การเรียนรู้ทางจิตใจจากประสบการณ์


 

วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ผมเข้าร่วม Virtual Conference : Mindfulness in Action    จากห้อง ๙๔๗ โรงแรมเซนทาราแกรนด์ บีช  หาดกะรน ภูเก็ต    แค่ได้ฟัง keynote speech  โดยคุณ Victoria Subirana   ผมก็ป๊งแว้บชื่อบันทึกนี้     -- Experiential Learning of the Mind   

ปิ๊งชื่อ Experiential Learning of the Mind แล้ว ก็สงสัยว่าหมายถึงอะไร     โลกสมัยนี้สะดวกมาก ลองค้นด้วยกูเกิ้ล พบบทความนี้ (๑)    ดีใจดั่งได้แก้ว    ชื่อบทความ Mindfulness and Experiential Learning  เขียนโดย Bauback Yeganeh & David Kolb เสียด้วย   อ่านแล้วได้ความรู้และข้อมูลหลักฐานสนับสนุนความเชื่อของผมว่า จิตที่ตั้งมั่น หรือสงบและจดจ่ออยู่กับปัจจุบันขณะ ที่เราเรียกกันทั่วไปว่ามีสมาธินั้น ช่วยให้การเรียนรู้จากประสบการณ์ (experiential learning) มีพลัง มีประสิทธิผลสูง   

บทความจึงแนะนำว่า คนเราต้องฝึก mindfulness   ที่เราเรียกว่าฝึกสติ หรือสติภาวนา   จึงจะช่วยให้มีความสามาถในการเรียนรู้สูง    เขาบอกว่าการฝึกสติมี ๒ แบบ    คือแบบ meditative mindfulness  กับ socio-cognitive mindfulness   ที่ช่วยไขความสงสัยของผมที่มีมาช้านาน    ว่าผมฝึก meditative mindfulness ไม่ได้  ผมมักจะหลับไปเลย    แต่ผมรู้สึกว่าจิตผมมีสมาธิขณะวิ่งหรือเดินออกกำลัง    หรือขณะอ่านหนังสือ 

ในการอธิบาย socio-cognitive mindfulness เขาอ้างถึงหนังสือ The power of mindful learning (1997)  เขียนโดย Ellen J. Langer   โดยคัดลอกข้อความมาดังนี้    

 “When we are mindful, we implicitly or explicitly (1) view a situation from several perspectives, (2) see information presented in the situation as novel, (3) attend to the context in which we perceive the information, and eventually, (4) create new categories through which this information may be understood.” (Langer,1997, p.111)   

ทำให้ผมหวนมาตีความตนเอง    ว่าช่วงเวลาที่ผมมีสติตั้งมั่นดีที่สุด อยู่ที่ตอนเขียน บล็อก นี่เอง    เพราะจิตใจผมมีกิจกรรมทั้ง ๔ ข้างต้นครบทีเดียว     สติภาวนาของผมเกิดดีที่สุดตอนทำกิจกรรม    ไม่ใช่ตอนอยู่เฉยๆ   

ในบทความ  Mindfulness and Experiential Learning เขาแนะนำวิธีฝึกสติ โดยให้ Mindful Experiential Learning Practice Guide    ที่มี ๔ ขั้นตอนเหมือนใน Kolb’s Experiential Learning Cycle    แต่การฝึกแต่ละขั้นตอนแยกกันตามสถานการณ์จริง    ไม่ได้เป็นวงจรติดต่อกันอย่างใน Kolb’s Experiential Learning Cycle     ดังแสดงในรูปที่ ๓ ของบทความ ดังนี้

Graphical user interface, text, applicationDescription automatically generated

เป็นการประยุกต์ใช้ Kolb’s Experiential Learning Theory    เพื่อฝึกสติ   สำหรับใช้การมีสติตั้งมั่นช่วยการเรียนรู้จากประสบการณ์ให้ทรงพลังยิ่งขึ้น    

วิจารณ์ พานิช

๑๘ ส.ค. ๖๕

 

หมายเลขบันทึก: 706897เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2022 15:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กันยายน 2022 15:58 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท