การเข้าถึงสารสนเทศดิจิทัลทางด้านศิลปะวัฒนธรรม : ฐานข้อมูลศิลปกรรมลุ่มน้ำโขง


การเป็นผู้เริ่มพัฒนาและสิ่งที่จัดทำขึ้นนั้นมีความก้าวหน้า เป็นประโยชน์อย่างกว้างขวาง ก็เป็นที่ภูมิใจอย่างยิ่งว่า บรรณารักษ์อย่างเราๆก็สามารถใช้ความรู้ความสามารถมาพัฒนาการเข้าถึงสารสนเทศเฉพาะทาง ให้ผู้สนใจได้เข้าถึงอย่างสะดวกรวดเร็ว

ในปี 2562 ได้มีโอกาสได้นำพลงานที่ได้พัฒนาขึ้นร่วมกับ น้องต้น-ธีรยุทธ บาลชน นักเอกสารสนเทศผู้มีความชำนาญด้าน Database  และ  ผศ.ธวัชชัย ช่างเกวียน  ผู้เชี่ยวชาญอาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น ไปนำเสนอในการประชุมวิชาการเรื่อง  เทคโนโลยีดิจิทัลกับการจัดการความรู้วัฒนธรรม | การประชุมวิชาการทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ 13  จัดโดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) 

หัวข้อที่นำเสนอครั้งนั้นคือ 

ฐานข้อมูลศิลปกรรมลุ่มน้ำโขง : การเข้าถึงสารสนเทศดิจิทัลทางด้านศิลปะวัฒนธรรม  Database of  Art&Culture in Makong River Basin  : Digital Information Access 

มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีพันธกิจหนึ่งในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ตลอดจนคณะศิลปกรรมศาสตร์ได้เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนทางด้านวิจัยศิลปะวัฒนธรรมและการออกแบบขึ้น ซึ่งทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของมูลทางศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งมีอยู่หลายประเภท  เพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลทางด้านศิลปวัฒนธรรมเพื่อตอบสนองต่อพันธกิจในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและเป็นแหล่งข้อมูลสนับสนุนการศึกษาตามหลักสูตร ผู้จัดทำจึงได้พัฒนาฐานข้อมูลวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงขึ้น โดยมุ่งเน้นในการรวบรวมสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงของผู้สนใจ รวบรวมสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับศิลปะและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่เผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลาย ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องการ อาทิ  หนังสือ งานวิจัย บทความวิชาการ คลิปวีดีโอ ภาพถ่าย สูจิบัตร เป็นต้น  

ในการจัดทำฐานข้อมูล ประกอบด้วย  6 ขั้นตอน ดังนี้

  1. การเลือกโปรแกรมที่ง่ายต่อการจัดเก็บและการค้นคืน 
  2. การพิจารณาคัดเลือกทรัพยากรที่จะจัดเก็บ 
  3. การขอสิทธิ์จากเจ้าของผลงานเพื่อดัดแปลงผลงานในรูปแบบดิจิทัล 
  4. การจัดหมวดหมู่เนื้อหา 
  5. การจัดทำคำค้น 
  6. การป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่รูปแบบดิจิทัล 

ชมคลิปการนำเสนอ (นาทีที่ 25.30)

นอกจากประโยชน์ข้างต้นแล้ว ฐานข้อมูลดังกล่าวยังทำให้สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยมีสื่อดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นสำหรับบริการนักศึกษาและนักวิจัยด้วย 

และในปี 2565 คณะศิลปกรรมศาสตร์  มข.ได้มีการพัฒนาต่อยอดและปรับเปลี่ยนชื่อเป็น ฐานข้อมูลศิลปกรรมอาเซียน เป็นแหล่งสารสนเทศที่ให้บริการข้อมูล Fulltext และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง  ทำให้ผู้สนใจเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกรวดเร็ว

ขอบคุณรูปจากเว็บไซต์ ฐานข้อมูลศิลปกรรมอาเซียน โดยคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://libservice.kku.ac.th/artandculture/web/  เข้าถึงเมื่อวันที่ 5/10/2022


 


 

หมายเลขบันทึก: 708330เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2022 16:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2022 16:30 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท