วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙)  ๑๓๑. แนวทางประเมินผลการลงทุนวิจัยพื้นฐาน


 

วารสาร Nature  ลงบทความเรื่อง To boost South Korea’s basic science, look to values, not just budgets  เขียนโดย So Young Kim   

ผมติดใจข้อความว่า “South Korea’s research assessment, grant processes and cultural conventions do not promote innovation. Policies are more suited to applications than to discovery, favouring short-term results over bold exploration. To change that, here’s what policymakers should keep in mind.” 

ในอดีต ๕๐ ปีที่ผ่านมา เกาหลีใช้นโยบายที่ชัดเจนในการพัฒนาประเทศ   เริ่มจากนโยบายเปลี่ยนจากเศรษฐกิจฐานเกษตรกรรม สู่เศรษฐกิจฐานอุตสาหกรรม   หนุนด้วยนโยบายวิจัยและพัฒนาเพื่อการเป็นประเทศ “ไล่กวดอย่างเร็ว” (fast follower)   

สามสิบปีเศษที่ผ่านมา ความสำเร็จของการพัฒนาอุตสาหกรรม นำสู่นโยบายใหม่ ในการเป็นประเทศ “ผู้นำ” (first mover)    หนุนด้วยนโยบายเน้นการวิจัยพื้นฐาน    ทำให้เกาหลีสะดุดระบบจัดการงานวิจัยของชาติตามข้อความที่ยกมาข้างต้น   

เอามาเล่าเพื่อเสนอว่า ระบบประเมินผลงานวิจัยพื้นฐาน กับระบบประเมินผลงานวิจัยนวัตกรรมต้องใช้ต่างกระบวนทัศน์กัน    มิฉะนั้น งานวิจัยพื้นฐานจะชะงักงัน    เพราะงานวิจัยพื้นฐานเป็นการปูพื้น  ให้ผลในระยะยาว ไม่ใช่ในระยะสั้น   

ขอขอบคุณ ดร. นพ. บดินทร์ ทรัพย์สมบูรณ์ ที่กรุณาส่งบทความดังกล่าวมาให้    

วิจารณ์ พานิช

๓ มิ.ย. ๖๕             

                                                                                                                                                                                                                                                        

 

หมายเลขบันทึก: 703402เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2022 17:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กรกฎาคม 2022 17:14 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I think PRC R&D spills into applications and cheap gadgets (see Alibaba, Amazon, Ebay, …). Manufacturing technologies are also innovations (that raise GDP and fund for R&D areas and set higher goals for innovators). I think TH needs more in-house applications (manufacturing and distribution) to egg on TH innovators.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท