ศาสตร์และศิลป์ในการป้องกันสิ่งชั่วร้าย


สิ่งชั้วร้าย เป็นสิ่งที่มีประจำกาย ประจำใจกับทุกคน ติดตาม ตัวเราเสมอ ประดุจเงาตามตัว เป็นเพียงแต่ว่า มันอาจจะยังไม่แสดงอาการออกมาให้เห็น  ยังไม่แสดงอารมณ์ความรู้สึกร้าย ๆ ออกมาให้เห็นเท่านั้น การป้องกันสิ่งชั้วร้ายมีหลายวิธี เช่น ฝึกจิตให้อยู่ในอำนาจเรา สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ฉลาดทางอารมณ์ เฉียบคมทางปัญญา อย่าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สุ่มเสี่ยงต่อการทำความผิด แข็งใจ ฝืนใจในบางสถานการณ์ อย่าเสพสิ่งเสพนติดให้โทษ กำจัดจุดอ่อนของสิ่งที่จะมารบกวนใจออกไป ต้องมีใจตั้งมั่นแน่วแน่อยู่ในคุณงามความดี ฝึกจิต ฝึกใจฝึกกาย วาจา ให้นิ่งไม่ปล่อยใจไปตามกระแสแห่งความชั่วร้ายนั้น ๆ สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ฝืนใจ จะได้กำไร ตามใจ จะชาดทุนฉลาดทางอารมณ์ และเฉียบคมทางปัญญา ย่อมจะสามารถพาต้นให้พ้นภัยและเป็นภูมิคุ้มกัน ภูมิต้านทานกับสิ่งชั่วร้ายได้อย่างแน่นอน...........

ศาสตร์และศิลป์ในการป้องกันสิ่งชั่วร้าย

 

ศาสตร์และศิลป์ในการป้องกันสิ่งชั่วร้าย

ดร. ถวิล  อรัญเวศ

       ในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ได้เน้นย้ำเรื่องกฎแห่งกรรมเป็นสำคัญ
กรรมจะหนักหรือจะเบานั้น ดูที่เจตนาของผู้กระทำเป็นสำคัญ ถ้าทำด้วยเจตนาดี
เป็นกรรมดี ถ้าทำด้วยเจตนาร้ายและประสงค์ผลร้ายนั้นให้กับตนหรือคนที่มิควรได้
และการกระทำนั้นเกิดผลสำเร็จก็เป็นกรรมชั่วเวรกรรมย่อมจะส่งผลต่อเขาไม่เร็วก็ช้า 
แต่ส่งผลแน่นอน เพราะทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่วแน่นอน

       ก็ต้องยอมรับความจริงที่ว่า ตราบใดที่คนเรายังไม่สิ้นกิเลส ยังวนเวียนอยู่ใน 
“สังสารวัฏ” หรือยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ยังเป็นมนุษย์ปุถุชนที่
ยังมีกิเลสอยู่ ย่อมจะมีโอกาสได้ทำกรรมไปต่าง ๆ นานา ดีบ้างชั่วบ้าง ปะปนกันไป
สุดแท้แต่ว่าสถานการณ์นั้น ๆ จะยับยั้งต่อกิเลสหรือสิ่งชั่วร้ายที่มายั่วยุได้มากน้อยเพียงใดเท่านั้น  
เมื่อตายไปแล้ว ก็ต้องไปรับผลแห่งเวรกรรมที่ตนเองได้ทำไว้ ไปเกิดใหม่ในภพใดภพหนึ่งตาม
ผลแห่งกรรมที่ตนได้ทำไว้แล้วนั้น และเมื่อตายในภพใหม่ก็ต้องไปเกิดใหม่อีกในภพต่อ ๆ ไป 
หากยังมีกิเลสอยู่ จะเป็นเช่นนี้ วนเวียนไปอย่างนี้ต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะหลุดพ้นจากกิเลส
ได้อย่างสิ้นเชิง หรื่อจนกว่าจะเป็นพระอนาคามี เป็นอรหันต์ คือผู้ไม่ต้องกลับมาเกิดรับเวรรับกรรมอีกต่อไป

        เพราะฉะนั้น การดำรงชีวิตในโลกนี้ ท่านจึงตรัสสอนให้เราอย่า

ประมาท พึงสำรวม สำรวมตา สำรวมหู สำรวมจมูก และสำรวมใจ ตลอด

จนความรู้สึกนึกคิด ให้เป็นบุคคลที่เฉลียวฉลาดทางอารมณ์ และเฉียบคม

ทางปัญญา

         เมื่อเราดำรงชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ แต่ละคนก็สุ่มเสี่ยงต่อสิ่งชั่วร้าย

ที่จะมากระทบใจเรา และใจคนเรานี้ ก็ไม่แน่นอน ย่อมมีการผันแปรอยู่

เสมอ ถ้าเป็นปุถุชน ผู้ยังมีกิเลสอยู่  บ้างเป็นพระ บ้างเป็นมาร บ้าง

เป็นอสุรกาย บ้างเป็นยักษ์ บ้างเป็นปีศาจ บ้างเป็นพรหม เป็นต้น

        ผลแห่งการกระทำออกมาของแต่ละคน จึงถือว่าเป็นกรรมของ

บุคคลนั้น ๆ ที่ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏสงสาร หรือจะเรียกว่า

เป็นกรรมของวัฏฏะก็น่าจะเรียกได้ แต่เราต้องมีกลยุทธ์ มีศาสตร์ศิลป์

ในการป้องกันสีงชั่วร้าย ไม่ควรไปโทษวัฏฏะเพียงอย่างเดียว

 

การป้องกันภัยจากสิ่งชั่วร้าย

 

        ในแต่ละวัน ปุถุชน คนเรา ย่อมจะมีอารมณ์แปรเปลี่ยนหมุนเวียน
ไปเป็นธรรมดากับสิ่งที่มายั่วยุสุดแท้แต่ว่า ใครจะมีการข่มจิตข่มใจ หรือ

ยังยั้งชั่งใจได้ดีมากน้อยเพียงใดเท่านั้น และคงไม่มีใครเก่งเกินกันเท่าไรใน

เรื่องนี้ สุดแท้แต่ว่า ใครจะระวังได้ดีกว่ากัน ใครจะประมาท ใครจะไม่

ประมาท ไม่ปล่อยตัวปล่อยใจไปกับมารร้ายที่มายั่วยุเท่านั้นเอง

         การป้องกันภัยร้ายที่จะมากระทบจิตใจเรา จึงต้องฝึกสมรรถนะ

ทางใจให้เป็นคนหนักแน่น ไม่หวั่นไหวง่าย ๆ ต่อสิ่งที่มายั่วยุจิตใจ

พยายามฝึกจิตให้นิ่ง มั่นคง หนักแน่นไม่ปล่อยตัวปล่อยใจไปกับสิ่งชั่วร้าย

นั้น โดยการปิดหู ปิดตา ปิดปาก ปิดใจ ปิดรับอารมณ์ความชั่วร้ายนั้น

บ้างตามแต่สถานการณ์นั้น ๆ เพราะแต่ละคนก็ถือว่ายังมีความหมิ่นเหม่ต่อ
การกระทำความผิด หรือมีโอกาสทำผิดได้เท่า ๆ กันสุดแท้แต่ว่าใครจะ
ระมัดระวังตัวได้ดีกว่ากันเท่านั้นเอง

 

กลยุทธิ์การป้องกันสิ่งชั่วร้าย

          การป้องกันสิ่งชั้วร้ายมีหลายวิธี แต่ขอยกมาพอเป็นตัวอย่างเท่านั้น คือ

1.  ฝึกจิตให้อยู่ในอำนาจเรา
        จิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมจะนำประโยชน์สุขมาให้ พยายามชนะใจตัวเองให้ได้ 
อย่าเพียงจะหวังเอาชนะคนอื่นเท่านั้น แต่ต้องชนะใจตนเองให้ได้ก่อนเป็นสำคัญ
 

2.  สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
       ฝึกเป็นคนที่สามารถกิน ดู อยู่ ฟัง ให้เป็น สำรวมอินทรีย์ โดยการมีสติ ระลึกได้ 
สัมปชัญญะ รู้ตัวอยู่เสมอขณะทำ ชณะพูด และขณะคิด

3.  อย่าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สุ่มเสี่ยงต่อการทำความผิด
     สภาพแวดล้อมก็มีส่วนสำคัญในอันที่จะยั่วยุให้คนเราทำผิด ถ้าเห็นเหตุการณ์ไม่สู้จะดี สุ่มเสี่ยงต่อการทำผิดได้ง่าย ก็ให้ตีตัวออกห่างไปจากเหตุการณ์นั้นให้ได้  อย่าถลำลึกไปกว่านั้น ก็จะเป็นการป้องกันภัยในเบื้องต้นได้ เรียกว่าตัดไฟแต่ต้นลมฃนั้นเอง ในเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าก็ทรงห้ามไม่ให้ภิกษุอยู่ในที่ลับตากับหญิงสองต่อสอง หรือแม้ที่ลับหูก็เช่นกัน

           4. ฉลาดทางอารมณ์ เฉียบคมทางปัญญา

            การจะพูดจะจา การจะกระทำอะไรลงไป ให้ใคร่ไตร่ตรองคิดให้ดี ให้รอบคอบเสียก่อน ใคร่ครวญ ไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนค่อยทำลงไปจะทำให้เกิดการระมัดระวังได้ในเบื้องต้น และสุขุมรอบคอบ
นุ่มนวลในทุกสถานการณ์

           5. แข็งใจ ฝืนใจในบางสถานการณ์

             เพราะฝืนใจ จะได้กำไร ตามใจ จะขาดทุน ต้องตระหนัก สังวร

และคิดอยู่เสมอว่า ต้องเอาความถูกต้องมาก่อนความถูกใจ ถูกใจเป็นรอง ถูกต้องเป็นหลักเสมอ

          6. ไม่ไปต่อปกต่อกลอนกับสิ่งชั่วร้าย

             การที่จะทำให้เรื่องร้ายกลายเป็นดีได้ประการหนึ่งคือ การเงียบ

การไม่ไปต่อปากต่อคำเล่นความยาวสาวความยืดนั้น รักยาวให้บั่น รักสั้น

ให้ก่อ ก่อเรื่องเล็ก ๆ ให้เป็นเรื่องใหญ่จะทำให้เกิดเรื่องร้อนใจเอาง่าย ๆ

         7. อย่าเสพสิ่งเสพนติดให้โทษ

             ไม่ว่าจะเป็นยาบ้า ยาอี ยาขยัน ยาไอช์ สุรา เบียร์ของมึนเมา

ทุกประเภท แต่ถ้าเว้นไม่ได้ ก็ให้เอาเป็นลงท้าย คือ กิน ดู อยู่ ฟัง เป็น

คิดเป็น ทำเป็น และต้องแก้ปัญหาเป็น ครองสติ ครองตนให้ได้ ก็อาจจะทำ
ให้สามารถพ้นภัยจากความชั่วไปได้

         8. กำจัดจุดอ่อนของสิ่งที่จะมารบกวนใจออกไป

             สิ่งใดที่จะมาบั่นทอนใจเราให้ไขว้เขวไปกับสิ่งชั่วร้าย ก็ให้รีบ

กำจัดออกไปก่อน ป้องกันไว้ก่อน ดีกว่าร้อนใจภายหลัง ระวังตัว ดีกว่า

ให้สิ่งชั่วร้ายมาย่ำยีเรา

          9. สุจริตกาย วาจา และสุจริตใจ

              ฝึกให้เป็นคนตั้งตนไว้ชอบประกอบด้วยความดีงาม ไม่ว่า
การแสดงออกทางกาย ทางวาวจา และทางใจ ทั้งสามทางหรือสามทวารนี้
ให้จงได้สำรวม สังวร ให้จงได้

  

บทสรุป

          สิ่งชั้วร้าย เป็นสิ่งที่มีประจำกาย ประจำใจกับทุกคน ติดตาม
ตัวเราเสมอ ประดุจเงาตามตัว เป็นเพียงแต่ว่า มันอาจจะยังไม่แสดงอาการออกมาให้เห็น 
ยังไม่แสดงอารมณ์ความรู้สึกร้าย ๆ ออกมาให้เห็นเท่านั้น และทุกคนก็ย่อมมีโอกาส
ที่จะทำผิดพลาดได้เท่า ๆ กันประมาทไม่ได้

 

หมายเลขบันทึก: 702571เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2022 14:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2022 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท