บทบาทห้องสมุดในการสนับสนุนการเรียนรู็ตามรูปแบบของ Experiential Learning Cycles


วันนี้ค่ะพี่ตุ่นมาชวนท่านผู้ฟังพูดคุยเรื่องที่ไปอ่านเจอใน Blog ของท่าน ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช https://www.gotoknow.org/posts/707795 กับการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า  Experiential Learning Cycles หรือ ELC  ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ค่ะ เรื่องที่นำมาแลกเปลี่ยนวันนี้อาจจะไม่ได้รู้ลึกซึ้งเหมือนผู้ที่เป็นผู้สอนนะคะ  แต่ที่สนใจนำมาแบ่งปันคือ  ประโยชน์ที่มีต่อพ่อแม่ผู้ปกครอง  และคนที่สนับสนุนการเรียนรู้ อย่างคนที่ทำงานห้องสมุดค่ะ  จะได้มีความรู้มากขึ้น รู้ว่าหากแนวคิดนี้ห้องสมุดนั้นได้มีบทบาทสำคัญต่อการเรียนรู้อย่างไร

การเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning Cycles) เป็นวิธีการเรียนรู้ในแต่ละบุคคล มีผู้คิดค้นโดย David Kolb โดยมีขั้นตอนทั้งหมด 4 ขั้นตอนคือ 1. Concrete Experience (Act) 2. Reflective Observation (Reflect) 3. Abstract Conceptualization (Conceptualize) และ 4. Active Experimentation (Apply) อ้างอิงจาก blog คุณกิตติ ชูวัฒนานุรักษ์  https://www.gotoknow.org/posts/522385

1. Concrete Experience (Act) การสร้างประสบการณ์ 

  • การเรียนการสอนในห้องเรียน
  • การอ่านหนังสือ
  • การดูวีดีทัศน์
  • การทดลอง
  • การพูดคุยและการประชุม

2. Reflective Observation (Reflect) การสะท้อนการเรียนรู้ / ทบทวนการเรียนรู้

  • การเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ 
  • การบันทึกการเรียนรู้
  • การทำการบ้าน
  • การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียน (Dialogue / Discussion) 

3. Abstract Conceptualization (Conceptualize) การสรุปองค์ความรู้

  • การเขียนแผนภาพมโนทัศน์ (Mind Mapping) 
  • การสรุปการเรียนรู้ออกมาเป็น Model หรือ Framework
  • การนำเสนอผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

4. Active Experimentation (Apply) การประยุกต์ใช้ความรู้

  • สิ่งที่จะต้องเรียนรู้ต่อไป 
  • แนวทางในการพัฒนาต่อ / ศึกษาต่อ
  • รวบรวมสิ่งที่เรียนรู้ถูกต้องหรือผิดพลาดเพื่อการดำเนินการเรียนรู้ในขั้นตอนที่  1

จาก 4 ขั้นตอนจะเห็นว่าห้องสมุดนั้นมีบทบาทสำคัญในการเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สร้างประสบการณ์ให้กับผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็น   

การจัดหาทรัพยากรการเรียนรู้ที่เหมาะสม ครอบคลุมและเพียงพอ  ซึ่งปัจจุบันมีทั้งแบบดิจิทัลและแบบฉบับพิมพ์ บางทีมีหนังสือมนุษย์ (Human Book) ที่เป็นสื่อทางเลือกให้ผู้ใช้ ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ในเรื่องที่สนใจ สามารถเรียนรู้แบบ Real time หรือ ศึกษาย้อนหลังแบบ On demand ได้

 

 

รวมถึงเครื่องมือการเรียนรู้สมัยใหม่  เพื่อส่งเสริมการมีประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ ให้กับผู้เรียน  เช่น  บริการแว่น VR สำหรับการเรียนรู้ผ่านเมตาเวิร์ส

การจัดพื้นที่นั่งอ่านและการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ใช้แต่ละช่วงวัย  ห้องสมุดใหม่จึงมีการจัดพื้นที่หลากหลายลักษณะ  ส่วนที่เงียบเหมาะสำหรับการใช้สมาธิ พื้นที่สำหรับ Working Space  เป็นต้น

การเป็นพื้นที่ที่ให้ทดลองเรียนรู้ เช่น  สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น  มี Maker Space และเป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางด้านห้องสมุด และเป็นแหล่งศึกษาเยี่ยมชมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย 

มี Production House ที่สนับสนุนการเรียนรู้แบบออนไลน์ และผลิตสื่อสำหรับเรียนรู้ทางไกล

ห้องสมุดสมัยใหม่มีส่วน Edutainment ที่สนับสนุนการเรียนรู้ผ่านวิดีทัศน์ รวมถึงสื่อการเรียนรู้อื่นๆ  เช่น Devices

อีกประเด็นที่สำคัญคือ การจัดพื้นที่สำหรับการพูดคุยและการประชุม ที่เรียกว่า Knowledge Sharing จะพบว่าห้องสมุดสมัยใหม่มีห้องประชุมกลุ่มย่อยที่รองรับจำนวนคนตั้งแต่ 2-60  คน แตกต่างไปตามความจำเป็นที่ต้องการการใช้งาน มีทั้งเป้นห้องแบบปิด และพื้นที่ที่เปิดกว้างให้ผู้ผ่านไปมาในห้องสมุดเข้าร่วมกิจกรรมการพูดคุยได้  และในยุคดิจิทัลก็มีการออนไลน์ควบคู่ไปด้วย

การเสวนา การอภิปราย หรือการอบรมออนไลน์ เป็นที่นิยมมากในยุคปัจจุบัน  โดยเฉพาะเมื่อโควิดมาเยือน  ได้รับความนิยมในการเป็นแหล่งสร้างประสบการณ์การเรียนรู้อย่างยิ่ง เพราะประหยัดเวลาในการเดินทาง  สะดวก  ประหยัด และหัวข้อมีความหลากหลาย

 นอกจากนั้นบทบาทที่สำคัญอีกด้านของห้องสมุดใน Experiential Learning Cycles หรือ ELC   คือ Reflective Observation (Reflect) การสะท้อนการเรียนรู้ / ทบทวนการเรียนรู้ ในภารกิจของการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ หรือการรู้ดิจิทัล  เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุดรู้จักแหล่งที่จะค้นคว้าข้อมูลมาทบทวนความรู้ รู้จักวิธีการในการค้นคว้าและทบทวนความรู้ สามารถเขียนอ้างอิงได้อย่างถูกต้องเพื่อให้มั่นใจในความรู้ที่ไปทบทวนมา  และมีการใช้ข้อมูลที่นำมาทบทวนอย่างมีจริยธรรม

รูปแบบบริการก็มีการบริการตอบคำถามช่วยการค้นคว้า บริการสารสเนทศเพื่อการวิจัยและอ้างอิง  และการอบรม

       ส่วนขั้นตอนการประยุกต์ใช้ จะเห็นว่า OECD ที่กล่าวถึงแนวโน้มของการเรียนในปี 2030   ได้กล่าวว่า ความรู้จากการเรียนต้องเป็นความรู้ที่ปฏิบัติได้จริง ใช้งานได้จริง     “procedural knowledge, which is knowledge that students can”  ซึ่งจะเป็นขั้นตอนของ  การประยุกต์ใช้ความรู้  หรือ Active Experimentation (Apply) เรียนเล่นเป็นสุขกันค่ะ    

         เอาหล่ะค่ะเรื่องราวสั้นๆเกี่ยวกับ Model  เกี่ยวกับการศึกษาที่พี่ตุ่นนำมาฝากกัน   คงจะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้ปกครอง  และคนทำงานด้านการสนับสนุนการเรียนรู้ปกครองไม่มากก็น้อยนะคะ พอเรามีความรู้เข้าใจในเครื่องมือนี้  ก็สามารถนำไปช่วยในการออกแบบการเรียนรู้ได้  ทั้งแบบเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ

ขอบคุณ 

  • ภาพจากการปฏิบัติงาน สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
  • Script รายการ KKU Library Life Long Learning for all ออกอากาศทาง FM103 Mhz.

 

 

หมายเลขบันทึก: 708317เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2022 11:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2022 17:07 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท