ชีวิตที่พอเพียง  4231. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ๑๔๔. เชื่อมพลังสองขั้วในสองมิติ เพื่อคุณภาพเด็กและเยาวชนไทย 


 

          นี่คือข้อสะท้อนคิด จากการเข้าร่วมประชุมศึกษาดูงานที่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เช้าวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕   เรื่องรูปแบบการจัดการเรียนรู้แนวใหม่    ที่เป็น active learning อย่างแท้จริง     หลายอย่างที่ผมบรรยายเรื่อง active learning ไว้ที่ (๑)มีการปฏิบัติจริงที่โรงเรียนสาธิตระดับมัธยม ที่นี่ 

โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นโรงเรียนมัธยมนานาชาติ ตั้งมา ๗ ปี    รับนักเรียนชั้น ม. ๑ เมื่อ ๖ ปีที่แล้ว    ขณะนี้นักเรียนรุ่นแรกกำลังจะขึ้นชั้น ม. ๖   เป็นการทำงาน ๗ ปีที่เต็มไปด้วยการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การทดลองและเรียนรู้    ผมฟังไปนึกถึง Kolb’s Experiential Learning Cycle ไป (๒)   

เพราะทีมโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิบายการเรียนรู้จากการปฏิบัติในช่วง ๗ ปี อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ   ผ่านเรื่องท้าทายจากพ่อแม่ผู้ปกครองนักเรียน  ตัวนักเรียนเอง  ตัวครูและผู้บริหาร    ที่สำคัญ ทีมงานสามารถเรียนรู้ในระดับหลักการ (concept) ตามที่แนะนำไว้ใน Kolb’s Experiential Learning Cycle ที่ผมอธิบายไว้ที่ (๑) 

ตัวอย่างของข้อเรียนรู้เชิงหลักการที่ อ. ศราวุธ จอมนำ รองผู้อำนวยการฝ่ายกระบวนการเรียนรู้นำเสนอ คือ ในด้านวัฒนธรรมองค์กร

 Graphical user interface, applicationDescription automatically generated

ด้านระบบนิเวศการเรียนรู้   เกิดการเรียนรู้และพัฒนาระบบนิเวศของ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ชัดเจนในวิธีปฏิบัติ และครูมีทักษะในการจัดระบบนิเวศดังกล่าว   

Graphical user interface, applicationDescription automatically generated

อีกหัวข้อหนึ่งคือ โครงการก่อการครู(Teacher Agency) ที่ได้รับทุนจาก สสส. ดำเนินการ ๓ รุ่น   รุ่นละ ๑๐๐ คน    ได้ครูนักก่อการ(ดี) กระจายอยู่ทั่วประเทศ ๓๐๐ คน (๓) 

ผมเข้าใจว่า รายการวันนี้ ทางโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต้องการนำเสนอให้คุณสราวุธ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ TCP (กระทิงแดง) ได้รับทราบ   เพราะคุณสราวุธสนใจสนับสนุนเรื่องอะไรผมก็ฟังไม่ถนัด    เข้าใจว่าสนับสนุนการขยายผลจัดการศึกษาแนวใหม่ ตามที่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดำเนินการอยู่     

ผมตีความว่า มีภาคธุรกิจเอกชนขนาดใหญ่สนใจสนับสนุนการจัดการศึกษาในแนวทางใหม่   ให้ขยายไปก่อประโยชน์แก่นักเรียนอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ โดยเฉพาะต่อนักเรียนกลุ่มด้อยโอกาส   

ทีมโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำโดย รศ. ดร. อนุชาติ พวงสำลี ประธานบริหาร และ อ. อธิษฐาน์ คงทรัพย์ ผู้อำนวยการ   ค้นพบแนวทางดำเนินการจัดการเรียนรู้แนวใหม่ ที่พิสูจน์แล้วในระดับหนึ่งว่าได้ผลดี   และได้สร้างครูนักก่อการขึ้นจำนวน ๓๐๐ คน ที่จะเป็นกำลังสร้างสรรค์การเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ๆ ต่อเนื่อง   

ผมจึงมองเห็นพลังสองขั้วในสองมิติตามชื่อบันทึก    พลังสองขั้วคือขั้วภาครัฐ กับขั้วภาคธุรกิจเอกชน    พลังสองมิติคือ การเรียนรู้มิติที่เป็นทางการ เป็นระบบใหญ่ของประเทศ   กับมิติที่เป็นทางการน้อย เป็นระบบฉีกแนวและสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ๆ   อย่างที่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และโครงการก่อการครูดำเนินการอยู่     

ผมอยากให้มีการพูดคุยปรึกษาหารือ ระหว่างพลังสองขั้ว   ว่าจะร่วมกันสร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่วงการศึกษาไทยได้อย่างไร    โดยที่ขั้วภาครัฐ กสศ. กำลังมีกลยุทธระดมทุนจากภาคธุรกิจเอกชน เพื่อร่วมกันสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาอยู่พอดี    ดังโครงการ ราชบุรีโมเดล zero drop-out (๔)  (๕)    

หวังให้เกิดการผสานพลังการพัฒนาระบบการศึกษา ๒ มิติ   คือมิติระบบใหญ่ กับมิติริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ๆ    ที่จะช่วยให้ประเทศไทยบรรลุคุณภาพการศึกษา และความเสมอภาคทางการศึกษา ได้ตามนโยบายของประเทศ   

จึงขอเสนอต่อ กสศ. ให้พิจารณาหาทางพูดคุยกับ คุณสราวุธ อยู่วิทยา  และ รศ. ดร. อนุชาติ พวงสำลี เพื่อหาทางร่วมมือกัน    เพื่อเชื่อมพลังสองขั้วในสองมิติ ดังกล่าวแล้ว   เพื่อคุณภาพเด็กและเยาวชนไทย    

                   

วิจารณ์ พานิช   

๑๑ พ.ค. ๖๕   

 

 

หมายเลขบันทึก: 702931เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2022 09:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2022 09:10 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I like to see “Parents also learn” (TSS-1) and “Parents participate in school development” (TSS-5) getting highlighted. I believe the deep-seeded Thai culture of obedience is very hard to loosen. This culture make Thais silent amid injustice, prejudice and corruption. Unable to join in conversations (for fear of being ‘out of place’ or appearing disrespectful. Unable to offer ideas, facts, supports even for the right reasons. Look at the responses to blogging by prominent scholars and pundits, Virtually, none! So, sociopolitical or technical matters never get aired, discussed and clarified. This is also an underlining reason for lack for Thai initiatives and innovation which is needed to survive in the rest of this century.

I urge Thais to be more ‘vocal’. Say what we think, learn from being open and stand up for ‘our rights’.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท