แนวทางสู่ชีวิตนักเรียนรู้


 

หนังสือ Hyper-Learning : How to Adapt to the Speed of Change (2020)  เขียนโดย Edward D. Hess   แนะนำแนวทางสู่การเป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิต    ก้าวข้ามมายาในใจของตัวเราเอง    สู่ชีวิตที่ดีในยุคที่ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงเร็ว ที่เรียกว่ายุค VUCA 

เริ่มต้นด้วยการฝึกเอาชนะอหังการ์หรือตัวตน    ให้กลายเป็นคนอ่อนน้อมพร้อมเรียนรู้    มีทักษะควบคุมอารมณ์ตนเองให้ฟังความเห็นต่างหรือข้อโต้แย้งด้วยความสงบ   ได้ยินถ้อยคำความเห็นต่างอย่างชัดเจนและนำมาคิดใคร่ครวญเพื่อฝึกมองหลายมุม    อาจตั้งคำถามเพิ่มเพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับนำมาคิดต่อ    คำแนะนำที่สำคัญคือ อย่าเอาไอเดียเป็นตัวตน (You are not your idea) 

ฝึกสติภาวนา เพื่อให้สมองแจ่มใสพร้อมเรียนรู้   

ฝึกตนเองให้สมาทานสองกระบวนทัศน์ คือ (๑) กระบวนทัศน์พัฒนา (Growth mindset)  (๒) กระบวนทัศน์ความฉลาดแนวใหม่ (NewSmart mindset)   คือเชื่อว่าความฉลาดแสดงออกผ่านความสร้างสรรค์และนวัตกรรม    ซึ่งหมายความว่าความฉลาดนั้นเกิดจากกิจการที่ทำเป็นทีม  ไม่ใช่ทำคนเดียว   

ฝึกพฤติกรรมของ hyper-learner   ได้แก่ ใจเปิด  สบายใจในความไม่แน่นอน  ถ่อมตน และร่วมมือ   อันจะช่วยเปิดทางสู่การทำความเข้าใจหลักการที่ซับซ้อน  เทคโนโลยีใหม่ และโอกาสในอนาคต   พฤติกรรมเหล่านี้ต้องปฏิบัติจนดูเป็นเรื่องธรรมดาๆ  และวัดได้ที่ความก้าวหน้าของงานที่รับผิดชอบ   

เขายกตัวอย่างหนึ่งที่ประธานบริษัทส่งเสริมให้คนในบริษัทสมาทาน hyper-learning mindset/culture   โดยส่งเสริมให้พนักงานให้ความเห็นโต้แย้งหรือวิจารณ์แนวคิดต่างๆ รวมทั้งที่มาจากหัวหน้าหรือผู้บริหารของตน   และส่งเสริมให้พนักงานทดลองสิ่งใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆ เพื่อเผชิญและเรียนรู้จากประสบการณ์ความล้มเหลว     

เขาแนะนำบริษัทหรือองค์กรให้ยึดหลักการ ๔ ประการคือ  (๑) ให้คุณค่าต่อไอเดีย (idea meritocracy)  (๒) บรรยากาศเชิงบวก (positivity)  (๓) ความปลอดภัยทางใจ (psychological safety)  (๔) ความมุ่งมั่นส่วนตน (self-determination)     

การเรียนรู้ที่แท้เริ่มจากการเลิกเชื่อเรื่องเดิมๆ (unlearn)   

หัวใจอยู่ที่ NewSmart mindset ... ความฉลาดแนวใหม่ ฉลาดสร้างสรรค์และนวัตกรรม   ไม่ใช่ “ฉลาดรู้” อย่างความเชื่อเดิม  

วิจารณ์ พานิช

๑๕ เม.ย. ๖๕

 

 

หมายเลขบันทึก: 702581เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2022 16:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2022 16:35 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท