KM แบบธรรมชาติ


KM ธรรมชาติหรือไม่ธรรมชาติ จะแปรผันตรง หรือ สะท้อนให้เห็นถึงสันดานของผู้บริหารขององค์กรนั้นๆ ว่าเป็นคนอย่างไรด้วย

หลักการ KM ธรรมชาติ  เน้น  ที่ ทำไปแล้ว ได้ ทุน(Capital) ต่างๆ ดังนี้

  • ทุนทางใจ  (Collaboration capital)
  • ทุนทางสังคม (Network capital)  
  • ทุนทางปัญญา (Intellectual capital)
  • ทุนมนุษย์ (Human capital)  

ทั้ง 4 ทุนนี้  ทำไปเรื่อยๆ  จะได้  ทุนทางสินทรัพย์ (Financial capital) เอง   ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ได้  ยิ่งงก  ยิ่งเห็นแก่ตัว   ก็จะไม่ได้ 

แต่ ทุน ที่ ฝรั่ง และ นักวิชาการ KM ยังไม่ค่อยจะรู้    คือ   อริยทรัพย์   อันเป็นทรัพย์ใหญ่  ทรัพย์สำคัญ   ใครจะขโมยไปก็ไม่ได้    อาจจะเรียกเป็น  ทุนทางธรรม  (Dhamma capital)  หรือ จะเรียกว่า  ทุนทางสติ (Sati capital)   ก็ได้

KM แบบไม่ธรรมชาติ    จะเป็นแบบที่ ไม่ยั่งยืน   ทำตามแฟชั่น ทำตามหน่วยเหนือสั่งให้ทำ     แข็งกระด้าง   ก้าวร้าว  ทำลายจิตใจ  ฯลฯ  ยิ่งทำ ทุนต่างๆ ยิ่งหดหาย

KM ในองค์กรต่างๆจะออกมาเป็นอย่างไร      เท่าที่ผมดูคร่าวๆ ณ ตอนนี้   คือ  KM ธรรมชาติหรือไม่ธรรมชาติ  จะแปรผันตรง หรือ สะท้อนให้เห็นถึงสันดานของผู้บริหารขององค์กรนั้นๆ  ว่าเป็นคนอย่างไรด้วย 
หมายเลขบันทึก: 70639เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2007 11:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
อาจารย์คะมีตัวชี้วัดทุนทางธรรม ทุนทางสติมั้ยคะ อย่างน้อยจะได้รู้ว่าห่างไกล หรือใกล้อริยทรัพย์  มากน้อยเพียงใด

ตั้งแต่ผมทำ KM มาสังเกตว่ามีอีก 1 ทุน นอกเหนือจาก 4 ทุน นั่นคือ "ทุนทางสติ" จริงๆ ครับ เพราะ "สติ" เป็นตัวกำหนดการเดินทุกอย่างครับ  ได้มาแบบไม่รู้...ว่ามี

ขอบคุณครับ

วิชิต

ต้องมีสติก่อนถึงจะทำKMได้ดีค่ะ
  • สติ ฝึกได้ จากแหล่งฝึก 4 แหล่ง  คือ  ดูกาย ดูเวทนา ดูจิต ดูธรรม

ดูกาย ได้แก่  รู้เท่าทัน ลมหายใจ อิริยายท ต่างๆ (เป็นที่นิยมดู   เพราะ เป็นตัวฟ้องว่า จิตเกิดอาการ) 

ดูเวทนา จะดูยากหน่อย เช่น สบาย ไม่สบาย เฉยๆ เจ็บ ปวด  ฯลฯ ( ไม่ค่อย จะนิยม ดูกันมากนัก)

ดูจิต  เช่น จิตอกุศล กุศล หรือ ไม่ทั้งสองอย่าง   จิตมีอาการอย่างไร  กังวล โลภ โกรธ  หลง ฯลฯ ( เป็นการดู ระดับ final   เพราะ อาการของจิต เป็นตัวตัดสิน ภาพ ชาติ และ การเวียนว่ายตายเกิด)

ดูธรรม  เข่น โพธิปักยธรรม 37   แต่ ที่ดูง่ายๆ คือ ดูขันธ์ห้า   โดยเฉพาะ  การตามดูความคิดที่เข้าไปปรุงแต่งจิต และ ความคิดที่เกิดจากจิตโดยตรง

  • ดัชนี ชี้วัด  คงดูที่พฤติกรรม   เช่น  ใช้หลักของ storytelling เพื่อดูว่า  เราหรือผู้เล่า  ใช้ การตัดสินใจ หรือ sensing โดย จิตปกติ (ที่ bottom line ของ U thoery)  หรือ โดยจิตที่เกิดอาการ (เป็นลักษณะ reactive)  ..... อ่านเพิ่มเติม ได้ที่ Cognitive edge โดย Dave Snowden
  • ลองมาดูการตัดสินใจ ของ ผู้คนต่างๆ ภายใต้ สภาวะต่างๆ   เราก็พอ จะอ่านจิตของเขาได้  เพราะ ถ้าเราสามารถรู้จักดูจิตของเราเองได้แล้ว  การที่จะไปรับรู้อาการจิตของคนอื่น ก็เป็นเรื่องง่ายดายมากๆ
  • พฤติกรรมที่ขาดสติ  จะเห็นได้บ่อยๆ เช่น ตอนประชุม  ตอนเจอนักศึกษากวนอารมณ์   ตอนโดนกดดัน   ตอนน้อยใจเพราะ เพื่อนร่วมงานมือไม่พายเอาเท้าราน้ำ (เห็นได้บ่อยๆ ในวงราชการ และ สถานศึกษา)   
  • ดูจาก ภูมิต้านทาน (ตาม แนวพระราชดำริ เรื่อง "พอเพียง"  จะ เน้นเรื่อง ภูมิต้านทาน ซึ่งก็คือ สติ นั่นเอง)   เช่น  ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงไหม   ทนทานต่อโฆษณาสิ่งยัวยุต่างๆทางบริโภคนิยม    ทนทานต่อโลกธรรม 8 ( ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เลื่อมยศ  สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์) ได้แค่ไหน

หวังว่า คงจะพอช่วย เป็นดัชนี วัด  ทุนทางสติ  (Sati capital) ได้นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท