นับหนึ่งถึงหนึ่ง..!!!!


หากยังยึดติดกับอัตตา...จะพัฒนาการศึกษาอย่างไรก็คงไม่ก้าวหน้า หรือก้าวหน้าตามความstepของความหล้าหลังชาวโลก

อ่านบันทึก เรื่อง "โง่ หรือ แกล้งโง่" ของท่าน ดร.แสวง และ บันทึก เรื่อง"มดกับตั๊กแตน" ของท่าน ผอ.ศักดิ์พงษ์ แล้วทำให้อยากนำเสนอความคิดจากประสบการของตนเองบ้าง

แม้ว่าอายุราชการจะไม่เท่าไหร่...แต่คิดว่าสิ่งที่ได้พบได้เห็นก็ล้วนแต่เป็นเรื่องราวที่ผมเองก็สั่งสมไว้เป็นเครื่องมือในการเตรียมพร้อมในการเป็นผู้บริหารที่จะเป็นผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษามากขึ้น  ผมมองดูว่าแม้ว่าสังคมเราจะก้าวตามความไฮเทคโนโลยีของสังคมโลกอยู่นั้น เราพยายามที่จะยกตัวเองขึ้นเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่สอบผ่านการปฏิรูปการศึกษาแล้ว...พร้อมทั้งประโคมข่าวกันออกไปว่า ไชโย...ไชโย...ไชโย  การจัดการศึกษาของเราพัฒนาแล้ว  ปฏิรูปเป็นผลสำเร็จแล้ว...หน้าชื่นตาบานรับโล่ รับเกียรติบัตร เป็นวัตถุหลักฐานสำคัญที่ประกาศไว้ว่า ฉันนี่แหละคือผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ....

ยอมรับครับว่าในบางท่านทุ่มเทจริง  บางท่านก็น่าจะรู้ตัวของท่านเอง  ว่าผลงานที่ท่านได้รับความชื่นชมอยู่นั้น เป็นความภาคภูมิใจอันแท้จริงหรือไม่?  เพราะเท่าที่สัมผัส ผักชี มักจะเป็นผักยอดนิยม ทุกครั้งที่มีการประเมินเกี่ยวกับการจัดการศึกษา (ผมไม่ได้ว่าใครนะครับ  เพราะรู้ว่าคนที่มุ่นมั่นและจริงจัง มีอยู่จริง)

การจัดการศึกษาตามความเห็นของผม  ผมคิดว่าควรอย่างยิ่งที่จะกระทำให้ถูกจุดสำคํญ หรือที่ท่าน ผอ.ศักดิ์พงษ์ ได้กล่าวไว้ว่า "เกาให้ถูกที่คัน" เพราะฉะนั้นเราต้องมองไปที่ผลผลิตทางการศึกษาเป็นประการสำคัญว่าผลผลิตในอนาคต นั่นคือวัตถุดิบในปัจจุบันในสถานศึกษาของท่าน ยังขาดคุณสมบัติอะไรที่สังคมภายนอกต้องการ  ผู้ใหญ่บางคนหลงไปกับนโยบายที่เลิศหรู แต่ลืมมองไปว่าวัตถุดิบของแต่ละพื่นที่แตกต่างกัน จะทำให้ผลผลิตผ่าน QC ที่ตั้งขึ้นมาเกณฑ์เดียวกันเป็นไปไม่ได้  QC จะต้องเกิดจากเกณฑ์ที่พื้นที่แต่ละพื้นที่ตั้งขึ้นแต่อยู่ในความควบคุมของมาตรฐานกลาง ใช่ครับ ผมหมายถึง นักเรียน ครับ นักเรียนคือผลผลิตสำคัญ

นักเรียนบางคนกระทั่งเข้าทำงานแล้วอ่านหนังสือยังไม่คล่อง เขียนหนังสือยังไม่ได้เลย ซึ่งบางคนก็ได้บริบทอื่นๆ มาช่วย ทำให้เขาเข้าทำงานได้  แล้วท่านยังจะจัดการศึกษาที่มองข้ามผลผลิตที่ท่านผลิตออกไปโดยไม่ผ่าน QC แต่ก็ยอมส่งออกไปสู่ตลาดได้เหรอครับ?

สิ่งต่างๆ ที่มันเกิดความบกพร่องจากการจัดการศึกษา ผมเห็นว่าส่วนหนึ่งมาจาก "อัตตา" ของผู้บริหารในระดับต่างๆ อย่างที่ ดร.แสวงกล่าว คือ "แกล้งโง่" แล้วโบ้ยไปที่นโยบาย "อัตตา" คือก็ฉันเห็นอย่างนี้ ฉันจะทำอย่างนี้ ฉันไม่ผิด  ฉันทำตามนโยบาย  ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของบุคลลอื่นๆ ที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเช่นกัน เหมือนกับที่ ผอ.ศักดิ์พงษ์ กล่าวไว้ในนิทาน "มดกับตั๊กแตน" คือถ้ายอมรับฟังคนอื่นบ้าง ไม่อัตตาจนเกิดงาม ข้อความที่ว่า "ก้าวไปสู่การพัฒนา..." คงจะไม่มีให้ได้ยิน เพราะมันจะเป็น "การเดินเคียงข้างไปกับการพัฒนา" การจัดการศึกษาก็จะได้ไม่ต้อง "นับหนึ่งถึงหนึ่ง" หรือย่ำอยู่กับที่อย่างที่หลายๆ พื้นที่ยังเป็นอยู่ 

ไม่รู้ว่าที่เขียนในบันทึกนี้จะพออรรถาธิบายให้ผู้อ่านเข้าใจได้หรือไม่  เพิ่งเริ่มเขียนเรื่องหนักๆ หากสำนวนการเขียนวกไปวนมา ต้องขออภัยนะครับ  แต่สิ่งที่อยากเล่าให้ทราบประเด็นก็คือ "ผู้บริหารบางคนยังยึดติดกับอัตตา ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง" เท่านั้นเอง

หมายเลขบันทึก: 70498เขียนเมื่อ 1 มกราคม 2007 22:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอแก้ไขข้อความนะครับ

1. บันทึกของ ดร.แสวง ชื่อว่า "แกล้งโง่...หรือโง่จริงๆ"

2.คำว่าประสบการ ในบรรทัดที่ 3 เป็น "ประสบการณ์"

ขอบคุณครับ

  • ผมชอบบันทึกนี้มากครับ
  • อยากให้ผู้บริหารหรือผู้ที่กำลังจะเป็นควรอ่าน(อย่างมีสติ)อย่างน้อย 2 รอบครับ

ขอขอบคุณที่ให้เกียรติแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เห็นด้วยในการกล่าวถึง ผลผลิตในอนาคต คือวัตถุดิบในปัจจุบันในสถานศึกษา 

การทำงานของพวกเราที่เม็กดำ  เป็นเพียงจุดเล็กๆ คิดและทำตามประสาโรงเรียนบ้านนอก   แต่เราก็พร้อมและยินดีที่จะเรียนรู้กับทุกท่าน  ครับ

  สื่อที่พวกเราช่วยกันสร้าง คือบันทึกต่างๆ ที่ "ผลัดกันเขียน - เวียนกันอ่าน" ในหมู่คน คอเดียวกัน  จะค่อยๆออกฤทธิ์ให้สิ่งที่ดีกว่า บังเกิดขึ้นในสังคมครับ เพียงแต่ไม่อาจกำหนดเวลาได้ชัดเจนเท่านั้นเองครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท