Developmental Evaluation : 46. แนวทางใช้ DE พัฒนาสถาบันอุดมศึกษา


 

                   ผมได้แนวคิดในบันทึกนี้จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายติดตามประเมินผล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๕   โดยที่คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่ส่งเสริมให้มีการใช้ DE เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัย ผ่านการประเมินหัวหน้าส่วนงานและอธิการบดี   ดังที่เคยเล่าไว้ที่ (๑)   (๒)   (๓)   (๔)   

สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสิน transformation ของมหาวิทยาลัย โดยมี ศ. นพ. อาวุธ ศรีสุกรี เป็นประธาน   และท่านยังเป็นกรรมการในคณะกรรมการนโยบายติดตามประเมินผลด้วย     จึงมีการเสนอว่า น่าจะให้กระบวนการ DE  ช่วยส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงขั้นรากฐาน (transformation) ตามแนวทางของคณะกรรมการดังกล่าวด้วย

ศ. นพ. อาวุธ ย้ำแล้วย้ำอีกว่า ในการประเมอนเพื่อพัฒนาต้องไม่หลงประเมินแบบเข้ากรอบ    ต้องถามหาการดำเนินการแบบออกนอกกรอบ ด้วย     ผมในฐานะประธานจึงสรุปว่า     ต้องประเมินทั้ง ๒ ด้าน คือ (๑) ตรวจสอบหา achievement และ (๒) ตรวจสอบหา creativity ในการบริหารงาน      

ซึ่งหมายความว่า ทั้งประเมินผลสำเร็จตามที่สัญญาไว้   และผลสำเร็จที่ไม่ได้สัญญา แต่คิดดำเนินการด้วยความสร้างสรรค์   ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของการบริหารสถาบันอุดมศึกษา    คือต้องบริหารความสร้างสรรค์ มากกว่าบริหารกฎระเบียบ   

บันทึกนี้ จึงเป็นข้อเตือนใจว่า     หากไม่ระวัง DE อาจก่อผลร้ายก็ได้    คือชักจูงให้ stakeholders ของหน่วยงานยึดติดกับแนวทางหรือกระบวนทัศน์เดิมๆ    ประเมินผลงานตามกรอบที่มีการกำหนดไว้    แทนที่จะหนุนให้คิดนอกกรอบ    ใช้ความสร้างสรรค์หาเป้าหมายและวิธีการใหม่ๆ เพื่อทำหน้าที่อุดมศึกษาให้ดียิ่งขึ้น   

เชื่อมโยงสู่ประเด็นที่ผมปรารภขึ้น ในวาระเรื่องที่ประธานแจ้งเพื่อทราบ    ว่า คณะกรรมการประเมิน น่าจะพิจารณาประเด็นว่า เมื่อมองจากภาพใหญ่ของสังคมไทย ส่วนงานนั้นเป็น part of the problem   หรือเป็น part of the solution    ซึ่งหมายความว่า ในบางสาขาวิชาการ    ประเทศไทยมีระบบที่ด้อยคุณภาพ ที่สะท้อนว่าวงการวิชาการสาขานั้นน่าจะเดินผิดทาง     โดยที่ผมขออนุญาตยกตัวอย่าง ศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ (ด้วยความเคารพท่านที่อยู่ในสาขานี้)    ประเทศไทยมีระบบการศึกษาที่คุณภาพต่ำมานานกว่า ๒๐ ปี    มีความพยายามแก้ไขมานานก็ไม่เกิดผล    การประเมิน DE ในคณะวิชานี้ จึงควรตั้งคำถามข้างต้น    เพราะหาก DE ดำเนินไปภายใต้กลุ่มคนที่ยึดถือความคิดหรือกระบวนทัศน์ผิดๆ โดยไม่มีการสะกิด   สถาบันอุดมศึกษาก็จะกลายเป็น part of the problem … เป็นส่วนหนึ่งของผู้ก่อปัญหา          

วิจารณ์ พานิช

๒๓ ส.ค. ๖๕

 

 

                                                                                                                                  

 

 

หมายเลขบันทึก: 708159เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2022 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ตุลาคม 2022 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I have to comment on this “… ประเทศไทยมีระบบการศึกษาที่คุณภาพต่ำมานานกว่า ๒๐ ปี มีความพยายามแก้ไขมานานก็ไม่เกิดผล ..”. We should be clearer on this - ระบบการศึกษา has not achieved consistent quality product en masse. The point of subtlety is by comparison with early days’ mobile phones fabrication/assembly systems. The fab systems were bad for workers and environment. But the product phones were (by world standards) of high quality. Now the fab systems are improved and both (systems and products) are really good.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท