934. เรียนการค้นหาอิคิไกจากแอนนิเมะของ Studio Ghibli เรื่อง "The Wind Rises (2013) ปีกแห่งฝัน วันแห่งรัก"


The Wind Rises (2013) ปีกแห่งฝัน วันแห่งรัก

บทความโดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์

The Wind Rises (2013) เป็นหนังการ์ตูนญี่ปุ่นของ Studio Ghibli ตอนนี้มีอยู่ใน NetFlix เป็นอแนนิเมะที่เล่าเรื่องของนักออกแบบเครื่องบินผู้ทำให้ญี่ปุ่นกลายเป็นผู้นำเทคโนโลยีเรื่องเครื่องบินรบของโลก เรียกว่าพลิกโฉมกลายเป็นผู้นำโลก  เป็นเครื่องบินที่เรียกว่า Zero ที่ต่อมามีบทบาททำให้ญี่ปุ่นล้ำหน้าเรื่องกองทัพอากาศในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หนังเรื่องนี้มาก่อนความโหดร้ายของญี่ปุ่นในช่วงนั้นหลายปี หนังเริ่มต้นจากการพูดถึงชีวิตในวัยเด็กของจิโร โฮริโคชิ ที่สนใจเรื่องเครื่องบินเป็นพิเศษ มักหาวารสารเรื่องเครื่องบินของโลกตะวันตกมาอ่าน ชนิดจับจิตจับใจมากๆ เรียกว่าขึ้นสมองเลย  ขนาดฝันได้ไปคุยกับนักออกแบบเครื่องบินระดับโลกชาวอิตาลี่

จิโร่เมื่อโตขึ้นก็มาเรียนด้านวิศวกรรมการบินจนจบออกไปทำงานในบริษัทผลิตเครื่องบินก็แสดงความสามารถในการออกแบบจนไปต้องตาประธานบริษัท ท่านก็เลยมอบงานยากๆ ให้จิโร่ ถึงแม้จะล้มเหลวแต่จิโร่ก็ไม่หยุดพัฒนาการออกแบบ ตอนหลังถูกส่งไปดูงานที่เยอรมัน ก็เห็นว่าเยอรมันล้ำไปกว่าญี่ปุ่นนับสิบปี

เมื่อกลับมาก็นำแรงบันดาลใจมาพัฒนาเครื่องบินต่อ เพราะรู้สึกว่าญี่ปุ่นล้าหลังตะวันตกไปหลายปี เรียกว่าเถื่อนเลย ที่สุดก็ได้รับตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายออกแบบเครื่องบิน ด้วยการเห็นโลกมามากที่สุด ก็พาทีมออกแบบเครื่องบินที่ล้ำที่สุดรุ่นหนึ่งในยุคนั้น เอาเป็นว่าถ้าเทียบสมัยนี้ก็พอๆกับ F16 กับ Mig นั่นเอง  หนังจบลงด้วยพลังใจที่น่าทึ่งทั้งการทำงานและชีวิตส่วนตัว ก็ประสา Hero ได้แต่งงานกับคนรัก

ผมรู้สึกเลยนี่คืออิคิไก เหตุผลที่ชายคนนี้ตื่นขึ้นตลอดมาคือเครื่องบิน แต่ด้วยตาสั้นเลยเป็นนักบินไม่ได้มาเป็นนักออกแบบเครื่องบิน  ผมเห็นพัฒนาการของอิคิไกคนนี้ชัดเจน ทรงพลังมาตั้งแต่เด็ก ทำให้ผมนึกถึงหนังสือของอาจารย์โคโน นักวิจัยเรื่อง Ikigai  ที่บอกว่าอิคิไกมาจากสี่แหล่งคือ

Tanoshimi สันทนาการยามว่าง เช่น กินข้าวกับเพื่อน ดูหนัง ฟังเพลง ออกกำลัง การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า เกิดการค้นพบคุณค่าในชีวิต ชัดมากๆ ครับ

Gambari กิจกรรมที่ท้าทายมากๆ เช่นวิ่งมาราธอน วิ่งสำเร็จก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือประสบการณ์ที่ทำให้เกิดปัญหา ผิดหวัง ต้องฮึดสู้  ก็ทำให้เกิดการค้นพบตัวเอง

Shigeki การเปลี่ยนสภาพแวดล้อมไปสถานที่ พบปะผู้คนใหม่ๆ หา idea ใหม่ๆ เลยเกิดการเปลี่ยนแปลงคุณค่าในชีวิต   การเปลี่ยนคนเปลี่ยนสถานที่เช่นการทำงานได้เจอคนใหม่ๆ ได้เพื่อนใหม่ที่กลายมาเป็นทีมกันในเวลาต่อมา

Iyashi ไปในกลุ่มคน สถานที่ที่คุ้นเคยทำให้รู้สึกเป็นอิสระเป็นของตนเอง

สำหรับกรณีจิโร่เห็นเลย

  1. Tanoshimi สันทนาการยามว่าง จิโร่นี่มาจากเรื่องเครื่องบินเป็นอะไรที่เขาศึกษายามว่างมาตั้งแต่เด็ก  โตมาก็ยังชอบพับเครื่องบินกระดาษเล่น
  2. Gambari กิจกรรมที่ท้าทายมากๆ  จิโร่ถูกถ้าทายให้ทำเรื่องยากๆ ตั้งแต่เรียนและทำงานใหม่ๆ รวมทั้งท้าทายตัวเองให้ทำอะไรยาก กองทัพบอกให้เอาความเร็วแบบนี้ จิโร่เอาความเร็วและโครงสร้างที่ล้ำไปอีก ประมาณว่าออกแบบอะไรให้ล้ำไปกว่ายุคนี้ ไม่ใช่ออกแบบตามยุค
  3. Shigeki การเปลี่ยนสภาพแวดล้อมไปสถานที่ พบปะผู้คนใหม่ๆ หา idea  นี่ก็ชัดการเปลี่ยนสถานที่ไปดูงานที่เยอรมัน ทำให้เจอคนกลุ่มใหม่ๆ แรงบันดาลใจใหม่ๆ เกิดเป้าหมายใหม่ๆ ในชีวิต คราวนี้จิโร่ต้องการไปไกลล้ำกว่าตะวันตกเลย
  4. Iyashi ไปในกลุ่มคน สถานที่ที่คุ้นเคยทำให้รู้สึกเป็นอิสระเป็นของตนเอง หัวหน้าเองก็เป็นพื้นที่ปลอดภัยให้โอกาสจิโร่ ผิดก็ยังไม่ง่าให้โอกาส แถมส่งไปเยอรมันอีก

ชัดมากๆ จิโร่เป็นตัวอย่างของการคนพบและสร้างสิ่งแวดล้อม และเข้าไปหาส่ิงแวดล้อมที่ทำให้อิคิไกเติบโต จนเป็นปณิธานในชีวิตเลย หรือจะดับเปลี่ยนประเทศ ยกระดับอุตสาหกรรม

ถ้าจะมาประยุกต์ในไทยผมเห็นใครนะ ผมนึกถึงคนจริงคือหลวงพี่โก๋ หรือพระจิตร์ จิตตสังวโร ท่านเคยเป็นนักกลยุทธ์สายโฆษณาชื่อดัง ที่เคยได้รางวัลเมืองคานน์ ผมเคยเจอท่านที่วัดหลวงพ่อกล้วย ตอนหลังท่านไปออก Ted Talk ผมรู้สึกท่านเป็นคล้ายจิโร่ ทั้งทางโลกทางธรรม

ปัจจุบันท่านเป็นพระออกหนังสือ และเทศน์สอน ผมว่าเหตุผลที่ท่านตื่นมาแต่ละวันคือนิพพานจริงๆ ท่านเกิดมาเพื่อเป็นพระ ถ้าดูจาก Ted Talk จะเห็นว่าพัฒนการของท่านมาเป็นพระที่มุ่งนิพพานคือ

  1. Tanoshimi สันทนาการยามว่าง  ท่านชอบธรรมะ ทำบุญ ใส่บาตร เดินสายทำบุญ การสังเกตการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของคนรอบตัว ก็เลยทำให้โอกาสไปปฏิบัติธรรมหลายๆ ที่วัดป่าธรรมอุทยาน จ.ขอนแก่นในที่สุด
  2. Gambari กิจกรรมที่ท้าทายมากๆ  ท่านกล้าเดินทางไปอยู่หมู่บ้านพลัมไปปฎิบัติธรรมที่ฝรั่งเศส สายเซ็น ต่อมาเจอลูกพ่อกล้วยชวนมาอยู่ที่วัด  นี่ก็ท้าทายท่านสุดๆ ถือเป็นการผจญภัยครั้งสำคัญในชีวิต เพราะหลวงพี่ไม่ชอบวัดเลย วัดมีสิ่งปลูกสร้างมากมาย แต่หลวงพ่อก็ให้ข้อคิดว่า ถ้าลูกอยู่ที่ไหนที่ลูกชอบแล้วมีความสุขนี่ก็ดี แต่ถ้าอยู่ที่ไหนที่ลูกไม่ชอบแล้วมีความสุขนี่ลูกอยู่ได้ทุกที่ในโลก  แถมทุกอย่างที่ได้ทำก็เป็นสิ่งที่ขัดกับนิสัย เช่นแมว เช่นการดูแลเด็ก แต่การที่หลวงพี่ต้องการฝึกตนเองเลยตัดสินใจทำ ทำให้คนพบตัวเองในที่สุด
  3. Shigeki การเปลี่ยนสภาพแวดล้อมไปสถานที่ พบปะผู้คนใหม่ๆ หา idea  การเปลี่ยนจากคนกรุงเทพ มาอยู่ขอนแก่นมาเจอหลวงพ่อกล้วย ทำให้ท่านได้มุมมองใหม่ๆ เห็นปัญหาสังคมทำให้ตอนหลังท่านเป็นพระที่ทำหน้าที่อบรมเด็ก  ไปช่วยดูแลผู้ป่วยก่อนเสียชีวิตทำให้ท่านเห็นความหมายของชีวิต ที่นี่ทำให้หลวงพี่ลดอาการตัดสินคนลง คนมาวัดบางคนมาได้ยิ้มหัวเราะ บางคนสิ้นหวัง ไม่รู้จะไปหาใครหลวงพ่อสร้างสร้างให้คนทุกระดับเข้ามา
  4. Iyashi ไปในกลุ่มคน สถานที่ที่คุ้นเคยทำให้รู้สึกเป็นอิสระเป็นของตนเอง ก่อนหน้าเองหลวงพี่เองก็เป็นพื้นที่ปลอดภัยของเพื่อนๆ ที่บอกว่า “พระ พระขอคำปรึกษาที่ ผมมีทุกอย่าง แต่ไม่มีความสุขเลย” “หลวงพี่ช่วยผมด้วยผมหาตัวเองไม่เจอ” เริ่มจากการถูกแนะนำให้มาที่วัดหลวงพ่อกล้วยโดยเพื่อนกัลยาณมิตรของท่านเอง  ต่อมาท่านมาอยู่ขอนแก่นหลวงพ่อกล้วยและพระ อุบาสก อุบาสิกากลายเป็นพื้นที่ปลอดภัยของท่านมีปัญหาอะไรก็ถามหลวงพ่อ หลวงพ่อก็ให้ข้อคิด เช่นวันหนึ่งหลวงพ่อถามหนุ่มๆ กินข้าวเป็นไหม หลวงพี่ก็งง ว่าไม่เข้าใจหลวงพ่อก็ถาม เวลาจะกินน่ะใจอยากหรือกายอยาก และหลวงพี่เองก็เป็นพื้นที่ปลอดภัยของเพื่อนๆ ที่บอกว่า “พระ พระขอคำปรึกษาที ผมมีทุกอย่าง แต่ไม่มีความสุขเลย” “หลวงพี่ช่วยผมด้วยผมหาตัวเองไม่เจอ” ที่สุดด้วยสี่กระบวนการนี้ปัจจุบันท่านไปมีวัดของท่านเอง กลายเป็นพระที่มุ่งมั่นสู่หนทางการพ้นทุกข์ ลองดูใน Ted Talk ของท่านจะชัดมากๆ    พิมพ์คำว่าพระพระจิตร์ จิตตสังวโร และ Ted Talk จะเจอคลิ๊ปท่านชื่อสุขสันต์วันปล่อยวาง

สรุปดูอัตชีวประวัติของทั้งสองท่าน ผมรู้สึกถึงการเปลี่ยนผ่านเหมือนๆกันคือจากงานอดิเรกทำในยามว่าง กลายเป็นปณิธานที่ยิ่งใหญ่ของชีวิต เมื่อคุณทำอะไรในยามว่าง ถ้ายังทำอยู่มันจะพาท่านไปผจญภัย เปลี่ยนสถานที่ เจอคนและพื้นที่ปลอดภัย ที่สุดงานอดิเรกของท่านจะกลายเป็นเหตุผลของการตื่นขึ้นมาแต่ละวัน หรือเหตุผลการมีชีวิตอยู่น่าทึ่งมากๆครับ

ดังนั้นถ้าท่านอยากมีอิคิไก มาเลยครับ เริ่มจาก

  1. Tanoshimi หาเลยครับตอนนี้ท่านชอบทำอะไรในยามว่าง งานอดิเรก ถ้ามีแล้วอาจลองไปหาเพิ่มเติมว่าทำอะไรได้อีก ดูคนอื่นแล้วพัฒนางานอดิเรกใหม่ๆก็ได้
  2. Gambari ลองไปผจญภัย ไปทำอะไรสุดๆ ที่อาจต่อเนื่องกับงานอดิเรก หรือเปลี่ยนหัวข้อก็ได้ เช่นวิ่งแล้วไปวิ่งมาราธอนไปเลย
  3. Shigeki เปลี่ยนคนเปลี่ยนสถานที่ อาจลองเปลี่ยนกลุ่มคนที่สนใจคล้ายๆกันไปอีกกลุ่ม ไปอีกสถานที่อาจเจออะไรใหม่ๆ เป็นโอกาสใหม่ๆ
  4. Iyashi หากัลยาณมิตรครูบาอาจารย์ที่เรากล้าที่จะบอกปัญหา ปรึกษาเขาได้

 

นี่ครับการค้นหาอิคิไกแบบจับต้องได้แนวอาจารย์โคโน จริงๆ อาจารย์แยกประเภทไว้เท่านั้น แต่ผมไปดูเรื่องของสองท่านนี้ก็เห็นความเชื่อมโยงที่น่าทึ่ง มันต่อยอดกันไปเอง สรุปแล้วใครยังไม่มีอิคิไก เดินตามรอยสองท่านนี้ได้เลยครับ

 

Ref:

  1. Positive Sociology of Leisure: Contemporary Perspective
หมายเลขบันทึก: 702575เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2022 17:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2022 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท