ผลของความร่วมมือระหว่างแพทย์และเภสัชกรในการดุแลการใช้ยาวาร์ฟารินในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา


อุบลวรรณ สะพู
กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

วัตถุประสงค์
- เพื่อประเมินผลของการมีเภสัชกรเข้าร่วมดูแลและติดตามปัญหาการใช้ยาวาร์ฟาริน โดยวัดประสิทธิภาพในการควบคุมค่าการแข็งตัวของเลือด (International normalized ratio : INR) และเปรียบเทียบอัตราการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันและภาวะเลือดออก

วิธีการศึกษา
- เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ในผู้ป่วยนอกที่มารับบริการที่คลินิกพิเศษโรคหัวใจ-ความดันและคลินิก (พิเศษ) ศัลยกรรมทรวงอก ช่วงเดือนมิถุนายน – กันยายน 2547 ผู้ป่วยได้รับการดูแลและติดตามปัญหาในการใช้ยาอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อสั่งเปรียบเทียบประสิทธิภาพการควบคุมค่า INR การเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันและภาวะเลือดออก กับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ

ผลการศึกษา
- ผู้ป่วยทั้งหมด 434 ราย แบ่งเป็นกลุ่มศึกษา 218 ราย กลุ่มควบคุม 216 ราย อายุเฉลี่ย 47 ปี ข้อบ่งใช้ยาส่วนใหญ่ คือ หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะร่วมกับการได้รับการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียมหรือมี ลิ้นหัวใจตีบ ค่า INR เป้าหมายส่วนใหญ่คือ 2.0-3.0 หลังการดูแลและติดตามผู้ป่วยเฉลี่ย 8 เดือน พบว่า กลุ่มศึกษามีค่า INR อยู่ในช่วงเป้าหมายเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ร้อยละ 33 (p< 0.001) และผู้ป่วยที่มีค่า INR แปรปรวนน้อย เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ร้อยละ 73 (P< 0.004) ในขณะที่ภาวะแทรกซ้อนชนิดลิ่มเลือดอุดตันในสมองและภาวะแทรกซ้อนชนิดเลือด ออกรุนแรง ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่ม (p = 0.51 และ 0.859 ตามลำดับ)

สรุป
*- การมีเภสัชกรเข้าร่วมดูแลปัญหาการใช้ยาวาร์ฟาริน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมค่า INR และอาจช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนชนิดลิ่มเลือดอุดตันในสมองในระยะยาวได้

จาก บทคัดย่อผลงานวิชาการนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี ๒๕๔๙
วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

หมายเลขบันทึก: 70255เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2006 23:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2012 19:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท