ชีวิตที่พอเพียง  4251. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา  ๑๔๕. หนุนครูและโรงเรียนพัฒนาตนเองทั้งระบบด้วยการยืนยันคุณค่าผลงาน 


 

          นี่คือข้อสะท้อนคิด จากการเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการออกแบบการทำงานเชิงกลยุทธ์

ภายใต้แผนพัฒนาคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบ ของ กสศ.   เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2565   

โครงการ TSQP ดำเนินการมาแล้วประมาณ ๓ ปี    ได้สร้าง “สินทรัพย์ทางปัญญา” (intellectual assets) ในระบบการศึกษาไทยมากอย่างน่าชื่นชม     เป็น “สินทรัพย์” ระดับปฏิบัติการ คือครู ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์  และโรงเรียน 

“สินทรัพย์” เหล่านี้ พร้อมที่จะลุกขึ้นแสดงบทบาท “ผู้ก่อการ” (agency) หรือผู้นำการเปลี่ยนแปลง    เพื่อพัฒนาระบบการศึกษา สู่การศึกษาแห่งศตวรรษที่ ๒๑   หากระบบนิเวศภายในระบบบริหารการศึกษาระดับชาติเอื้ออำนวย   

หลักฐานหนึ่งของ “สินทรัพย์” ดังกล่าวอยู่ในบันทึก online PLC coaching นิทรรศการครูต้นเรื่อง ออนไลน์ เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๕ (๑)     

วิธีการหนึ่ง ที่ กสศ. สามารถใช้หนุนให้ “สินทรัพย์” เหล่านี้ แสดงพลังสร้างการเปลี่ยนแปลงระบบใหญ่ของการศึกษาไทยได้    คือการหาหลักฐานว่านักเรียนได้ประโยชน์จากการดำเนินการของ “สินทรัพย์” ระดับปฏิบัติการ คือครู ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ และโรงเรียน เหล่านี้   

ดำเนินการวัดหรือประเมิน CLO – Core Learning Outcome ของนักเรียนในโรงเรียนแกนนำการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น    โดยประเมินครบทั้ง ๔ ด้าน คือ VASK – Values, Attitude, Skills, Knowledge    นำผลการประเมินออกเผยแพร่ ให้คนทั่วไปรับรู้และเชื่อมั่นว่า โรงเรียนในระบบการศึกษาตามปกติสามารถส่งมอบการศึกษาคุณภาพสูงให้แก่บุตรหลานของตนเองได้   หากมีการดำเนินการเปลี่ยนแปลงวิธีจัดการเรียนการสอน และการส่งเสริมให้ครูและโรงเรียน มีวงจรการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง   

เป็นการยืนยันคุณค่าของผลงาน ด้วยการประเมินผลลัพธ์ที่นักเรียนได้รับ   เพื่อยืนยันว่านักเรียนได้รับการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ และมีความเสมอภาค    โดย สกศ. ต้องมีวิธีวัดความเสมอภาคในผลลัพธ์การเรียนรู้   ซึ่งวิธีหนึ่งคือ Effect Size   

นำออกสื่อสารสังคม     โดยสื่อสารผ่านตัวนักเรียน  ผู้ปกครอง ครู  ผู้บริหารโรงเรียน   กรรมการโรงเรียน   ศึกษานิเทศก์   ผู้อำนวยการเขตการศึกษา   และผู้บริหารส่วนกลางของระบบการศึกษา   

ทั้งหมดนี้ เพื่อหนุนให้โรงเรียน  ครู  ผู้อำนวยการโรงเรียน  ศึกษานิเทศก์ และภาคีเครือข่าย ที่มีการเปลี่ยนแปลงวิธีทำงาน เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของโรงเรียนไปแล้ว   ได้ทำหน้าที่ผู้นำการเปลี่ยนแปลงของระบบการศึกษาของประเทศ 

เพื่อให้ กสศ. ได้ทำหน้าที่ catalyst for change   เหนี่ยวนำการเปลี่ยนแปลงของระบบการศึกษาไทย

วิจารณ์ พานิช

๒๙ พ.ค. ๖๕

   

หมายเลขบันทึก: 703403เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2022 17:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กรกฎาคม 2022 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท