดการความรู้ที่สำนักหอสมุดได้ดำเนินการอีก 1 กิจกรรมคือการจัดทำวารสารอินฟอร์เมชั่น ซึ่งเป็นวารสารทางด้านการบริหารจัดการห้องสมุดและการจัดการสารสนเทศ ปัจจุบันได้รับการประเมินให้อยู่ในกลุ่มคุณภาพที่ 1 สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วารสารทางวิชาชีพนี้จัดเป็นแหล่งตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ จึงเป็นประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้  สนับสนุนการศึกษาในหลักสูตรทางด้านการจัดการสารสนเทศ  และการปฏิบัติงานของบุคลากรในวิชาชีพ

ด้านการบริหารจัดการองค์กร

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ตั้งธงว่าจะเป็นหน่วยงานที่มีการจัดการด้วยนวัตกรรม ในการมุ่งสู่เป้าหมายการจัดการที่ยั่งยืน เน้นถึง การประหยัดพลังงาน การประหยัดกระดาษ โดยอยู่ภายใต้กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง กิจกรรมที่พัฒนา คือ การพัฒนาคำขอใช้งานระบบออนไลน์ อาทิ ใช้ระบบ E-meeting  ระบบการลาออนลน์ ระบบผลการการประเมินออนไลน์  การขอรถ การแจ้งซ่อม การจองห้องประชุม นอกจากการมุ่งเน้นด้านการลดพลังงานแล้ว กิจกรรมที่จัดทำขึ้นยังตอบสนองต่อการปรับปรุงกระบวยการในหมวด  6 การจัดการกระบวนการ ตามเกณฑ์ PMQA  ที่สะท้อนให้เห็นประสิทธิภาพของการดำเนินงานองค์กร

การอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีไทย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้อนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีไทยทั้งในด้านการจัดการสารสเนทศดังที่กล่าวมาข้างต้น และส่งเสริมบุคลากรในการทำบุญตามประเพณีตามที่มหาวิทยาลัยจัดขึ้น  เช่น สงกรานต์ ลอยกระทง  ส่งเสริมบุคลากรเข้าวัดฟังธรรม อุปสมบท เพื่อการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี  ส่งเสริมการเป็นคนมีน้ำใจเอเฟื่อเผื่อแผ่ จิตอาสา โดยจัดกิจกรรมโครงการนักศึกษาจิตอาสาให้มาปฏิบัติที่ห้องสมุด  และกิจกรรม Charity ขายของมือสองหางบประมาณสมทบกับการจัดตั้งห้องสมุดในชุมชน 


ในการประชุมวิชาการครั้งนั้น มีการระดมสมองโดยการประชุมกลุ่มย่อย  ข้อเสนอแนะที่ได้รับในการใช้การจัดการสารสนเทศเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยังยืนของโลก  หรือหัวข้อที่น่าสนใจในการศึกษาวิจัย  พบว่า ผู้เข้าร่วมการสัมมนา เสนอว่า ห้องสมุด หรือสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ เสนอควรมีการศึกษาหรือดำเนินงานในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้

ด้านการศึกษาที่มีคุณภาพและการศึกษาตลอดชีวิต

-การพัฒนาแบบทดสอบเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าเรียนระดับอุมศึกษา ที่เพิ่มเติมจากการวัดองค์ความรู้พื้นฐานสำหรับการสอบเข้ามหาวิทยาลัย เพื่อให้นักศึกษารู้จักตัวเองและไม่เสียเวลาหากไม่มีความพร้อม

-การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เช่น การจัดพิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด แหล่งสารสนเทศ การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ส่วนบุคคล

-การจัดการสารสนเทศเพื่อการศึกษาตามอัธยาศัย (วัด สวนสาธารณะ พิพิธภัณฑ์ ชุมชน สวนสมุนไพร เป็นต้น)

-การจัดการสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยวในชุมชน (การนำเสนอข้อมูลผ่าน QR code, สื่อต่างๆ)

-การรวบรวมและจัดเก็บภูมิปัญญาของท้องถิ่น  วัฒนธรรม ประเพณีของชาติพันธุ์

-การจัดการสารสนเทศที่ได้จากผ้าประเภทต่างๆ (ประเภท การทอ ลายผ้า สุทนทรียะ การใช้งาน)

-การรวบรวมองค์ความรู้และอนุรักษ์ใบลาน

-สารสนเทศจากเครื่องดนตรีอีสาน

-การรวบรวมองค์ความรู้และวัฒนธรรม ประเพณีจากความเชื่อและประเพณีพื้นบ้าน

-การจัดการสารสนเทศและการเข้าถึงสารสนเทศของผู้พิการ

กลุ่มที่ 2 ด้านการเข้าถึงพลังงานและพลังงานสะอาด และการรับมือผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

-การพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงาน 

-การจัดการขยะในแนวคิดขยะเป็นเงิน

-การวิเคราะห์การบริหารจัดการขยะ การแยกขยะ

-การศึกษาข้อมูลเชิงลึก ด้านการประหยัดพลังงานของโครงการห้องสมุดสีเขียว เมืองสีเขียว

-พัฒนาระบบแจ้งตือน/ทำนายสภาพอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลที่เข้าถึงง่าย

-การศึกษาถึงพลังงานที่ได้มาจากการนำกลับมาใช้ใหม่ (Renewable energy)

-การจัดการสารสนเทศด้านการประหยัดพลังงานในองค์กร


กลุ่มที่ 3 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมนวัตกรรมและอุตสาหกรรมที่ยั่งยื

-ผลกระทบของสังคมเมือง

-ผลกระทบของรถไฟรางคู่ รางเดี่ยว

-ผลกระทบต่อการสร้างตลาดในชุมชน

-การบริหารจัดการตลาดและความสัมพันธ์ในการจัดการชุมชน

-การพัฒนาโฮมเสตย์และวิถีชีวิตของคนในชุมชน

กลุ่มที่ 4 ด้านสุขภาพความเป็นอยู่ที่ดี  และการตั้งชุมชนถิ่นฐานของมนุษย์

-การส่งเสริมองค์ความรู้ในการป้องกันตนเอง รู้ทันโรค ด้วยสื่อประเภทต่างๆ ที่เข้าถึงง่าย

-การพัฒนาสื่อความรู้ในการป้องกันโรคที่ไม่ติดต่อ

-การศึกษาคุณภาพชีวิตของบุคลากรทางการแพทย์ หรือวิชาชีพที่ต้องทำงานในกะดึก

-การจัดการสารสนเทศจากข้อห้าม ความเชื่อทางด้านการแพทย์

-ปัจจัยในการเลือกหมู่บ้านจัดสรรของผู้ย้ายมาอาศัยในเขตเมือง

-คุณภาพชิวิตของคนชายขอบ

-การศึกษาวัฒนธรรมดั้งเดิมและวัฒนธรรมผสมผสานของผู้คนในยุค One ASEAN


 

หมายเลขบันทึก: 708328เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2022 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2022 15:54 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท