องค์ความรู้ท้องถิ่นภาคใต้ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตจากป่าอย่างยั่งยืน : กรณีการเก็บเกี่ยวอิเหนาของชุมชนวังประจัน และการทำน้ำมันยางของชุมชนบ้านน้ำหรา จังหวัดสตูล



การศึกษาเพื่อสืบค้นองค์ความรู้ เบื้องต้นของท้องถิ่นในการเก็บเกี่ยวผลผลิตจากป่า กรณีการเก็บเกี่ยวลูกอิเหนาและน้ำมันยาง รวมทั้งผลที่เกิดขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจในระดับครัวเรือน และทัศนคติของผู้เก็บเกี่ยว ในประเด็นการเก็บเกี่ยวอย่างยั่งยืน สภาพสังคม เศรษฐกิจ และภูมินิเวศน์ในการเก็บเกี่ยว ข้อมูลด้านเทคนิคเกี่ยวกับวิธีการเก็บเกี่ยว สภาพสังคม เศรษฐกิจ และภูมินิเวศน์ ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (Indepth Interview) ประกอบกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participatory Observation) ผล การศึกษาพบว่า การเก็บเกี่ยวลูกอิเหนาและการทำน้ำมันยางมีความสัมพันธ์กับแรงงานภายในครัว เรือน องค์ความรู้ด้านเทคนิควิธีในการเก็บเกี่ยวและทัศนคติจากข้อมูลเชิงประจักษ์ ที่ชัดเจนว่า มิใช่การเก็บเกี่ยวแบบทำลาย แต่กลับส่งผลกระทบทางบวกในการดูแลรักษาป่าจากการบุกรุกเพื่อทำการเกษตรหรือ เพื่อการอื่น และก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจในระดับครัวเรือนเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องศึกษามากขึ้นทางด้านนิเวศวิทยาของพืชและป่าที่มีผลกระทบจาก การเก็บเกี่ยวนี้

ผู้วิจัย – เสรี จุ้ยพริก และ อรุณ ไชยเต็ม
คำสำคัญ (Tags): #research#abstract
หมายเลขบันทึก: 70254เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2006 23:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 เมษายน 2012 23:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท