ชีวิตที่พอเพียง  4299. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา  ๑๕๙. กลยุทธสู่ education systems reform


 

วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๕   มีการประชุมเตรียมงาน EDUCATION JOURNEY 50 ปี การศึกษาไทย โดย สกสว. ร่วมกัน กสศ., TEP, และคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษา    ที่กำหนดจัดวันที่ ๑๓ และ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๕   โดยจะประชุมในวงแคบๆ ประมาณ ๕๐ คน   

  งานนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานใหญ่คือการวางกลยุทธเพื่อหาโจทย์วิจัยสู่การเปลี่ยนแปลง (transform) ระบบการศึกษา     โดย สกสว. ได้ทำความตกลงกับ รศ. ดร. อนุชาติ พวงสำลี ให้จัดทีมทำงานนี้    การได้เข้าร่วมหารือวางแผนงานนี้มาระยะหนึ่งทำให้ผมนึกวิธีทำงานแบบใหม่ที่จะเสนอในบันทึกนี้   

เป็นแนวทางหรือกลยุทธใช้กิจกรรม “วิจัยและพัฒนา” (R&D) แนวใหม่    เพื่อหนุนการเปลี่ยนแปลงในระดับtransformation    โดยต้องเปลี่ยน R&D แนวเดิมๆ ไปเป็น กิจกรรมสร้างข้อมูลหลักฐาน (evidences) นี่แม่นยำน่าเชื่อถือ   สำหรับนำไปใช้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง

โดยมีสมมติฐานว่า ในช่วง ๒๐ ปีที่ผ่านมา   ได้เกิดนวัตกรรมใหม่ในวงการศึกษาไทยมากมายหลากหลายรูปแบบ    ที่เป็นโรงเรียนแนวปฏิรูป ที่เป็นเว็บไซต์สำหรับครูเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน    ที่เป็นการรวมตัวของหลากหลายภาคี เช่น TEP (Thailand Education Partnership)    และที่เป็นหน่วยงานของรัฐรูปแบบใหม่ เช่น กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)   และการออกกฎหมายเปิดโอกาสให้มีการทดลองใหม่ๆ ในพื้นที่ที่เรียกว่า พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา    

โจทย์วิจัยคือ หาข้อมูลหลักฐาน และทำให้ข้อมูลหลักฐานมีความชัดเจน น่าเชื่อถือ   ว่าแต่ละกิจกรรม แต่ละโครงการสร้างผลดีอย่างไรต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน   สร้างผลดีอย่างไรต่อการพัฒนาระบบการศึกษาในระยะยาว     มีส่วนใดของกิจกรรมที่ควรดำเนินการต่อเนื่อง    และนำไปใช้แทนวิธีการแบบเดิมๆ   

วิจารณ์ พานิช

๓๑ ก.ค. ๖๕  ปรับปรุง ๑๘ ส.ค. ๖๕   

 

หมายเลขบันทึก: 706896เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2022 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กันยายน 2022 15:56 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท