เข้าระบบ
สมัครสมาชิก
หน้าแรก
สมาชิก
"คนเมืองน้ำดำ"
สมุด
"ภาษาศิลป์"
"ภาษาไทญ้อ อ. ท่...
"คนเมืองน้ำดำ"
นาย ทรงศักดิ์ ภูเก้าแก้ว
สมุด
บันทึก
อนุทิน
ติดต่อ
"ภาษาไทญ้อ อ. ท่าอุเทน จ.นครพนม"
ภาษาญ้อ
- ภาษาญ้อ
(Nyaw) หรือ
ภาษาไทญ้อ
(Tai Yo/Tai Nyaw) หรือ
ภาษาไทแมน
(Tai Mène) เป็น
ภาษากลุ่มไท
ใน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยมีความใกล้ชิดกับ
ภาษาไทเปา
ใน
ประเทศเวียดนาม
ซึ่งมีชื่อเรียกว่า
Tai Do
และ
Tai Quy Chau
[4]
เดิมเคยเขียนเป็น
อักษรไทญ้อ
แต่ปัจจุบันไม่ใช้แล้ว ภาษานี้พูดกันในหมู่ชาวไทญ้อซึ่งมีอยู่ใน
ประเทศไทย
ราว 50,000 คน (พ.ศ. 2533)
- ใน
จังหวัดสกลนคร
หนองคาย
นครพนม
มหาสารคาม
ปราจีนบุรี
และ
สระบุรี
พบได้มากที่
อำเภอนาหว้า
อำเภอท่าอุเทน
อำเภอโพนสวรรค์
อำเภอศรีสงคราม
อำเภอเมืองสกลนคร
อำเภออรัญประเทศ
เป็นต้น ส่วนใหญ่อพยพมาจากทางตอนเหนือของ
แขวงหลวงพระบาง
และ
แขวงคำม่วน
ประเทศลาว
-"ญ้อ" กลุ่มชาติพันธุ์ในตระกูลไทหรือไต เป็นกลุ่มคนดั้งเดิมบนดินแดนอุษาคเนย์ อพยพโยกย้ายเคลื่อนถิ่นฐานไปตามลุ่มน้ำใหญ่ ๆ เช่น ลุ่มน้ำอิรวดี ลุ่มน้ำสาละวิน และลุ่มน้ำโขง ชาวญ้อมักตั้งบ้านเรือนอยู่ตามริมแม่น้ำโขง อำเภอท่าอุเทนถูกกล่าวขานว่าเป็น เมืองหลวง ของคนญ้อที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ชาวญ้อยังใช้ภาษาของตนที่มีที่มาจากภาษาลาวเก่า นอกจากนี้ยังมีความเชื่อและเคารพในสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ การนับถือผีฟ้า ผีเฮือน จนต่อมาพุทธศาสนาได้เข้ามามีอิทธิพลในแถบนี้และการใช้อำนาจรัฐบังคับให้ละทิ้งศาสนาผี การนับถือจึงลดบทบาทความสำคัญลง
ถิ่นฐานคนญ้อ
-เมื่อ ๒๐๐ ปีก่อน คนญ้ออพยพมาจากเมืองคำเกิด แขวงคำม่วนใน สปป.ลาว เข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นเมืองชัยสุตอุตมะบุรี ตำบลไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม (ปัจจุบันเมืองชัยสุดอุตะมะ ในสปป.ลาว หลงเหลือร่องรอยเป็นวัดร้าง ๓ แห่ง ได้แก่ วัดกลาง วัดศรีบุญเรือง และวัดยอดแก้ว เท่านั้น) ต่อมาเกิดสงครามจึงได้มีการอพยพออกไปตั้งเมืองที่อำเภอโปงเลงใกล้ประเทศเวียดนาม และสุดท้ายได้ย้ายกลับมาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอท่าอุเทนอีกครั้ง อย่างไรก็ตามปัจจุบันพบผู้ที่พูดภาษาญ้อในหลายพื้นที่ เช่น อำเภอท่าบ่อ และอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย, อำเภอท่าอุเทน ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอนาหว้า อำเภอศรีสงคราม และอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม, เขตอำเภอวานรนิวาส สว่างแดนดิน อากาศอำนวย กุดบาก กุสุมาลย์ และอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร, บ้านโพนสิม ตำบลหัวนาคำ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ และบ้านท่าขอนยาง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม นอกจากนี้ยังมีพูดกันในอำเภอคลองน้ำใส จังหวัดจันทบุรี อีกด้วย
-การย้ายถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ญ้อมีสาเหตุมาจากการถูกเกณฑ์และอพยพมาในภายหลังเพื่อตั้งถิ่นฐานตามญาติพี่น้องที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย โดยการอพยพแต่ละครั้ง จะมีผู้นำมาด้วย เช่น ในปี พ.ศ. ๒๓๕๑ ญ้อเมืองท่าอุเทน มีท้าวหม้อ เป็นหัวหน้า ได้พาลูกเมียและบ่าวไพร่จำนวน ๑๐๐ คน ตั้งบ้านเมืองอยู่ที่ปากแม่น้ำสงครามซึ่งอยู่ในบริเวณพื้นที่จังหวัดนครพนม แต่หลังจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ ได้มีการอพยพกลับไปตั้งถิ่นฐานอยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงที่เมืองปุงลิง (ปัจจุบันอยู่ในแขวงคำม่วน สปป.ลาว) และในปี พ.ศ. ๒๓๗๑ ก็อพยพกลับมาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ของเมืองหงสา เมืองไชยบุรี ในแขวงไชยบุรี สปป.ลาว ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๗๖ เจ้าเมืองหลวงปุงลิงได้พาครอบครัวและบ่าวไพร่ข้ามแม่น้ำโขงมาประเทศไทยโดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งถิ่นฐานที่เมืองท่าอุเทน ปัจจุบันเป็นอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
ส่วนหัวหน้าของกลุ่มชาติพันธุ์ญ้ออีกกลุ่มหนึ่ง คือ พระคำก้อน เจ้าเมืองคำเกิด สปป.ลาวได้ขอสวามิภักดิ์ต่อกรุงสยาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. ๒๓๗๙ และในปี พ.ศ. ๒๓๘๒ ได้อพยพมามาตั้งถิ่นฐานที่เมืองท่าขอนยาง ปัจจุบันเป็น ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
ประเพณีและการละเล่นของญ้อ
-กลุ่มชาติพันธุ์ญ้อในประเทศไทยมีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกับคนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาก ประเพณีที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกลุ่มชาติพันธุ์ญ้อคือประเพณีไหลเรือไฟในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ หรือวันออกพรรษา เรียกว่า “ไหลเฮือไฟ” นอกจากนี้ ยังมีวัฒนธรรมการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ญ้อ คือ หมากโข่งโหล่ง หมากต่อไก่ หมากนู่เนียม ปาบึกแล่นมาฮาด หม่อจ้ำหม่อมี และหมากอีหมากอำ การละเล่นแต่ละประเภทจะมีวิธีการเล่นและมีเพลงประกอบการละเล่นด้วย เช่น การละเล่นหม่อจ้ำหม่อมี มีเพลงประกอบว่า จั้มหม่อมี่มาจี่หม่อหม่น หักคอคนเซอหน้านกกด หน้านกกดหน้าลิงหน้าลาย หน้าผีพายหน้ากิกหน้าก่อม หน้ากิก (หน้าสั้น) หน้าก่อม (หน้ากลม) ยอมแยะแตะปีกผึ่งวะผึ่งวะ (ซ้ำตั้งแต่ต้นไปเรื่อยๆ) เป็นต้น
ลักษณะภาษาญ้อ
-ภาษาญ้อเป็นภาษาประจำกลุ่มชาติพันธุ์ญ้อ เป็นภาษาที่สำคัญภาษาหนึ่งในภาคอีสาน เนื่องจากกลุ่มชาติพันธุ์ญ้อมีประวัติความเป็นมา ขนบธรรมเนียมประเพณี และภาษาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน กล่าวคือ มีความแตกต่างจากภาษาไทยกลางหรือภาษาไทยอีสานในเรื่องของคำ เสียงสระและวรรณยุกต์
-ระบบเสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ของภาษาญ้อในแต่ละพื้นที่จะมีความแหมือนหรือแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ในที่นี้จะขอกล่าวถึงระบบเสียงในภาพรวม ดังนี้ พยัญชนะได้แก่ /ก ค ง จ ซ ญ ด ต ท น บ ป พ ฟ ม ย ล ว อ ฮ/ หน่วยเสียงทั้งหมดนี้ปรากฏในตำแหน่งพยัญชนะต้นได้ทั้งหมด และหน่วยเสียงที่เป็นพยัญชนะท้าย ได้แก่ /-ก -ง -ด -น -บ -ม
-ย -ว/ รวมถึงเสียงกักที่เส้นเสียงข้างท้ายพยางค์ที่มีสระเสียงสั้น
- สระเดี่ยว ได้แก่ /อิ, อี, เ-ะ, เ, แ-ะ, แ , อึ, อื, เ-อะ, เ-อ, อะ, อา, อุ, อู, โ-ะ, โ-, เ-าะ, ออ/ สระบางตัวของภาษานี้มีความแตกต่างจากภาษาไทยกลางและไทยอีสาน เช่น เสียงสระ เออ ของคำที่ตรงกับเสียงสระ ใ –ของภาษาไทยอีสานและไทยกลาง เช่น หัวเจ๋อ = หัวใจ เฮอ = ให้ ผู้เญ่อ = ผู้ใหญ่ ลูกเพ่อหรือ ลูกพ่อ = ลูกสะใภ้ เส้อ = ใส่ เบ๋อ = ใบไม้ เม่อ = ใหม่ เสอ = ใส เตอ = ใต้ เกอ = ใกล้ เญ่อ = ใหญ่ เน้อ = ใน
-สระประสม ได้แก่ /เอีย, เอือ, อัว/
-วรรณยุกต์ ได้แก่ วรรณยุกต์ที่ ๑ (ต่ำ-ขึ้น) วรรณยุกต์ที่ ๒ (กลางระดับ, กลาง-ขึ้น) วรรณยุกต์ที่ ๓ (ต่ำ-ตก, กลาง-ตก) วรรณยุกต์ที่ ๔ (สูง-ขึ้น-ตก, กลาง-ขึ้น-ตก) อย่างไรก็ตามวรรณยุกต์ภาษาญ้อจะแตกต่างไปตามท้องถิ่นต่างๆ
-ลักษณะที่โดดเด่นอีกประการหนึ่งก็คือ คำแสดงคำถามซึ่งเป็นการใช้คำที่แตกต่างจากภาษาไทยกลางและไทยอีสาน ตัวอย่าง เช่น
-เตอ/เบอะเตอ = อะไร เช่น นั่นเตอ / นั่นเบอะเตอ = นั่นอะไร เจ้า เฮ็ดเตอ / เจ้า เฮ้อ เบอเต๋อ = คุณทำอะไร
-เฮ็ดเตอ = ทำไม เช่น ถาม ข้อย เฮ็ด เตอ = ถามฉันทำไม
เล่อ เล่อ / จั้งเลอ = อย่างไร เช่น เขา เว่อ เลอ เล่อ = เขาพูดอย่างไร แม่ ซิ เฮ็ด เลอ เล่อ = แม่จะทำอย่างไร เจา ซิ เว่า จั้งเลอ = คุณจะพูดอย่างไร
-มื่อเล่อ = เมื่อใด/เมื่อไร เช่น เจา คึ้น เฮือน มื่อเล่อ = คุณขึ้นบ้านใหม่เมื่อใด
-กะเล่อ = ที่ไหน / ไหน เจา ซิ ไป กะเล่อ = คุณจะไปไหน
คำศัพท์ที่ใช้ในประโยคคำถามเกี่ยวกับบุคคล ใช้คำว่า เผอ = ใคร เผอเลอ = ใคร สามารถใช้ทั้งขึ้นต้น และลงท้ายประโยค เช่น
เผอ มา ห่า ข้อย = ใครมาหาฉัน
เผอเลอ เอิ้น ข้อย = ใครเรียกฉัน
เฮือน ของ เผอเลอ = บ้านของใคร
เผอ มา เฮ็ด ปะ เตอ = ใครมาทำอะไร
จากตัวอย่างข้างบนจะพบว่า การเรียงประโยคจะมีลักษณะที่เป็น ประธาน-กริยา-กรรม
-อย่างไรก็ตาม ภาษาญ้อในแต่พื้นที่มีการใช้คำศัพท์หรือสำเนียงทั้งที่เหมือนและแตกต่างกันออกไป คำพื้นฐานส่วนใหญ่เป็นคำเดียวกัน แต่มีคำศัพท์บางหมวดที่ใช้แตกต่างกันตามการปฏิสัมพันธ์กับคนกลุ่มอื่นที่อยู่รอบข้าง ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ภาษาญ้อแตกต่างกันตามถิ่นที่อยู่อาศัย เช่น คำว่า เท้าแพลง ภาษาญ้อสกลนครเรียกกว่า ตีน-ขะหล่อย ภาษาญ้อนครพนม เรียกว่า ตีน-พิก-โบก เป็นต้น
*"เรื่องราว เชื้อชาติ เผ่าไทญ้อ"
เขียนใน
GotoKnow
โดย
"คนเมืองน้ำดำ"
ใน
"ภาษาศิลป์"
คำสำคัญ (Tags):
#"ชนเผ่าไทญ้อ"
หมายเลขบันทึก: 702739
เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2022 14:27 น. (
)
แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2022 02:54 น. (
)
สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ
ความเห็น (0)
ไม่มีความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
หน้าแรก
สมาชิก
"คนเมืองน้ำดำ"
สมุด
"ภาษาศิลป์"
"ภาษาไทญ้อ อ. ท่...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID
@gotoknow
สงวนลิขสิทธิ์ © 2005-2022 บจก. ปิยะวัฒนา
และผู้เขียนเนื้อหาทุกท่าน
ขอแนะนำ
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี