กระบวนทัศน์เกี่ยวกับการปันส่วนผลงานวิจัย


 

การไปร่วมงานโครงการสร้างการเรียนรู้กับนักวิชาการ เพื่อพัฒนาชีวิตและปัญญา ของกระทรวง อว.   เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๕   และการประชุมสภา มช. เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๕   สะกิดให้ผมเขียนบันทึกนี้

วิธีคิดหรือกระบวนทัศน์เกี่ยวกับการให้น้ำหนักของผลงานวิชาการ    ว่าผู้ร่วมงานกันเท่ากับแบ่งภาระกัน อยู่บนฐานคิดว่างานนั้นเป็นงานออกกำลัง (labor)    แต่งานวิจัยส่วนหนึ่งมีธรรมชาติที่แตกต่าง     ที่พลังปัญญาของนักวิจัยควรเป็นตัวคูณซึ่งกันและกัน    โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนักวิจัยต่างสาขามาทำงานด้วยกัน    ปฏิสัมพันธ์นำสู่ความสร้างสรรค์  คือเป็นตัวคูณซึ่งกันและกัน   

ระเบียบว่าด้วยน้ำหนักของการมีส่วนในการผลิตผลงานสร้างสรรค์ (งานวิจัย) ของอุดมศึกษาไทย   ที่ให้คิดแบ่งเปอร์เซ็นต์กัน จึงอยู่บนกระบวนทัศน์ว่างานวิจัยเป็นงานออกแรง   ไม่มองว่าเป็นงานสมอง หรืองานสร้างสรรค์

ซึ่งที่จริงงานวิจัยบางประเภท ก็คงจะเข้าข่ายงานออกแรง    แต่หากนักวิจัยมีหลักฐานยืนยันว่าเป็นงานสร้างสรรค์ ออกปัญญา เพื่อสร้างสรรค์ความรู้ใหม่จริงๆ ก็น่าจะรับฟังเขา    และมีการยอมให้นับว่าส่วนงานของเขาไม่ต้องคิดแบ่งเปอร์เซ็นต์ 

เอามาเสนอไว้ เผื่อมีใครที่อยู่ในแวดวงกำหนดนโยบายมาเห็นเข้า   จะได้นำไปพิจารณาต่อ   

วิจารณ์ พานิช

๖ เม.ย. ๖๕

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 702372เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2022 17:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 เมษายน 2022 17:04 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I can’t help but thinking about ‘whole and parts’ and as far as I know this area is in ‘the too-hard-basket’. Take for example our body and various organs that work together (not necessary at the same ‘site’, on the same ‘objective’ and in the same ‘time’). All contribute in their own different capacity to support survival, functions and growth or sharing of benefits –to each organ, its need. So that the brain is ‘credited’ with glucose its need; the colon is credited to its need; the hands, the legs, the ears, the eyes, the mouth, the teeth, … all contributors in their own capacity, are credited to meet their need. (Excess get stored as ‘fat’? which is a ‘burden’ that all organs have to bear!) Another example is the nutrient distribution of a tree. Some roots and some leaves are collectors of nutrients, but stem, veins, bark, branches and so on all get nutrients they need though they do not collect any nutrients (but they are involved in the process of nutrient conversion).

It is easy to say ‘each to its need’ but we human are confused by need and want.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท