GotoKnow

ชีวิตที่พอเพียง  4234. Annecy : 5. PMAC 2023 – ลงมือทำ

Prof. Vicharn Panich
เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2565 16:37 น. ()

 

หัวข้อย่อยที่ ๓ : Making a difference: Taking action on the ground   มีองค์การอนามัยโลกเป็นแกนนำ   

จับที่ประเด็น governance และ political economy    โดยผู้แทนองค์การอนามัยโลกเสนอกิจกรรม   นำเสนอกรณีศึกษา   กรณีตัวอย่างความสำเร็จ  แนวทางแก้ปัญหา   ตัวอย่างจากชุมชน   ตัวอย่างจากประเทศ   

ข้อเสนอจากการทำงานร่วมกันก่อนหน้าการประชุมที่ Annecy   บอกชัดเจนว่า หัวข้อย่อยที่ ๒ และ ๓ มันเหลื่อมซ้อนกัน    เป็นความท้าทายของการจัดการประชุมเรื่องที่ complex – adaptive มากๆ   ที่สำหรับผม ต้องทำให้หลักการชัด   และนำเอากรณีตัวอย่างการปฏิบัติตามหลักการมาทำความเข้าใจกัน ว่ามันจะนำไปสู่การแก้ปัญหา หรือสร้างโลกใหม่ที่จะไม่ล่มสลายเพราะปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอย่างไร

ข้อคิดของผมคือ คนในวง PMAC organizer ไม่มีคนจากวงการที่เป็นต้นเหตุของปัญหา เข้ามาร่วมคิด    คือคนในวงการอุตสาหกรรม วงการธุรกิจต่างๆ   ที่มุ่งสร้างผลกำไร (profit) เป็นหลัก คำนึงถึงความมั่นคงยั่งยืนของมนุษยชาติ (people) และของโลก (planet) น้อย  หรือแทบไม่ได้คำนึงถึงเลย

นอกจากนั้น ในการประชุม 2nd Preparatory Meeting คณะกรรมการยังมีความเห็นไม่ตรงกัน ว่าจะโยงประเด็นมาหาเรื่องสุขภาพ สุขภาวะ ให้มากๆ    หรือจะเชื่อมโยงไปยัง sector อื่นๆ ให้มาก    เพราะทั้ง climate change   และ health เป็นเรื่องที่ซับซ้อน   มีผู้แสดงหรือผู้เกี่ยวข้องหลากหลายมาก   หากทำกันอยู่ในวงแคบๆ เฉพาะคนทางสุขภาพ จะไม่เกิดผลกระทบอย่างแท้จริง       

ผมเข้าใจว่า องค์การระหว่างประเทศที่มาร่วมเป็น co-host ของ PMAC   เขามีความเชื่อว่า ปัญหาโลกแก้ได้ด้วยกลไก governance  ที่เข้าใจปัจจัยด้าน political economy    แล้วนำมาจัดกลไก governance ให้นำสู่ผล     ที่คนหน่อมแน้มอย่างผมไม่ค่อยเข้าใจ    แต่ก็มีความเชื่อว่า กลไก governance ระหว่างประเทศมีความสำคัญอย่างแน่นอน   แต่ไม่ทั้งหมด    ยังต้องการมุมมอง และ engagement จากฝ่ายปฏิบัติ คือภาคธุรกิจเอกชนด้วย    PMAC ยังแก้จุดอ่อนเรื่อง private sector engagement ไม่สำเร็จ   

วิจารณ์ พานิช

๒๒ พ.ค. ๖๕

 

สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ

ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย