"ภาษาไทยถิ่นใต้"


“ภาษาไทยถิ่นใต้”

    -ภาษาไทยถิ่นใต้ (โดยย่อว่า ภาษาใต้) หรือ ภาษาตามโพร (อังกฤษ: Dambro) เป็นภาษาไทกลุ่มหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ มีผู้ใช้ภาษาหนาแน่นบริเวณสิบสี่จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย มีบางส่วนกระจายตัวไปในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เขตตะนาวศรีในประเทศพม่า และบริเวณรัฐเกอดะฮ์ รัฐปะลิส รัฐปีนัง และรัฐเปรัก ทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราวห้าล้านคน และอีกราว 1.5 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง ได้แก่กลุ่มชนเชื้อสายจีน เปอรานากัน มลายู อูรักลาโวยจ และมานิ

   -นอกจากนี้ในภาคใต้ยังมีกลุ่มภาษาไทที่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มย่อยของภาษาไทยถิ่นใต้ ได้แก่ ภาษาตากใบ ภาษาสะกอม และภาษาพิเทน เพราะมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองที่แตกต่างไปจากภาษาไทยถิ่นใต้หรือภาษามลายู

   -ภาษาถิ่นนั้นถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่แสดงออกถึงคนในท้องที่นั้นๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งนอกจากจะบ่งบอกถึงภูมิลำเนาบ้านเกิดของตัวเองแล้ว ยังสามารถทำให้เราสื่อสารได้อย่างหลากหลาย นอกจากภาษากลางอีกด้วยนะ 

  -ภาษาใต้ ก็เป็นอีกหนึ่งภาษา ที่มีจังหวะการพูดและท่วงทำนองน่าค้นหา และเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร 

ศัพท์ภาษาใต้น่ารู้

-ภาษาใต้ : เฉียวฉาว, เชียวชาว
*ความหมาย : ไม่ค่อยสบายตัว

-ภาษาใต้ : สับปลับ
*ความหมาย : พูดจาโกหกกลับไปกลับมา

-ภาษาใต้ : ขี้หก
*ความหมาย : โกหก

-ภาษาใต้ : หึงสา
*ความหมาย : อิจฉา

-ภาษาใต้ : รถถีบ
*ความหมาย : แปลว่า รถจักรยาน

-ภาษาใต้ : แหลง
*ความหมาย : ความหมายคือพูดตัวอย่าง

-ภาษาใต้ : แลหวัน
*ความหมาย : มองหรือดูตะวัน

-ภาษาใต้ : ไซร์
*ความหมาย : ทำไม

-ภาษาใต้ : พันพรือหล้าว
*ความหมาย : เป็นยังไงอีก

-ภาษาใต้ : คุมวัน
*ความหมาย : จนทุกวันนี้

-ภาษาใต้ : เวด-นา
*ความหมาย : มาจาก เวทนา น่าสงสารดูไม่ได้

-ภาษาใต้ : แคงควน
*ความหมาย : เอียงหรือไม่ตรง

-ภาษาใต้ : เซน
*ความหมาย : เอียง หรือ ไม่ตรง

-ภาษาใต้ : ในโย
*ความหมาย : ในโย หมายถึง ปัจจุบัน

-ภาษาใต้ : หวิบ
*ความหมาย : โมโห

-ภาษาใต้ : ไม่รู้หวัน
*ความหมาย : ไม่รู้เรือง

-ภาษาใต้ : เกือก
*ความหมาย : รองเท้า

-ภาษาใต้ : อีโหว้ง-วก
*ความหมาย : ใช้เรียกคนที่โง่ ไม่รู้เรื่อง

-ภาษาใต้ : หลบ, หล็อบ (หล๊อบ)
*หมายความว่า : กลับ

-ภาษาใต้ : เริน
*หมายความว่า : บ้าน, เรือน

-ภาษาใต้ : ขวยใจ (ข้วยใจ๋), หวังเหวิด (หวั้งเวิ้ด)
*หมายความว่า : กังวลใจ เป็นห่วง

-ภาษาใต้ : จังหู (จั่งหู้), จังหัน (จั่งหั้น), คาลักคาลุย, กองลุย, กองเอ, ราสา, หนัดเหนียน
*หมายความว่า : เยอะแยะ มากมาย

-ภาษาใต้ : หิด, หิดหุ้ย, แต็ด, แยด
*หมายความว่า : เล็กน้อย นิดหน่อย ไม่มาก

-ภาษาใต้ : แต่วา, แรกแต่วา
*หมายความว่า : เมื่อวานนี้

-ภาษาใต้ : ต่อเช้า, ต่อโพรก
*หมายความว่า : พรุ่งนี้

-ภาษาใต้ : ต่อรือ
*หมายความว่า : วันมะรืน

-ภาษาใต้ : ต่อเหรือง
*หมายความว่า : วันถัดไปของวันมะรืน

-ภาษาใต้ : ขาดหุ้น (ข้าดหุ๊น), เบา, ฉ็อมฉ็อม
*หมายความว่า : ไม่เต็มเต็ง ไม่เต็มบาท ไม่รู้เรื่องหรือไม่ฉลาด

-ภาษาใต้ : ทั้งเพ
*หมายความว่า : ทั้งหมด ทั้งสิ้น

-ภาษาใต้ : ได้แรงอก (ด่ายแหร่งอ็อก)
*หมายความว่า : สะใจ ถูกใจ เป็นอาการแสดงออกถึงรู้สึกความพอใจอย่างที่สุด

-ภาษาใต้ : แง็ง
*หมายความว่า : เป็นอาการดุ หรือแสดงอาการข่มขู่คู่ต่อสู้ของสุนัข

-ภาษาใต้ : ขบ
*หมายความว่า : กัด

-ภาษาใต้ : ด้น (ด่อน)
*หมายความว่า : ดุร้าย

-ภาษาใต้ : หม้ายไหร (ม้ายหรั้ย), เปลาๆ, ลอกอ
*หมายความว่า : ไม่มีอะไร หรือฐานะยากจน

-ภาษาใต้ : หาม้าย
*หมายความว่า : ไม่มี

-ภาษาใต้ : ฉาด (ฉ้าด), หมดฉาด (หม๊ดฉ้าด), เหม็ดฉาด (เม๊ดฉ้าด)
*หมายความว่า : หมด ไม่มี หมดเกลี้ยง

-ภาษาใต้ : เอิด,เหลิด (เหลิ้ด)
*หมายความว่า : ทำตัวกร่าง ทำเป็นเก่ง

-ภาษาใต้ : หยบ (หย๊อบ)
*หมายความว่า : แอบ หลบหรือซ่อน

-ภาษาใต้ : พลัดพรก, เหลินดังแส็ก
*หมายความว่า : อาการของการหล่นลงมาอย่างแรง (เหลิน = หล่น)

-ภาษาใต้ : พรือโฉ้
*หมายความว่า : เป็นอาการที่บอกไม่ได้ อธิบายไม่ถูก

-ภาษาใต้ : โหม
*หมายความว่า : หมู่ พวก กลุ่ม

-ภาษาใต้ : เมล่อ, เบล่อ (อ่านพยางค์เดียวควบกล้ำ ม - ล - สระเออ)
*หมายความว่า : ไม่เอาไหน ไม่ได้เรื่อง

ภาษาใต้ : ทำถ้าว
*หมายความว่า : ยุ่งเรื่องคนอื่น หรืออธิบายง่ายๆ ก็หมายความว่า ... นั่นแหละ

-ภาษาใต้ : เนียนแจ็กแจ๊ก
*หมายความว่า : เละเทะ ไม่เหลือชิ้นดี

-ภาษาใต้ : ตอใด
*หมายความว่า : เมื่อไหร่

-ภาษาใต้ : ขี้มิ่น
*หมายถึง ขมิ้นใส่ในแกงของคนใต้

-ภาษาใต้ : ขี้พร้า
*หมายถึง ฟัก

-ภาษาใต้ : เหล็กขูด
*หมายถึง กระต่ายขูดมะพร้าว

-ภาษาใต้ : เหล็กโคน
*หมายถึง ตะปู

*ต้วอย่าง “การพูดภาษาสำเนียงใต้”

 

คำสำคัญ (Tags): #"คนใต้ ไม่หวาน"
หมายเลขบันทึก: 702455เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2022 21:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2022 19:32 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท